2568 ยกระดับการสร้างอัตลักษณ์ผลิตภัณฑ์ผ้าทอย้อมสีธรรมชาติจากเมล็ดคำแสดด้วยเทคโนโลยีย้อมเย็น กลุ่มทอผ้ามัดหมี่ย้อมครามบ้านอุ่มเหม้า หมู่ 15 อ.พังโคน จ.สกลนคร 0
ผล
ผล
ผล
รายงานความก้าวหน้า
ไตรมาส | ผลการดำเนินงาน | งบประมาณที่ใช้ | ผู้รับบริการ |
---|---|---|---|
2 [18841] |
ดำเนินการวิเคราะห์ข้อมูลชุมชนกลุ่มทอผ้ามัดหมี่ย้อมครามบ้านอุ่มเหม้า หมู่ 15 อ.พังโคน จ.สกลนคร โดยมีข้อมูลดังนี้ "ต้นหมากเหม้าขึ้นเป็นอุ่มๆ จึงใช้เรียกหนองน้ำนี้ว่า หนองอุ่มเหม้า เมื่อชาวบ้านมาตั้งถิ่นฐานอยู่ริมหนองนี้ จึงขนานนามบ้านนามเมืองว่า บ้านอุ่มเหม้า"
เรื่องเล่าจากปราชญ์ชุมชน สะท้อนถึงที่มาของบ้านอุ่มเหม้า ประชากรสืบเชื้อสายมาจากชนเผ่าไทโย้ย หนึ่งใน 8ชนเผ่าของจังหวัดสกลนคร สกลนคร มีอยู่ 8ชนเผ่า ได้แก่ ไทญ้อ ไทโย้ย ภูไท ไทกะเลิง ไทโส้ ไทลาวอีสาน เวียดนาม จีน ที่มีเอกลักษณ์เป็นของตัวเอง บรรพบุรุษเดิมอพยพมาจากฝั่งซ้ายของแม่น้ำโขง โดยเดินทางเป็นกลุ่มใหญ่ ลัดเลาะตามแหล่งน้ำใช้เกวียนเป็นพาหนะ ระหว่างการเดินทางมามีบางกลุ่มแยกย้ายไปตามถิ่นฐานในที่ต่างๆ ได้แก่ ทุ่งวาอากาศ กุดเรือ นาซอ กุดลิง หรืออำเภอวานรนิวาสในปัจจุบัน จากนั้นบางส่วนได้พากันอพยพลงมาทางทิศใด้ เมื่อถึงบริเวณหนองน้ำที่มีดีนหมากเหน้า (หนองอุ่มเหน้าในปัจจุบัน) และเห็นว่าพื้นที่นี้มีความอุดมสมบูรณ์จึงตัดสินใจปักหลักตั้งหมู่บ้านอยู่บริเวณนั้น จนในปี พ.ศ. 2400ได้เกิดโรคระบาดจึงยัายมาอยู่จุดที่ตั้งหมู่บ้านในปัจจุบัน ชาวบ้านอุ่มเหม้ามีนามสกุลเดียว คือ ศรีสร้อย เนื่องจากในสมัยรัชการลที่ 6ทรงมีพระราชดำรัสให้ประชาชนทุกคนมีนามสกุลเป็นครั้งแรก ชาวบ้านจึงตั้งนามสกุลตามชื่อเจ้าเมืองพรรณนานิคม นับตั้งแต่บัดนั้น บ้านอุ่มเหม้า หมู่ 15 ตำบลไฮหย่อง อำเภอพังโคน จังหวัดสกลนคร เป็นชุมชนของกลุ่มชาติพันธุ์ไทโย้ยที่มีความภาคภูมิใจในวัฒนธรรมและวิถีชีวิตดั้งเดิมของตนเอง ชุมชนนี้มีความโดดเด่นในด้านการทอผ้ามัดหมี่ย้อมคราม ซึ่งเป็นภูมิปัญญาท้องถิ่นที่สืบทอดกันมาอย่างยาวนาน นอกจากการทอผ้าแล้ว ชุมชนบ้านอุ่มเหม้ายังมีการดำเนินกิจกรรมการท่องเที่ยวโดยชุมชน โดยจัดตั้งเป็น "วิสาหกิจชุมชนบ้านไทโย้ย อุ่มเหม้า" เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวและสร้างรายได้ให้กับชุมชน นักท่องเที่ยวที่มาเยือนจะได้สัมผัสกับวิถีชีวิตของชาวไทโย้ย เช่น การทำนา การปลูกผัก การเลี้ยงสัตว์ และการทำชาไทโย้ยจากใบข้าวหรือเมล็ดข้าวคั่ว อัตอักษณ์ชาวบ้านอุ่มเหม้า 1. การแต่งกายเป็นเอกลักษณ์ไทโย้ย ใส่เสื้อผ้าครามสีเข้มสื่อสารด้วยภาษาโย้ย (นิเหาะ) 2. ร้องเพลงเล่นดนตรีสดทำนองหมากกะโหล่งขึ้นภู เครื่องดนตรีที่ใช้คือ ซอไม้ไผ่ กลองหางแคน และซุง 3. การละเล่น เสือลากหาง โย้ยทบสาก และโย้ยลงนา 4. วันวัฒนธรรมไทโย้ย จัดขึ้นทุกวันที่ I เมษายน ของทุกปีเพื่อสืบสานวัฒนธรรมไทโย้ย ประเพณีวัฒนธรรมไทโย้ย "อุ่มเหม้าถิ่นอุดม ชมประเพณีตักบาตรเช้า ผลิตข้าวพันธุ์ดี ผ้ามัดหมี่ลายโบราณ สืบสานวัฒนธรรมเก่า หมู่บ้านเผ่าไทโย้ย" "บ้านอุ่มเหม้า" หมู่บ้านเล็ก ๆ ในตําบลไฮหย่อง อําเภอพังโคน จังหวัดสกลนคร บุคคลในหมู่บ้านยังให้การต้อนรับนักท่องเที่ยว ที่มาเยี่ยมเยียนเป็นอย่างดี และจะมีการจัดประเพณีเพื่อสืบทอดวัฒนธรรมของเผ่าไทโย้ย ในทุกวันที่ 1 เมษายนของทุกปี ท่านใดที่ประสงค์อยากจะมาร่วมประเพณี การทําบุญตักบาตรเช้า การแห่ขบวนนางรํา การจัดซุ้มบนรถ และการแต่งกายที่สวยงามของคนในหมู่บ้านแห่งนี้ซึ่งสะท้อนถึงอัตลักษณ์และวิถีชีวิตของชุมชนดังนี้ 1. ประเพณีตักบาตรเช้า ชาวบ้านอุ่มเหม้าสืบทอดประเพณีตักบาตรเช้าจากบรรพบุรุษ โดยถือเป็นวัฒนธรรมที่สำคัญและเป็นเอกลักษณ์ของชุมชนไทโย้ย 2. การผลิตข้าวพันธุ์ดี ชุมชนบ้านอุ่มเหม้ามีชื่อเสียงในการปลูกข้าวหอมมะลิคุณภาพสูง โดยใช้วิธีการเกษตรอินทรีย์เพื่อรักษาคุณภาพของข้าวและสิ่งแวดล้อม นอกจากนี้ ยังมีการนำใบข้าวและเมล็ดข้าวมาคั่วเพื่อผลิตชาไทโย้ย ซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์ท้องถิ่นที่ได้รับความนิยม เป็นนาข้าวอินทรีย์ที่คนในชุมชนช่วยกันอนุรักษ์พันธุ์ข้าวหอมมะลิ 105ที่ได้รับการวิจัยจากศูนย์ขยายพันธุ์พืชพันธุ์ข้าวสกลนครมีความนุ่มหอมอร่อย อีกทั้งมีผลผลิตเกษตรที่หลากหลาย ทั้งมะเขือเทศ พริก ข้าวโพด มีแหล่งอาหารอันอุมดมสมบูรณ์ตามห้วยหนองคลองบึง กับวิถีประมงพื้นบ้านอันหลากหลาย ทั้งลงมอง ลงตาข่ายลงเบ็ด ลงจั่นดักปลา และที่เป็นเอกลักษณ์คือ "ยอ" หรือ "สะดุ้ง" ที่ตามคลองน้ำสายใหญ่เราจะได้เห็น"สะดุ้งใหญ่" ดักปลา ที่ยกสะดุ้งขึ้นเมื่อไหร่ก็มักได้ปลาตัวโตๆ เสมอ 3. ผ้ามัดหมี่ลายโบราณ การทอผ้ามัดหมี่เป็นภูมิปัญญาที่สืบทอดมาจากรุ่นสู่รุ่น ลวดลายผ้ามัดหมี่ของชุมชนมีความเป็นเอกลักษณ์และสะท้อนถึงวัฒนธรรมไทโย้ย การทอผ้าไม่เพียงเป็นการรักษาวัฒนธรรม แต่ยังเป็นการสร้างรายได้และส่งเสริมการท่องเที่ยวในชุมชน 4. การสืบสานวัฒนธรรมเก่า ชาวบ้านอุ่มเหม้าให้ความสำคัญกับการอนุรักษ์และสืบสานวัฒนธรรมดั้งเดิม เช่น การละเล่นพื้นบ้าน การจัดงานประเพณี และการส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม โดยมีการจัดตั้งวิสาหกิจชุมชนเพื่อบริหารจัดการและพัฒนากิจกรรมต่าง ๆ อย่างเป็นระบบ 5. งานสืบสานวัฒนธรรมไทโย้ยบ้านอุ่มเหม้า ชุมชนบ้านอุ่มเหม้าจัดงานสืบสานวัฒนธรรมไทโย้ยเป็นประจำทุกปี โดยมีการแสดงศิลปวัฒนธรรม การละเล่นพื้นบ้าน และกิจกรรมต่าง ๆ ที่สะท้อนถึงวิถีชีวิตและวัฒนธรรมของชาวไทโย้ย การรักษาและส่งเสริมวัฒนธรรมเหล่านี้ไม่เพียงช่วยอนุรักษ์อัตลักษณ์ของชุมชน แต่ยังส่งเสริมการท่องเที่ยวและสร้างความภาคภูมิใจในมรดกทางวัฒนธรรมของชาวไทโย้ยบ้านอุ่มเหม้า ชาวโย้ยเป็นกลุ่มชาติพันธุ์กลุ่มหนึ่งในจังหวัดสกลนคร ในกลุ่มชาวไทโย้ยนี้เป็นกลุ่มที่มีความขยันหมั่นเพียรในการทํางาน ความเป็นอยู่ การดําเนินชีวิตอย่างมัธยัสถ์ และสมถะ มีรูปแบบแนวทางวัฒนธรรมเป็นของตนเอง โดยเฉพาะอย่างยิ่งภาษาพูดในกลุ่มของตนเอง และยังมีการเรียนรู้ และใช้ภาษาไทยลาว ภาษาไทยกลางในการติดต่อสื่อสารกับผู้อื่น หรือในระบบราชการ ชาวไทโย้ยส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธ ทําให้มีอิทธิพลต่อกรอบการดําเนินชีวิต และทําให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในความเป็นอยู่ และเกิดการผสมกลมกลืนทางวัฒนธรรม ซึ่งชาวไทโย้ยยังคงลักษณะเด่นเป็นเอกลักษณ์ และคุณลักษณะต่าง ๆ ของชาติพันธุ์เดิมที่ได้รับสืบทอดมาดังนี้ 1. ชาวไทโย้ยบ้านมีความเป็นอยู่อย่างมัธยัสถ์ และสมถะ เรียบง่าย และมีความพอใจในความเป็นอยู่ของตนเอง
2. ชาวไทโย้ยรักษาเอกลักษณ์ของกลุ่มตนได้อย่างดี เช่น มีการพูดภาษาโย้ยภายในครอบครัว และใน 3. ชาวไทโย้ยมีความขยัน อดทนในการทํางาน เช่น ทํานา ทําไร่ และการทอผ้า ซึ่งปัจจุบันได้รับการส่งเสริมให้มีกลุ่มทอผ้าที่มีฝีมือ จนกลายเป็นสินค้าส่งไปจําหน่ายทั้งในประเทศ และต่างประเทศในปัจจุบัน 4. ชาวไทโย้ยมีความรัก สามัคคี มีน้ำใจดี เคารพผู้อาวุโส และจะไม่ทะเลาะวิวาทกัน 5. ชาวโย้ยเชื่อมั่นศรัทธาในศาสนาตอนเช้าชาวบ้านจะทําบุญตักบาตรหรือไปทําบุญที่วัดแต่ในฤดูแล้งหนุ่มสาวชาวบ้านส่วนใหญ่ที่ไปทํางานกรุงเทพฯ จะนํากฐินหรือผ้าป่ามาทอดถวายวัด ได้เงินมาเป็นทุนพัฒนาหมู่บ้านและวัดเป็นประจําทุกปีจนถึงปัจจุบัน วัฒนธรรมชาวไทโย้ย ความเข้าใจเกี่ยวกับตนเอง ชาวไทโย้ยบ้านทั้งชายและหญิง มีรูปร่างสันทัดผิวสองสีค่อนข้างขาวกว่าชาวไทยลาวซึ่งเป็นชนกลุ่มใหญ่ในภาคอีสาน พูดภาษาโย้ยในกลุ่มตนเอง แต่เมื่อสื่อความหมายกับคนนอกกลุ่มจะปรับตัวใช้สําเนียงไทยลาว หรือไทยกลาง เมื่อถูกเรียกว่าโย้ยก็ยอมรับด้วยความภาคภูมิใจ แสดงให้เห็นว่าชาวไทโย้ยมีความเข้าใจตนเอง ภูมิใจในการที่เป็นชาวไทโย้ยซึ่งยังรักษาเอกลักษณ์ และคุณลักษณะต่าง ๆ ของชาติพันธุ์เดิม เช่น ความเป็นอยู่มัธยัสถ์ สมถะ ขยัน มีความสามัคคีในกลุ่ม เคารพ ผู้อาวุโส อาชีพหลักของชาวโย้ย คือ การทํานา อาชีพเสริม ได้แก่ การจักสาน การทอผ้า ซึ่งนอกจากจะเอาไว้ใช้เองแล้ว ปัจจุบันเป็นสินค้าส่งออกไปจําหน่ายทั้งในประเทศและต่างประเทศ ผ้าที่ชาวไทโย้ยทอขึ้นนี้จัดเป็นผ้าที่งดงามมาก แสดงให้เห็นว่าชาวไทโย้ยมีความเข้าใจตนเอง และภูมิใจในการรักษาเอกลักษณ์ของกลุ่มตนเองในด้านภาษา และคุณลักษณะที่แสดงออกในกิจวัตรประจําวัน การอนุรักษ์และสืบสานภูมิปัญญาท้องถิ่นเป็นสิ่งที่ชุมชนบ้านอุ่มเหม้าให้ความสำคัญอย่างยิ่ง การทอผ้ามัดหมี่ย้อมครามไม่เพียงเป็นการรักษาวัฒนธรรมและอัตลักษณ์ของชุมชน แต่ยังเป็นการสร้างงานและรายได้ให้กับคนในพื้นที่ นอกจากนี้ การส่งเสริมการท่องเที่ยวยังช่วยเผยแพร่วัฒนธรรมไทโย้ยให้เป็นที่รู้จักในวงกว้างการรักษาและส่งเสริมวัฒนธรรมเหล่านี้ไม่เพียงช่วยอนุรักษ์อัตลักษณ์ของชุมชน แต่ยังส่งเสริมการท่องเที่ยวและสร้างความภาคภูมิใจในมรดกทางวัฒนธรรมของชาวไทโย้ยบ้านอุ่มเหม้า
การทำงาน ครอบครัวของชาวไทโย้ยส่วนใหญ่เป็นเกษตรกร จึงมีแรงงานทั้งเด็กและผู้ใหญ่บิดามารดาจะมอบหมายงานให้บุตรรับผิดชอบตามวัยที่สามารถจะช่วยได้ เช่น ช่วยหยิบสิ่งของ ปัดกวาดเช็ดถูบ้านเรือน 1. การทำการเกษตรชาวบ้านส่วนใหญ่ประกอบอาชีพทำนา ปลูกข้าวหอมมะลิคุณภาพสูงโดยใช้วิธีการเกษตรอินทรีย์ ซึ่งช่วยรักษาสิ่งแวดล้อมและสุขภาพของผู้บริโภค นอกจากนี้ ยังมีการปลูกพืชอื่น ๆ เช่น หม่อน (มัลเบอร์รี่) เพื่อสร้างรายได้เสริม 2. การทอผ้าและหัตถกรรมการทอผ้ามัดหมี่ลายโบราณเป็นอีกหนึ่งกิจกรรมสำคัญของชุมชน ผ้าทอเหล่านี้มีลวดลายที่เป็นเอกลักษณ์และสะท้อนถึงวัฒนธรรมไทโย้ย การทอผ้าไม่เพียงช่วยอนุรักษ์ภูมิปัญญาท้องถิ่นแต่ยังสร้างรายได้และส่งเสริมการท่องเที่ยวในชุมชนชาวไทโย้ยแต่งกายด้วยผ้าย้อมครามทอมือ สีกรมท่าเข้มออกดำ สตรีจะนุ่งผ้ามัดหมี่ พาดผ้าสไบ ปัจจุบันมีการรื้อฟื้นลายผ้าโบราณ เช่น ลายนกยูง ลายไก่ต๊อก และภูมิปัญญาการ ก่อหม้อครามเพื่อย้อมคราม ร่วมกับการย้อมสีจากธรรมชาติ 3. การจักสานเมื่อมีวิถีชีวิตที่ผูกพันกับประมงและเกษตร การจักสานอุปกรณ์อย่าง ข้อง กระบุง กระจาด กระดัง เพื่อใช้ในการหาอยู่หากินมั่นมั่นสิ่งที่คู่กับชาวให้อย่างแน่น รวมเน้นไปถึง งานไม้ชนิดอื่นๆ เช่น พิณ และซอไม้ไผ่ ภูมิปัญญาชาวไทโย้ยที่สะท้อนอุปนิสัยร่าเริง สนุกสนาน รักเสียงดนตรี มีการละเล่น โย้ยทบสาก หรือ รำกระทบไม้ ที่นอกจากเป็นการต้อนรับ นักท่องเที่ยว ยังชวนนักท่องเที่ยวออกมาร่วมวงเล่นอย่างสนุกสนาน 4. การท่องเที่ยวโดยชุมชนด้วยความภาคภูมิใจในอัตลักษณ์ของชาติพันธุ์ไทโย้ย ชุมชนบ้านอุ่มเหม้าได้พัฒนาการท่องเที่ยวโดยชุมชน โดยจัดสรรบทบาทและหน้าที่ให้แต่ละคนในหมู่บ้าน เช่น การจัดโฮมสเตย์ การเป็นไกด์ท้องถิ่นพาชมวิถีชีวิต การสาธิตการทำการเกษตร และการแสดงศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่น 5. การจัดตั้งวิสาหกิจชุมชนเพื่อให้การดำเนินงานเป็นระบบและยั่งยืน ชุมชนได้จัดตั้ง "วิสาหกิจชุมชนบ้านไทโย้ย อุ่มเหม้า" ขึ้น โดยมีหน้าที่บริหารจัดการและพัฒนากิจกรรมต่าง ๆ ในชุมชน เช่น การผลิตและจำหน่ายผลิตภัณฑ์ท้องถิ่น การจัดกิจกรรมท่องเที่ยว และการอนุรักษ์วัฒนธรรม ความซื่อสัตย์ หมายถึง การซื่อตรง ไม่คดโกง เป็นการแสดงออกทางใจ ไม่มีเงื่อนงําในใจทางวาจาก็พูดจริงเชื่อถือไว้ใจ มีความซื่อสัตย์ ทําให้เกิดประโยชน์ต่อตนเองและผู้อื่น เป็นการกระทําที่เป็นไปอย่างถูกทาง ไม่ผิดจากความจริง ดังนั้นในการดําเนินชีวิตครอบครัวให้มีความสุข หัวหน้าครอบครัวควรมีความซื่อสัตย์ในตนเองครอบครัว และสังคมเพื่อนบ้าน พูดแล้วต้องทํา แสดงว่าพูดจริงทําจริง แต่จะทําจริงแค่ไหนเป็นอีกเรื่องหนึ่งการสาบานเป็นอีกเรื่องหนึ่งที่ชาวโย้ยยังปฏิบัติกันอยู่ แม้จะเป็นเพียงส่วนน้อย เช่น สาบานเป็นเพื่อนกันหรือที่เรียกกันว่าผูกเสี่ยว สาบานเพราะความรักสมัยเป็นหนุ่มสาว