นางสาวฌนกร หยกสหชาติ 111 ฟิล์มบริโภคได้จากแป้ง, บรรจุภัณฑ์ที่แตกสลายได้ทางชีวภาพ
นายพงษ์ศักดิ์ นาใจคง 108 1.การแปรรูปกล้วยฉาบ กล้วยเบรกแตก, การทำขนมข้าวเกรียบ 2.การออกแบบและสร้างเครื่องจักรแปรรูปผลิตภัณฑ์ทางการเกษตร (เครื่องฝานกล้วย, เครื่องอัดแผ่นขนมข้างโป่ง, เครื่องซอยก้อนขนมข้าวเกรียบ เครื่องซอยสมุนไพร ฯลฯ) 3.การสร้างบ่อแก๊สชีวภาพ สำหรับครัวเรือน หรือเกษตรกรรายย่อย
ผู้ช่วยศาสตรจารย์ ดร.กนกกรณ์ ศิริทิพย์ 111 - การย้อมเส้นไหมด้วยสีธรรมชาติ โดยใช้วัสดุที่ให้สีตามท้องถิ่น เช่น จากต้นไม้ ไม่ว่าจะเป็นส่วนของใบ เปลือก ผล ซึ่งจะให้ลักษณะของสีที่แตกต่างกันต่างชนิด และส่วนที่นำมาเป็นวัสดุให้สี - เทคนิคการมัดย้อม การย้อมผลิตภัณฑ์สิ่งทอด้วยกระบวนการมัดย้อม จะทำให้ผลิตภัณฑ์มีเอกลักษณ์และรูปแบบที่แตกต่างกัน
นายธนัญกรณ์ ใจผ่อง 99 การศึกษาการเจริญของราก ทำให้ทราบข้อมูลการกระจากตัวของรากและความหนาแน่นของรากอ้อยที่อายุแตกต่างกัน
นางสาวนภาพร ภู่เพ็ชร์ 103 1. คอมพิวเตอร์/เทคโนโลยีสารสนเทศ มีความเชี่ยวชาญในเรื่องการใช้คอมพิวเตอร์และโปรแกรมพื้นฐานช่วยในการพัฒนางาน การออกการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการจัดการฐานข้อมูล การใช้ข้อมูลประกอบการวางแผน การศึกษา การวิเคราะห์ การทดสอบ การประเมินผล และการแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในการใช้งานเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์และอินเทอร์เน็ต 2. ด้านพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหาร มีความเชี่ยวชาญในเรื่องการพัฒนา และปรับปรุงสูตรอาหาร ให้มีการเปลี่ยนแปลงในทางที่ดีขึ้น หรือเป็นผลิตภัณฑ์ที่มีความแตกต่างจากที่มีอยู่เดิม และตอบโจทย์ความต้องการของผู้บริโภค
รศ.ดร.สุภัค มหัทธนพรรค 75 การหาสาเหตุที่แท้จริงของการเกิดโรคผลแตกผลลาย และข้อมูลของพื้นที่การระบาดโรคพืชสำคัญในลำไย แมลงศัตรูลำไยในแหล่งปลูกที่สำคัญในการผลิตลำไยส่งออกในจังหวัดพะเยาเพื่อใช้เป็นข้อมูลในการเฝ้าระวังและหาแนวทางป้องกันกำจัดโรค
นางสาววรุณรักษ์ ราษีนวล 33 การศึกษาการงอกและการเจริญเติบโตของต้นกล้าดาวเรืองโดยใช้สาร พีจีพีอาร์วัน เเช่เมล็ดในระยะที่แตกต่างกัน
นายสมบูรณ์ มัจฉา 84 การศึกษาการอนุบาลลูกปลานิลจิตรดา 4 โดยใช้จุลินทรีย์บาซิลลัสไบไอต้าโปรในปริมาณที่แตกต่างกัน
ดร.ชัยณรงค์ รัตนกรีฑากุล 89 1.จดอนุสิทธิบัตร "สูตรผสมสำหรับ ผลิตภัณฑ์สารสกัดสมุนไพร ชนิดสารเข้มข้นแขวนลอย" 2. จดลิขสิทธิ์ ปี 2011 จำนวน 4 เรื่อง "สินค้าคุณภาพจากแปลงสู่ผู้บริโภค" "การประเมินความเสี่ยงเป็นการเตรียมระบบ GAP ให้พร้อมกับสิ่งที่เกิดขึ้น" "การระมัดระวังระหว่างการใช้สารเคมี" "สุขอนามัยระหว่างการเก็บเกี่ยว" 3. งานวิจัยที่เป็นการรายงานครั้งแรกของประเทศไทยที่พบว่า เชื้อสาเหตุโรคกิ่งแห้งของทุเรียนเป็นเชื้อรา Fusarium incarnatum และ F. solani ไม่ใช่เชื้อรา Phytophthora palmivora ตามที่นักวิชาการหลายท่านเข้าใจ รวมทั้งพบว่าเชื้อรา Phytopythium vexans สามารถเข้าทำลายทุเรียน และทำให้เกิดโรครากเน่าโคนเน่าได้เช่นเดียวกับ P. palmivora และได้แนะนำสารเคมีป้องกันกำจัดเชื้อราชนิดที่ควบคุมได้ทั้งเชื้อรา Fusarium, Phytophthora, Phytopythium และ Pythium โดยเกษตรกรไม่จำเป็นต้องสิ้นเปลืองซื้อสารเคมีหลายชนิดมาผสมเองเพราะสาเหตุที่แท้จริงของโรคกิ่งแห้งนั้นเกิดจากเชื้อรา Fusarium solani และ F. incarnatum มิได้เกิดจากเชื้อรา Phytophthora palmivora และได้แนะนำสารเคมีที่มีประสิทธิภาพในการควบคุมโรคกิ่งแห้งซึ่งสามารถควบคุมเชื้อรา Phytophthora palmivora สาเหตุโรครากเน่าโคนเน่าของทุเรียนได้อีกด้วย โดยจำเป็นต้องระมัดระวังการใช้สารเคมี benzimidazoles มากยิ่งขึ้น เนื่องจากเชื้อราสาเหตุเกิดการต้านทานได้ 4. หาความแตกต่างของสารประกอบบนผิวมะม่วงที่ได้รับสารกลุ่ม salicylic เพื่อกระตุ้นความต้านทานโรคแอนแทรคโนส จากงานวิจัยการกระตุ้นความต้านทานการเกิดโรคในมะม่วงหลังการเก็บเกี่ยว