ตลาดแห่งการเรียนรู้ธุรกิจชุมชนเพื่อสังคมบ้านไตรรัตน์


บ้านไตรรัตน์ หมู่ ๙

รายงานความก้าวหน้า

ไตรมาส ผลการดำเนินงาน งบประมาณที่ใช้ ผู้รับบริการ
3
[5193]

1.   ชื่อโครงการ     ตลาดแห่งการเรียนรู้ธุรกิจชุมชนเพื่อสังคมบ้านไตรรัตน์                                     

      ชื่อหัวหน้าโครงการ     ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.นงนุช สังข์อยุทธ์

      สังกัด     คลินิกเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยมหิดล (มหาวิทยาลัยมหิดล วิทยาเขตกาญจนบุรี)

 

2.   ระยะเวลาดำเนินโครงการ  (ระบุวันเริ่มต้น - สิ้นสุดโครงการ)  มีนาคม 2567-กันยายน 2567

 

3.   งบประมาณที่ได้รับอนุมัติ 220,000บาท 

      เบิกจ่ายแล้ว 67,600 บาท (ค่าตอบแทน 57,600 บาท ค่าใช้สอย 10,000 บาท)คงเหลือ 152,400 บาท

 

4.   กิจกรรมที่ได้ดำเนินการแล้ว (โปรดใส่รูปภาพดำเนินการกิจกรรม)

4.1 วันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2567 การประชุมวางแผนการดำเนินการโครงการฯ ของทีมคณะทำงานฯ ผ่านระบบ WebEx จำนวน 6 ท่าน ไม่มีค่าใช้จ่าย

 

4.2 วันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2567 ณ MU Café มหาวิทยาลัยมหิดล วิทยาเขตกาญจนบุรี ผู้เข้าร่วมประชุมทั้งหมดจำนวน 9ท่าน การประชุมชี้แจงและวางแผนกำหนดการดำเนินการโครงการฯ ร่วมกันของทีมคณะทำงานฯ จำนวน 2 ท่าน ได้แก่ ผศ.ดร.นงนุช สังข์อยุทธ์และ ดร.จุฑามาศ สุคนธปฏิภาค และกลุ่มผู้นำชุมชนจำนวน5 ท่าน และได้มีโอกาสต้อนรับการเยี่ยมชมการดำเนินงานโครงการคลินิกเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยมหิดล วิทยาเขตกาญจนบุรี ร่วมกับผู้นำชุมชนบ้านไตรรัตน์ จากองค์กร CityNetโดย Mr.Chris Di Gennaro, Program Officer, CityNet Secretariat และ ผศ.ดร.อำนาจ เจรีรัตน์ ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายวิทยาเขตกาญจนบุรี ซึ่งอยู่ระหว่างดำเนินการสร้างความร่วมมือในอนาคต การทำงานเพื่อแก้ปัญหาเรื่องการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศร่วมกับมหาวิทยาลัยและชุมชนอย่างยั่งยืน เป็นต้น (ค่าใช้จ่าย จำนวน 990 บาท)

 

4.3 วันที่ 18 มีนาคม 2567 ณ MU Café มหาวิทยาลัยมหิดล วิทยาเขตกาญจนบุรี ผู้เข้าร่วมประชุมทั้งหมดจำนวน 17ท่าน การประชุมสอบถามรูปแบบความต้องการในการถ่ายทอดองค์ความรู้การเพิ่มรายได้จากหัวไชเท้า นัดหมายกำหนดการ และมอบหมายงานแบ่งหน้าที่ในการเตรียมการดำเนินงานส่วนต่าง ๆ ร่วมกัน ร่วมถึงการเตรียมการสร้างซุ้มขายของในตลาด รูปแบบกฎ กติกา ร้านค้า สินค้าต่างๆ ทั้งรูปแบบการสร้างและการประมาณการจัดหางบประมาณ ของทีมคณะทำงานฯ  กลุ่มนักศึกษา และกลุ่มผู้นำชุมชน (ค่าใช้จ่าย จำนวน 2,550 บาท)

 

4.4 วันที่ 9 พฤษภาคม 2567 ณ ห้อง Co-Working Space มหาวิทยาลัยมหิดล วิทยาเขตกาญจนบุรี ผู้เข้าร่วมประชุมทั้งหมดจำนวน 74 ท่าน การประชุมเพื่อประชุมความคืบหน้ารูปแบบการสร้างซุ้มตลาดชุมชน การเพิ่มรายได้จากการบริหารจัดการตลาด และอื่น ๆ ในที่ประชุมของหมู่บ้านไตรรัตน์ พร้อมทั้งตกลงร่วมกันและนัดหมายกำหนดการ มอบหมายหน้าที่และค้นหาข้อมูล ร่วมกันของทีมคณะทำงานฯ กลุ่มนักศึกษา และกลุ่มผู้นำชุมชน (ค่าใช้จ่าย จำนวน 2,550 บาท)