สาบานเพราะถูกคู่กรณีกล่าวหา ถือเป็นเครื่องมือสําคัญอย่างหนึ่งในการควบคุมชาวไทโย้ยให้ตั้งอยู่ในความซื่อสัตย์ทั้งทางใจ ทางกาย และวาจา ทําให้ชาวไทโย้ยอยู่ด้วยกันอย่างมีความสุขตามอัตภาพรากฐานสำคัญของการดำเนินชีวิตและการประกอบอาชีพของชาวบ้านดังนี้ 1. ความซื่อสัตย์ในการทำการเกษตร ชาวบ้านอุ่มเหม้ามีอาชีพหลักคือการทำนาและทำการเกษตรแบบอินทรีย์ พวกเขายึดมั่นในหลักความซื่อสัตย์ต่อธรรมชาติและผู้บริโภค โดยไม่ใช้สารเคมีที่เป็นอันตรายในการเพาะปลูก ซึ่งช่วยให้ข้าวและพืชผลของชุมชนเป็นที่ยอมรับในเรื่องคุณภาพและความปลอดภัย
2. ความซื่อสัตย์ในงานหัตถกรรมและการทอผ้า กลุ่มทอผ้ามัดหมี่ย้อมครามของบ้านอุ่มเหม้ามีชื่อเสียงในด้านการรักษามาตรฐานของลวดลายโบราณและกระบวนการผลิตแบบดั้งเดิม ชาวบ้านให้ความสำคัญกับความซื่อสัตย์ต่อภูมิปัญญาของบรรพบุรุษ ไม่ดัดแปลงหรือลดทอนคุณภาพของผ้าเพื่อหวังผลกำไร แต่ยังคงรักษาคุณภาพให้คงเดิมเพื่อส่งต่อศิลปะการทอผ้าให้คนรุ่นหลัง 3. ความซื่อสัตย์ในการค้าขายและการทำธุรกิจ ในตลาดสินค้าชุมชนและการขายสินค้าออนไลน์ ชาวบ้านอุ่มเหม้ามีจรรยาบรรณในการค้าขาย ไม่โกงน้ำหนักหรือคุณภาพของสินค้า ยึดมั่นในหลัก "ซื่อกินไม่หมด คดกินไม่นาน" ทำให้สินค้าจากบ้านอุ่มเหม้าได้รับความไว้วางใจจากลูกค้าและผู้สนับสนุน 4. ความซื่อสัตย์ในความสัมพันธ์ของชุมชน ชาวบ้านอุ่มเหม้าให้ความสำคัญกับความซื่อสัตย์ในการอยู่ร่วมกัน มีการช่วยเหลือซึ่งกันและกันโดยไม่หวังผลตอบแทน ความซื่อสัตย์ในการดำรงชีวิตของชุมชนช่วยสร้างความสามัคคี ลดความขัดแย้ง และทำให้การพัฒนาเศรษฐกิจและวัฒนธรรมดำเนินไปอย่างราบรื่น
5. การปลูกฝังความซื่อสัตย์ให้คนรุ่นใหม่ โรงเรียนและครอบครัวในชุมชนบ้านอุ่มเหม้าให้ความสำคัญกับการปลูกฝังคุณธรรมความซื่อสัตย์ให้กับเด็กและเยาวชน ผ่านกิจกรรมต่างๆ เช่น การสอนให้ซื่อสัตย์ต่อการเรียน ไม่คดโกงข้อสอบ การมีจิตสำนึกต่อสาธารณะ และการเป็นพลเมืองที่ดีของสังคม ความสามัคคี คือ ความร่วมมือร่วมใจกันประกอบกิจการงานของแต่ละหมู่คณะ และประเทศชาติให้สําเร็จลุล่วงไปด้วยดี ฉะนั้นการอยู่ร่วมกันจะต้องช่วยเหลือซึ่งกันและกัน แต่การช่วยเหลือต้องมีการบอกกล่าวกันล่วงหน้า ได้แก่ - งานการกุศลของวัด ชาวบ้านจะให้ความร่วมมือสูง เพราะเป็นเครื่องยึดเหนี่ยวจิตใจความศรัทธา และความเชื่อในพระพุทธศาสนา - งานพัฒนาหมู่บ้าน ได้แก่ การทําความสะอาด พัฒนาถนนหนทางในหมู่บ้าน ปรับระดับถนนให้มีสภาพดี - งานศพ ได้แก่ การจัดการศพตามประเพณีที่ถือปฏิบัติกันมา งานนี้ชาวบ้านจะมาช่วยงานเอง ไม่ต้องมีการบอกเล่าขอแรงงาน - งานสร้างบ้าน จะมีการบอกกล่าวขอแรงเพื่อนบ้านใกล้ชิดมาช่วยเหลือกัน ตั้งแต่ยกเสาและส่วนประกอบอื่น ๆ ต่อมาภายหลังนิยมจ้างหรือเจ้าของสร้างหรือดําเนินการเอง - งานขอแรงดํานาหรือเกี่ยวข้าว ส่วนมากเจ้าของนาจะขอแรงเฉพาะญาติพี่น้องของตนหรือจ้างคนอื่นตามที่ตกลงกัน ประมาณวันละ 30 – 50 บาท -ความสามัคคีในชีวิตประจำวัน ชาวบ้านอุ่มเหม้ามีความสัมพันธ์ที่แน่นแฟ้นภายในชุมชน มีการช่วยเหลือซึ่งกันและกันในทุกโอกาส ไม่ว่าจะเป็นงานบุญ งานประเพณี หรือเหตุการณ์สำคัญในชีวิต เช่น งานแต่งงาน งานศพ หรืองานขึ้นบ้านใหม่ ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงวิถีชีวิตที่เน้นความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน -ความสามัคคีในการอนุรักษ์วัฒนธรรม ชุมชนให้ความสำคัญกับการรักษาวัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่น โดยร่วมมือกันสืบทอดประเพณีสำคัญ เช่น 1. ประเพณีตักบาตรเช้าที่เป็นเอกลักษณ์ของชุมชน 2. การทอผ้ามัดหมี่ย้อมคราม ซึ่งเป็นภูมิปัญญาดั้งเดิมที่ต้องอาศัยความร่วมมือของคนในชุมชน 3. การละเล่นพื้นบ้าน และ การฟ้อนรำแบบไทโย้ย ที่ชาวบ้านช่วยกันฟื้นฟูและถ่ายทอดให้เยาวชนรุ่นใหม่ -ความสามัคคีในการประกอบอาชีพ 1. กลุ่มทอผ้ามัดหมี่ย้อมคราม สมาชิกในชุมชนร่วมมือกันในการผลิตผ้าทอคุณภาพสูง แบ่งหน้าที่กันทำ เช่น การย้อมคราม การออกแบบลายผ้า และการตลาด ทำให้เกิดความเข้มแข็งในเชิงเศรษฐกิจ 2. การทำเกษตรกรรมร่วมกัน ชาวบ้านช่วยเหลือกันในการปลูกข้าวและพืชผล โดยมีการแลกเปลี่ยนแรงงานและความรู้ทางการเกษตร 3. ความสามัคคีในการพัฒนาชุมชน การจัดตั้งกลุ่มวิสาหกิจชุมชน เพื่อพัฒนาอาชีพและสร้างรายได้ให้กับทุกครัวเรือน 4. โครงการพัฒนาหมู่บ้าน ที่ชาวบ้านร่วมมือกันพัฒนาสาธารณูปโภค เช่น การสร้างถนนในหมู่บ้าน การพัฒนาระบบน้ำประปา และการปรับปรุงศาลากลางบ้าน 5. โครงการท่องเที่ยวโดยชุมชน ที่ต้องอาศัยความร่วมมือกันในหมู่บ้านเพื่อดูแลนักท่องเที่ยวและเผยแพร่วัฒนธรรมท้องถิ่น - การปลูกฝังความสามัคคีให้คนรุ่นใหม่ โรงเรียนและวัดในชุมชนมีบทบาทสำคัญในการสอนเด็กและเยาวชนให้เห็นคุณค่าของความสามัคคี ผ่านกิจกรรมต่างๆ เช่น 1. การเรียนรู้ประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมของไทโย้ย 2. กิจกรรมบำเพ็ญประโยชน์ เช่น การช่วยทำความสะอาดวัดและโรงเรียน 3. การเล่นกีฬาหมู่บ้านเพื่อสร้างความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน ความเมตตา คือ ความรักด้วยความจริงใจ ปรารถนาให้คนอื่นมีความสุข ช่วยเหลือเมื่อเขามีความทุกข์ และยินดีเมื่อเขามีความสุข การแสดงออกด้านความเมตตา การช่วยเหลือเพื่อนบ้านมากที่สุด ได้แก่ งานทุกอย่างที่บอกเล่าก่อน เช่น งานบุญ งานพัฒนาหมู่บ้าน งานเอาแรง งานก่อสร้าง มีความพร้อมเพรียงในการพัฒนาชุมชน การแนะนําในเรื่องอาชีพต่าง ๆ ถือได้ว่าเป็นสังคมที่ประกอบด้วยความเมตตาเป็นหนึ่งในคุณค่า ที่สำคัญของชุมชนบ้านอุ่มเหม้าเป็นรากฐานสำคัญของการอยู่ร่วมกันอย่างสงบสุข ความเมตตาในชุมชนนี้แสดงออกผ่านวิถีชีวิต การช่วยเหลือเกื้อกูลกัน และการอนุรักษ์วัฒนธรรมท้องถิ่นทำให้ชุมชนสามารถอยู่ร่วมกันอย่างสงบสุขเป็นแรงดึงดูดให้นักท่องเที่ยวและผู้คนจากภายนอกเข้ามาเรียนรู้สัมผัสวิถีชีวิตของชาวไทโย้ยที่แท้จริงดังนี้ 1. ความเมตตาในการช่วยเหลือซึ่งกันและกันชาวบ้านมีความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ต่อกัน ไม่ทอดทิ้งผู้ที่เดือดร้อนมีการช่วยเหลือกันในเรื่องแรงงาน เช่น การเกี่ยวข้าว การซ่อมแซมบ้านเรือน และการดูแลเด็กและผู้สูงอายุการแบ่งปันอาหารและสิ่งของจำเป็น โดยเฉพาะช่วงเทศกาลหรืองานบุญ 2. ความเมตตาต่อผู้สูงอายุและผู้ด้อยโอกาสชุมชนมีการจัดกิจกรรมดูแลผู้สูงอายุ เช่น การเยี่ยมเยียน การบริจาคสิ่งของ และการช่วยทำงานบ้านมีการส่งเสริมให้เด็กและเยาวชนมีจิตสำนึกในการดูแลผู้สูงวัย ผ่านกิจกรรมในโรงเรียนและวัดหากมีครอบครัวที่ประสบปัญหาเศรษฐกิจ ชาวบ้านจะช่วยกันระดมทุนหรือจัดหางานเพื่อช่วยเหลือ 3. ความเมตตาในวัฒนธรรมและประเพณีประเพณีตักบาตรเช้า เป็นกิจกรรมที่สะท้อนถึงความเมตตาต่อพระสงฆ์และการรักษาศีลธรรม งานบุญต่างๆ เช่น บุญผะเหวด บุญเข้าพรรษา และบุญออกพรรษา แสดงให้เห็นถึงความสามัคคีและการแบ่งปันในชุมชน การอนุรักษ์ผ้ามัดหมี่ย้อมคราม เป็นการสืบทอดภูมิปัญญาให้คนรุ่นหลัง โดยไม่หวงแหนองค์ความรู้ แต่กลับเปิดโอกาสให้ผู้สนใจได้เรียนรู้ 4. ความเมตตาต่อสิ่งแวดล้อมและธรรมชาติการทำเกษตรอินทรีย์ของชุมชนเป็นการแสดงออกถึงความเมตตาต่อดิน น้ำ และอากาศมีการอนุรักษ์ต้นครามซึ่งเป็นวัตถุดิบสำคัญในการย้อมผ้า เพื่อให้สามารถใช้งานได้อย่างยั่งยืนชาวบ้านช่วยกันรักษาความสะอาดของชุมชนและไม่ทำลายทรัพยากรธรรมชาติ 5. ความเมตตาต่อผู้มาเยือนและนักท่องเที่ยวชาวบ้านต้อนรับนักท่องเที่ยวด้วยน้ำใจไมตรี ให้การดูแลเสมือนญาติพี่น้องมีโครงการโฮมสเตย์ที่เน้นให้ผู้มาเยือนได้รับประสบการณ์ที่อบอุ่นและเป็นกันเองนักท่องเที่ยวที่สนใจเรียนรู้การทอผ้าหรือการใช้ชีวิตแบบไทโย้ย จะได้รับการถ่ายทอดความรู้โดยไม่มีการปิดกั้น