 

4.5 วันที่ 13 พฤษภาคม 2567 การประชุมเพื่อสำรวจความต้องการรูปแบบการเพิ่มรายได้จากหัวไชเท้า เครื่องมือหยอดเมล็ดการปลูกหัวไชเท้า และ อื่น ๆ ในที่ประชุมของหมู่บ้านไตรรัตน์ พร้อมทั้งตกลงร่วมกันและนัดหมายกำหนดการ ร่วมกันของทีมคณะทำงานฯ  กลุ่มนักศึกษา กลุ่มผู้นำชุมชน และกลุ่มชุมชนในหมู่บ้านฯ

 

4.6 วันที่ 14 มิถุนายน 2567 ผ่านระบบ WebEx จำนวน 6 ท่าน การประชุมเพื่อสำรวจความต้องการรูปแบบการจัดกิจกรรมตลาดชุมชน การประกาศข้อกำหนดการรับสมัครร้านค้าเพื่อการสร้างอัตลักษณ์ของตลาด การกำหนดข้อตกลง กติกา ในการบริหารจัดการตลาด และอื่น ๆ พร้อมทั้งตกลงร่วมกันและนัดหมายกำหนดการ มอบหมายหน้าที่และค้นหาข้อมูล ร่วมกันของทีมคณะทำงานฯ  และกลุ่มผู้นำชุมชน (มีค่าใช้จ่าย 1,360 บาท)

 

เนื้อหาของกิจกรรม

กิจกรรมย่อยที่ 1

องค์ความรู้ที่ 1การพัฒนาศูนย์เทคโนโลยีเกษตรและนวัตกรรมของชุมชน

- การพัฒนาศูนย์เทคโนโลยีเกษตรและนวัตกรรมของชุมชน กิจกรรมอบรมให้ความรู้

- เทคนิคการปลูกหัวไชเท้าให้ได้ผลผลิตสูง เทคนิคการจัดการโรคและแมลงศัตรูหัวไชเท้า

- การแปรรูปพืชผลเกษตร ตามฤดูกาล เช่น หัวไชเท้า หน่อไม้ ฟักทอง เป็นต้น

- การออกแบบบรรจุภัณฑ์ พืชผลเกษตรแปรรูป เช่น หัวไชโป๊หวาน/เค็ม หน่อไม้ ฟักทอง เป็นต้น

กิจกรรมย่อยที่ 2

องค์ความรู้ที่ 2การยกระดับคุณค่าและภาพลักษณ์ผลิตภัณฑ์และ/หรือบริการของชุมชน

- การรวบรวมเมนูจาก หัวไชเท้า ทั้งอาหารคาว และ อาหารหวาน สร้างแบรนด์ ตลาดชุมชน กฎระเบียบ โครงสร้างการบริหารตลาด เป็นต้น

กิจกรรมย่อยที่ 3

องค์ความรู้ที่ 3การติดตามและประเมินการดำเนินงานตามมาตรฐานสุขอนามัยของตลาดชุมชน

- มาตรฐานการจัดการของเสียและสิ่งแวดล้อม และการพัฒนาการมีจิตใจในการให้บริการที่ดี (Service Mind) ของตลาดชุมชน

- การติดตามและประเมินการดำเนินงานตามมาตรฐานสุขอนามัยของตลาดชุมชน มาตรฐานการจัดการของเสียและสิ่งแวดล้อม และการพัฒนาการมีจิตใจในการให้บริการที่ดี (Service Mind) ของตลาดชุมชน (การติดตามและขยายผล)

กิจกรรมย่อยที่ 4

องค์ความรู้ที่ 4การพัฒนาตลาดชุมชนให้เป็นแหล่งเรียนรู้ตามแนวทาง STEAM ศึกษาของโรงเรียน

- การพัฒนาตลาดชุมชนให้เป็นแหล่งเรียนรู้ตามแนวทาง STEAM ศึกษาของโรงเรียน

กิจกรรมย่อยที่ 5

องค์ความรู้ที่ 5การพัฒนาตลาดชุมชนให้เป็นแหล่งเรียนรู้ตามแนวทางสหวิทยาการในระดับอุดมศึกษา