จารีตประเพณี ประเพณี หมายถึง ข้อบังคับหรือเกณฑ์ในการปฏิบัติที่หมู่ชนประพฤติ และจดจํา ฮีตสิบสองเป็นจารีตประเพณีที่คนในกลุ่มได้ร่วมชุมนุมกันทําบุญเป็นประจําทุก ๆ เดือนในรอบปี คือ 1. เดือนอ้ายทําบุญข้าวกรรม 2. เดือนยี่ทําบุญคูณลาน 3. เดือนสามบุญข้าวจี่ 4. เดือนสี่บุญพระเวส 5. เดือนบุญสงกรานต์ 6. เดือนหกบุญบั้งไฟ 7. เดือนเจ็ดบุญเลี้ยงอารักษ์หลักเมือง 8. เดือนแปดบุญเข้าพรรษา 9. เดือนเก้าบุญข้าวประดับดิน 10. เดือนสิบบุญข้าวสาก 11. เดือนสิบเอ็ดบุญออกพรรษา 12. เดือนสิบสองบุญกฐิน ชาวไทโย้ยมีการปฏิบัติด้วยความเชื่อฮีตสิบสองคองสิบสี่นี้เป็นจารีตประเพณีทุกครอบครัว ผลที่เกิดขึ้นคือ ทุก ๆ คนจะได้เข้าวัดใกล้กับหลักธรรมของพุทธศาสนา และทําให้เกิดการรู้จักคุ้นเคยสามัคคีกัน และเมื่อว่างจากงานอาชีพทุกคนจะเสียสละทํางานเพื่อส่วนรวม ปัจจุบันการจัดกิจกรรมในฮีตสิบสองส่วนใหญ่จะจัดเพื่อเทศกาลเท่านั้น และปัจจุบันสังคมสมัยใหม่ได้แพร่เข้าสู่หมู่บ้าน ทําให้ประเพณีเก่า ๆ เริ่มเสื่อมไป เพราะคนในสังคมมุ่งเน้นในเรื่องของการดําเนินชีวิต การทํามาหากินตามระบบเศรษฐกิจแบบทุนนิยมประเพณีเกี่ยวกับวิถีชีวิตซึ่งเป็นประเพณีของชาวไทโย้ย เริ่มจากประเพณีการเกิดที่มีการผูกแขนการบวชที่มีการทําบุญ การแต่งงานที่มีพิธีบายศรี และการตายที่มีการสวดทําบุญแผ่ส่วนกุศลแล้วฝังหรือเผาเก็บกระดูก จากข้อมูล ที่ได้พบว่า ทุก ๆ ประเพณีดังกล่าวมีการปฏิบัติต่อกันมาถึงปัจจุบัน เพราะส่วนใหญ่ทําตามประเพณี ส่วนหนึ่งทําแล้วสบายใจ และอีกส่วนหนึ่งทําเพื่อความเป็นศิริมงคลต่อชีวิต
ศีลธรรมจรรยา หมายถึง ข้อปฏิบัติเกี่ยวกับการทําตนเป็นคนดีตามศีลธรรมที่ได้มาจากหลักธรรมคําสอนในศาสนาต่าง ๆ โดยเฉพาะศาสนาพุทธกําหนดให้พุทธศาสนิกชนประพฤติปฏิบัติตามศีล 5 ประการ คือ ละเว้นจากการฆ่าสัตว์ การละเว้นจากการลักขโมย การละเว้นจากการประพฤติผิดในกาม การละเว้นจากการกล่าวคําเท็จหรือพูดปด และการละเว้นจากการดื่มสุราและสิ่งเสพติด หลักศีลธรรมนี้มีอิทธิพลเนื่องจาหลักคําสอนของศาสนาพุทธชุมชนบ้านอุ่มเหม้ามีศีลธรรมจรรยาเป็นแนวทางในการดำเนินชีวิต ซึ่งสะท้อนผ่านศาสนา วัฒนธรรม การทำงาน และความสัมพันธ์ระหว่างคนในชุมชน คุณค่าทางศีลธรรมเหล่านี้ช่วยทำให้ชุมชนมีความสงบสุขและเป็นต้นแบบของสังคมที่ดีดังนี้ 1. ศีลธรรมจรรยาในการดำเนินชีวิตชาวบ้านอุ่มเหม้าปฏิบัติตามหลัก "ฮีตสิบสอง คองสิบสี่" ซึ่งเป็นแนวทางปฏิบัติของชาวอีสานที่ช่วยให้เกิดระเบียบวินัยและคุณธรรมในสังคม มีการเคารพผู้อาวุโสและให้เกียรติซึ่งกันและกันในทุกสถานการณ์การใช้ชีวิตเรียบง่าย ไม่โลภมาก และให้ความสำคัญกับการอยู่ร่วมกันอย่างสงบสุข 2. ศีลธรรมจรรยาในศาสนาชาวบ้านส่วนใหญ่เป็นพุทธศาสนิกชนที่เคร่งครัดในการปฏิบัติธรรม มีการตักบาตรเช้า ถือศีล ฟังธรรม และเข้าร่วมกิจกรรมทางศาสนาอย่างสม่ำเสมอ มีการจัดงานบุญตามประเพณี เช่น บุญมหาชาติ (บุญผะเหวด), บุญเข้าพรรษา, บุญออกพรรษา ซึ่งช่วยหล่อหลอมจิตใจให้มีศีลธรรม 3. ศีลธรรมจรรยาในการทำงานและการประกอบอาชีพชุมชนมีจรรยาบรรณในการทำงาน โดยเฉพาะในการทอผ้ามัดหมี่ย้อมคราม ซึ่งต้องอาศัยความซื่อสัตย์และความรับผิดชอบต่อคุณภาพของสินค้า มีความซื่อสัตย์ในการค้าขาย ไม่โกงลูกค้า และยึดถือหลัก "ซื่อกินไม่หมด คดกินไม่นาน" การทำเกษตรอินทรีย์ของชุมชนสะท้อนถึงจริยธรรมในการรักษาสิ่งแวดล้อมและสุขภาพของผู้บริโภค 4. ศีลธรรมจรรยาในการอยู่ร่วมกันในสังคมการให้ความเคารพซึ่งกันและกัน ไม่แบ่งแยกชนชั้นหรือฐานะชุมชนมีการช่วยเหลือซึ่งกันและกัน ไม่ทอดทิ้งผู้ด้อยโอกาส หรือผู้ที่มีปัญหาทางเศรษฐกิจ การแก้ไขปัญหาภายในหมู่บ้านใช้วิธีพูดคุยและหาทางออกร่วมกัน แทนที่จะใช้ความรุนแรง 5. การปลูกฝังศีลธรรมจรรยาให้คนรุ่นใหม่โรงเรียนและวัดมีบทบาทสำคัญในการสอนศีลธรรมจรรยาให้กับเด็กและเยาวชน มีการจัดกิจกรรมที่ส่งเสริมคุณธรรม เช่น การเข้าค่ายคุณธรรม จริยธรรม ผู้ใหญ่ในชุมชนทำหน้าที่เป็นแบบอย่างที่ดีให้กับคนรุ่นหลัง การนับถือศาสนาของชาวไทโย้ยพบว่า นับถือศาสนาพุทธ โดยนับถือตามบรรพบุรุษ ที่มีพระเณรประจําวัดมีหน้าที่อบรมสั่งสอนชาวบ้านทุกวันพระมีการทําบุญฟังเทศน์ประจําทุกวันพระให้ชาวบ้านเข้าใจธรรมปฏิบัติตามศีล 5 ซึ่งเป็นแนวทางประพฤติปฏิบัติของพุทธศาสนา ชาวไทโย้ยจึงมีความศรัทธายึดมั่นในพุทธศาสนาสืบต่อกันมาจนถึงปัจจุบัน นอกจากนี้ชาวบ้านยังสนใจกิจกรรมเกี่ยวกับงานบุญต่าง ๆ มาก ให้ความสนใจในการพัฒนาวัด เช่น สร้างวัดศาลาการเปรียญ โบสถ์ กําแพง มีการบริจาคตามกําลังศรัทธา เป็นต้น ศาสนาพุทธเป็นหัวใจสำคัญของวิถีชีวิตชาวไทโย้ย บ้านอุ่มเหม้า หมู่ 15 ไม่เพียงเป็นที่ยึดเหนี่ยวจิตใจ แต่ยังเป็นแนวทางในการดำรงชีวิต การอยู่ร่วมกันในสังคม และการสืบสานประเพณีวัฒนธรรม ชุมชนมีการผสมผสานความเชื่อพื้นบ้านเข้ากับพุทธศาสนา ทำให้เกิดอัตลักษณ์ที่เป็นเอกลักษณ์และแข็งแกร่งดังนี้
1. การนับถือศาสนาพุทธในชีวิตประจำวันชาวบ้านส่วนใหญ่นับถือ ศาสนาพุทธนิกายเถรวาท และปฏิบัติตามหลักคำสอนของพระพุทธศาสนา การทำบุญตักบาตรในตอนเช้าเป็นกิจวัตรที่สำคัญ โดยเฉพาะในวันพระ การถือศีล 5และศีล 8เป็นแนวทางการดำเนินชีวิตของชาวบ้าน โดยเฉพาะผู้สูงอายุที่มักไปปฏิบัติธรรมที่วัด พระสงฆ์มีบทบาทสำคัญในการให้คำสอนและชี้แนะแนวทางชีวิตให้กับชุมชน 2. วัดและบทบาทของพระสงฆ์ในชุมชนวัดในชุมชน เป็นศูนย์กลางทางศาสนาและวัฒนธรรมของชาวบ้าน ใช้เป็นสถานที่ประกอบพิธีกรรมต่างๆ พระสงฆ์มีบทบาทในการเผยแผ่ธรรมะ ให้คำปรึกษาทางจิตใจ และเป็นผู้นำในกิจกรรมสังคม วัดยังเป็นศูนย์กลางการเรียนรู้ของเด็กและเยาวชน เช่น การบวชเณรภาคฤดูร้อน 3. ประเพณีและพิธีกรรมทางศาสนาชาวบ้านอุ่มเหม้าสืบทอดและปฏิบัติตาม "ฮีตสิบสอง คองสิบสี่" ซึ่งเป็นแนวทางการดำเนินชีวิตที่เกี่ยวข้องกับศาสนาพุทธ ตัวอย่างประเพณีสำคัญ ได้แก่ -บุญผะเหวด (บุญมหาชาติ)การเทศน์มหาชาติ เพื่อสืบทอดเรื่องราวของพระเวสสันดร -บุญบั้งไฟ การขอฝนจากเทวดาตามความเชื่อดั้งเดิม -บุญเข้าพรรษาบุญออกพรรษา การถวายเทียนพรรษาและฟังธรรมในช่วงเข้าพรรษา -ประเพณีตักบาตรเทโวการทำบุญหลังวันออกพรรษา เพื่อระลึกถึงพระพุทธเจ้าที่เสด็จลงจากสวรรค์ 4. ความเชื่อพื้นบ้านและผสมผสานกับศาสนาพุทธแม้ว่าศาสนาพุทธจะเป็นศาสนาหลักของชาวไทโย้ย แต่ชุมชนยังคงมีความเชื่อเกี่ยวกับ ผีบรรพบุรุษ และสิ่งศักดิ์สิทธิ์ เช่น -ผีเฮือน ผีเรือนวิญญาณบรรพบุรุษที่คอยปกปักรักษาครอบครัว -ศาลปู่ตาศาลประจำหมู่บ้านที่เป็นศูนย์รวมจิตใจของชุมชน -การเซ่นไหว้และพิธีกรรมพื้นบ้านเช่น การบนบานศาลกล่าวเมื่อมีเหตุการณ์สำคัญ 5. การปลูกฝังศาสนาให้เยาวชนโรงเรียนและวัดร่วมมือกันในการสอนศีลธรรมและหลักพุทธศาสนาให้กับเด็ก การเข้าค่ายคุณธรรม และโครงการบวชเณรภาคฤดูร้อน เพื่อให้เด็กได้เรียนรู้หลักธรรมคำสอน ครอบครัวมีบทบาทสำคัญในการถ่ายทอดความเชื่อและการปฏิบัติทางศาสนาให้กับคนรุ่นใหม่ กฎระเบียบ กฎระเบียบ เป็นประเพณีที่ดีงาม คือ ขนบธรรมเนียม ประเพณี หรือแบบแผนที่เคยประพฤติปฏิบัติสืบต่อกันมาเป็นแบบฉบับที่ดีงาม เป็นหลักวัฒนธรรมประจําชาติ กฎระเบียบเหล่านี้ถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของกฎหมายที่คนในสังคมยึดถือปฏิบัติกัน ในแต่ละสังคมจะประกอบด้วยครอบครัวจะมีพื้นฐานการอบรมแตกต่างกัน เมื่อยู่ในสังคมเดียวกันย่อมต้องมีปัญหาแน่นอน แต่จะสามารถหาข้อยุติหรือตกลงแก้ไขกันได้ เช่น ถ้าเกิดปัญหากรณีใด ๆ ก็ตาม ชาวไทโย้ยจะแก้ปัญหา ดังนี้
- ปัญหาครอบครัว จะปรึกษาคนเฒ่าคนแก่ ซึ่งเป็นเจ้าโคตรของคนในหมู่บ้าน เพราะเป็นผู้อาวุโส มีประสบการณ์ชีวิตมากกว่าคงจะให้ข้อเสนอแนะ แนวทางในการดํารงชีวิตที่ถูกต้อง การปรึกษาผู้ใหญ่บ้าน
- ปัญหาการทะเลาะวิวาท ชาวไทโย้ย พบว่า ส่วนใหญ่จะไม่เคยมีปัญหาการทะเลาะวิวาทแต่
- ปัญหาในการลักขโมย ในหมู่ไม่มีการลักขโมย ในหมู่บ้านจึงเป็นสังคมที่อยู่รวมกันอย่างมี