- การพัฒนาตลาดชุมชนให้เป็นแหล่งเรียนรู้ตามแนวทางสหวิทยาการในระดับอุดมศึกษา

กิจกรรมย่อยที่ 6

องค์ความรู้ที่ 6การสร้างเครือข่ายชุมชนและการศึกษาดูงาน

- จัดกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ดูงาน สร้างความสัมพันธ์และระดมสมอง หาแนวทางการทำงานร่วมกันเพื่อสร้างบทบาทช่องทางหารายได้ร่วมกันจากตลาดแห่งการเรียนรู้ธุรกิจชุมชนร่วมกัน

 

5.   ความก้าวหน้าโครงการ (เมื่อเทียบกับแผนกิจกรรมที่กำหนดไว้ และผลการดำเนินงานจนถึงวันสุดท้ายที่รายงาน

      5.1 สรุปจำนวนผู้รับบริการ ผู้เข้าร่วมโครงการ ที่ไม่ซ้ำเป็นตัวเลข 52 คน

      5.2 สรุปจำนวนผู้รับบริการที่มีการติดตามผล (เป็นตัวเลข) 48 คน

      5.3 จำนวนผู้รับบริการที่นำไปใช้ประโยชน์ (เป็นตัวเลข) 40 คน

      5.4 สรุปร้อยละความพึงพอใจผู้รับบริการ ร้อยละ 84%

    - ผู้รับการถ่ายทอดการแปรรูปหัวไชเท้าดองสูตรเกาหลีสนใจขอสูตรการทำและนำไปลองทำที่บ้าน โดยเป็นการแปรรูปหัวไชเท้าไว้เพื่อรับประทานเองในครอบครัวลดรายจ่าย

    - ผู้รับการถ่ายทอดการใช้ประโยชน์ถังรักษ์โลกเพื่อกำจัดขยะอินทรีย์และแปลงมาใช้ประโยชน์ในการเพิ่มจุลินทรีย์ปรับปรุงบำรุงดินเพื่อการปลูกพืช ผักสวนครัว ไว้ใช้ในครัวเรือน โดยสนใจหลักการทำถังรักษ์โลกและนำไปลองใช้ที่บ้าน

       โดยเป็นการลดขยะ และนำมาใช้ประโยชน์ เกิดผลพลอยได้ในการปรับปรุงคุณภาพดินและปลูกพืชผักในครัวเรือนเพื่อรับประทานเองในครอบครัวลดรายจ่ายได้

5.5 มูลค่าทางเศรษฐกิจ สรุปรายได้ที่เพิ่มขึ้น หรือค่าใช้จ่ายที่ลดลง (เป็นตัวเลข)

      - ผู้รับการถ่ายทอดการแปรรูปหัวไชเท้าดองสูตรเกาหลีสนใจขอสูตรการทำและนำไปลองทำที่บ้าน โดยเป็นการแปรรูปหัวไชเท้าไว้เพื่อรับประทานเองในครอบครัวลดรายจ่าย ลดต้นทุนการสูญเสียเมล็ดพันธุ์หัวไชเท้า (อยู่ระหว่างดำเนินการ) เป็นต้น

         จำนวนผู้ใช้ประโยชน์ 20 คนๆละ 300 บาทต่อเดือน คิดเป็นลดรายจ่ายได้ 72,000 บาท/ปี (ประมาณการ)  

      - อัตราการประหยัดค่าเมล็ดพันธุ์หัวไชเท้า ร้อยละ 3-4% หรือประมาณ 400 บาทต่อไร่ (หากคิดที่ ราคาเมล็ดพันธุ์ 1600 บาทต่อ 500 กรัม และสัดส่วนการใช้เมล็ดพันธุ์ที่ 4 กก. ต่อ ไร่)

         พื้นที่ 200 ไร่ จะประหยัด ค่าเมล็ดพันธุ์หัวไชเท้า ร้อยละ 3-4% หรือประมาณ 400x200=80,000บาท ต่อ 200ไร่ ต่อ 1 รอบการผลิต (ประมาณ 50 วัน)

         โดย 1 ปี หากปลูกได้ 3 รอบต่อปี  จะประหยัด ค่าเมล็ดพันธุ์หัวไชเท้า คิดเป็น 80,000x3=240,000บาท ต่อ200ไร่ ต่อปี(ประมาณการ)

      - ผู้รับการถ่ายทอดการใช้ประโยชน์ถังรักษ์โลกเพื่อกำจัดขยะอินทรีย์และแปลงมาใช้ประโยชน์ในการเพิ่มจุลินทรีย์ปรับปรุงบำรุงดินเพื่อการปลูกพืช ผักสวนครัว ไว้ใช้ในครัวเรือน โดยสนใจหลักการทำถังรักษ์โลกและนำไปลองใช้ที่บ้าน

         โดยเป็นการลดขยะ และนำมาใช้ประโยชน์ เกิดผลพลอยได้ในการปรับปรุงคุณภาพดินและปลูกพืชผักในครัวเรือนเพื่อรับประทานเองในครอบครัวลดรายจ่ายค่าซื้อผัก ลดการซื้อของสดเกินการใช้ประโยชน์จริง ลดการซื้อปุ๋ยอินทรีย์ได้ เป็นต้น

          จำนวนผู้ใช้ประโยชน์ 20 คนๆละ 400 บาทต่อเดือน คิดเป็นลดรายจ่ายได้ 81,000 บาท/ปี (ประมาณการ)

5.6 ผลผลิตตามข้อเสนอโครงการ (อธิบายผลผลิตที่ได้จากการดำเนินการโครงการ)

ผลผลิต/ผลลัพธ์

หน่วย

ค่าเป้าหมาย

ผลผลิตที่ได้ ไตรมาสที่ 3

1. จำนวนคนที่ได้รับการถ่ายทอดความรู้/เทคโนโลยี

คน

50

52

         2. จำนวนเทคโนโลยีที่ถ่ายทอด (ระบุรายละเอียดองค์ความรู้

    เทคโนโลยี)

เรื่อง

6

6

3. จำนวนวิทยากรที่สามารถถ่ายทอดความรู้ให้ผู้อื่นได้

คน

9

9

4. ร้อยละความพึงพอใจของผู้รับบริการ

ร้อยละ

มากกว่า 80

84

5. จำนวนผู้นำความรู้/เทคโนโลยีที่ได้รับไปใช้ประโยชน์

คน

มากกว่า 40

40

6. สัดส่วนมูลค่าทางเศรษฐกิจที่จะเกิดขึ้น

เท่า

1.2

1.7

 

5.7 ผลลัพธ์ตามข้อเสนอโครงการ (อธิบายผลลัพธ์ที่ได้จากผลผลิตที่เกิดขึ้น)

      - ผู้เข้าร่วมโครงการมีช่องทางสร้างรายได้ ลดรายจ่ายได้มากขึ้น

      - ผู้เข้าร่วมโครงการรู้จักและใช้เครื่องมือทุ่นแรงในการหยอดเมล็ด และทำให้การบริหารจัดการแปลงง่ายขึ้น

      - ผู้เข้าร่วมเกิดความตระหนักในการกระจายรายได้โดยใช้แรงงานในชุมชน อุดหนุนของในชุมชน

      - โอกาสเกิดผลผลิตต่อไร่สูงขึ้นจากการปลูกแบบหยอดเมล็ด แทนการหว่านเมล็ด

      - ผู้เข้าร่วมเกิดการตระหนักในการใช้ทรัพยากรและผลกระทบการใช้ทรัพยากรไม่เหมาะสม เช่น เมล็ดพันธุ์ การลดขยะจากเศษอาหาร เป็นต้น

      - ผู้เข้าร่วมเกิดความเอื้ออาทร การช่วยเหลือกันในชุมชน การจ้างงานในชุมชน การอุดหนุนผลผลิต ผลิตภัณฑ์ในชุมชน

      - ผู้เข้าร่วมเกิดการสร้างเอกลักษณ์ วัฒนธรรมในชุมชน เป็นต้น

5.8 ผลกระทบตามข้อเสนอโครงการ(อธิบายผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการดำเนินโครงการทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม การจ้างงาน)

      ด้านเศรษฐกิจ

       - เกิดรายได้หมุนเวียนในชุมชน

       - เกิดโอกาสในการหารายได้หลายช่องทาง

      ด้านสังคม

       - เกิดสังคมที่เข้มแข็ง มีอัตลักษณ์ รักษาวัฒนธรรมและวิถีของชุมชน

      ด้านสิ่งแวดล้อม

       - เกิดการตระหนักในการใช้ทรัพยากรและคำนึงถึงผลกระทบการใช้ทรัพยากรไม่เหมาะสม เช่น เมล็ดพันธุ์ การลดขยะจากเศษอาหาร เป็นต้น

 

 

 

 



รายงานโดย นายธนากร  ยุทธพลนาวี วันที่รายงาน 05/07/2567 [5193]
67600 52