ความเชื่อ หมายถึง การยอมรับอันเกิดในจิตสํานึกมนุษย์ต่อพลังอํานาจเหนือธรรมชาติที่เป็นผลดีหรือ
- ขวัญชาวบ้านส่วนใหญ่มีความเชื่อสิ่งต่าง ๆ ย่อมมีขวัญทั้งนั้นไม่ว่าจะเป็น คน สัตว์ สิ่งของ และขวัญที่เป็นสิ่งของที่มองไม่เห็นคล้าย ๆ วิญญาณสิงสถิตอยู่กับสิ่งต่าง ๆ เชื่อกันว่าถ้าขวัญอยู่กับเนื้อกับตัวย่อมทําให้
- สะเดาะเคราะห์หรือแต่งแก้เป็นความเชื่ออีกอย่างหนึ่งของชาวไทโย้ยที่มีความเชื่อเรื่อง - โชคชะตา เป็นเรื่องของความเชื่อ เชื่อว่าการจะมั่งมีหรือยากจนขึ้นอยู่กับความขยันหรือเกียจคร้าน ไม่ใช่โชควาสนาที่เป็นตัวกําหนด ชาวไทโย้ยมีความเชื่อในเรื่องโชคชะตาว่าสามารถเสริมความขยันหมั่นเพียรในการประกอบกิจการงานต่าง ๆ ให้มีฐานะดีได้ - ฤกษ์ยามในการประกอบกิจกรรมต่าง ๆ ของชาวไทโย้ยจะมีขั้นตอนพิธีกรรมเข้ามาเกี่ยวข้อง ตั้งแต่การหาฤกษ์ยาม การบนบาน การสวดมนต์ทําบุญเลี้ยงพระในการแต่งงาน การสร้างบ้านใหม่ ช่วยให้เกิดความขลังความศักดิ์สิทธิ์ ความน่าเลื่อมใส สามารถปลุกศรัทธาให้เกิดในจิตใจผู้กระทํา ครอบครัว และผู้พบเห็น
- ภูตผีชาวไทโย้ยมีความเชื่อว่าผีมีจริง จากข้อมูลที่ได้พบว่า ผีที่ชาวบ้านไทโย้ยนับถือ ได้แก่ ผีบรรพบุรุษ เป็นผีประจําตระกูล หมายถึง ผีปูุย่า ตา ยาย ที่คอยดูแลรักษาลูกหลานในครอบครัว และผีเรือน
การดำเนินชีวิตของชาวไทโย้ย แบบแผนการดําเนินชีวิตกล่าวได้ว่าเป็นวัฒนธรรมทางวัตถุ เป็นเรื่อง 1. การแต่งกายและวัฒนธรรมชาวบ้านนิยมสวมใส่เสื้อผ้าทอมือที่ย้อมด้วยครามและผ้ามัดหมี่ลายโบราณ ซึ่งเป็นเอกลักษณ์ของชุมชน 2 .การเกษตรและการดำรงชีวิตชาวบ้านประกอบอาชีพเกษตรกรรมเป็นหลัก เช่น การทำนา ปลูกมะเขือเทศ พริก และข้าวโพด
3. ประเพณีและเทศกาล ทุกวันที่ 1 เมษายนของทุกปี ชุมชนจะจัดงานสืบสานวัฒนธรรมไทโย้ย ซึ่งรวมถึงการทำบุญตักบาตรเช้า การแห่ขบวนนางรำ และการแต่งกายด้วยชุดผ้าครามที่สวยงาม
4. การท่องเที่ยวโดยชุมชน บ้านอุ่มเหม้าได้พัฒนาการท่องเที่ยวโดยชุมชน (CBT) เพื่อส่งเสริมและอนุรักษ์วัฒนธรรมไทโย้ย นักท่องเที่ยวสามารถเข้าร่วมกิจกรรมต่าง ๆ เช่น การทำเกษตร การย้อมผ้าคราม การทำอาหารพื้นบ้าน และการแสดงดนตรีพื้นเมือง
การจัดสร้างที่อยู่อาศัย บ้านเป็นปัจจัยพื้นฐานสําหรับมนุษย์ไว้เป็นที่อยู่อาศัย เป็นสิ่งจําเป็นในการดําเนินชีวิตเพื่อที่จะได้ไม่ต้องร่อนเร่ต่อไป การจัดสร้างที่อยู่อาศัยมีความแตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับลักษณะของ
วัฒนธรรมในแต่ละภูมิภาคแต่ละท้องถิ่น ซึ่งมีการปรับตัวให้เข้ากับภูมิศาสตร์ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
ชาวไทโย้ยมีบ้านอาศัยเป็นของตนเองทุกครอบครัว และชาวบ้านจะทําเองมากที่สุดหรือได้จาก
มรดก จากการซื้อบ้านเก่าของคนอื่นในหมู่บ้าน หรือหมู่บ้านอื่นใกล้เคียงมาปลูกใหม่ การปลูกสร้างบ้านจะใช้วิธีขอแรงญาติพี่น้องช่วยกันสร้างให้หรือสร้างเองร่วมกับเครือญาติใกล้ชิด บ้านพักของชาวไทโย้ยมีทั้งบ้านแบบเก่าที่เป็นของเดิม มีลักษณะเป็นใต้ถุนสูง หลังคาสามเหลี่ยมหน้าจั่วมีน้อยและแบบสร้างใหม่เป็นแบบที่สร้างด้วยไม้ และก่ออิฐถือปูนที่ชั้นล่าง บ้านส่วนใหญ่จะมี 1 ถึง 2 ห้องนอน ห้องที่สําคัญ คือ
ห้องพระ ห้องนอน และห้องลูกสาว ซึ่งเป็นห้องสําคัญที่บิดามารดาคอยปกปักรักษาอบรมสั่งสอนให้ลูกสาว ทําดี คบคนดี เมื่อจะรักใคร่ใครก็คอยให้คําปรึกษา และข้อเสนอแนะอยู่เสมอไม่ให้พ้นสายตา
บ้านเรือนในบ้านอุ่มเหม้ามีลักษณะเป็นบ้านไม้ยกพื้นสูง ตามแบบสถาปัตยกรรมพื้นถิ่นของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ การยกพื้นสูงช่วยป้องกันน้ำท่วมและเพิ่มพื้นที่ใช้สอยใต้ถุนบ้าน ซึ่งมักใช้เป็นที่เก็บอุปกรณ์การเกษตร เลี้ยงสัตว์ หรือทำกิจกรรมต่าง ๆ นอกจากนี้ โครงสร้างไม้ยังช่วยให้บ้านเย็นสบาย เหมาะกับสภาพภูมิอากาศของพื้นที่ในบริบทของกลุ่มทอผ้ามัดหมี่ย้อมคราม การจัดพื้นที่ภายในบ้านมีความสำคัญต่อการดำเนินกิจกรรมการทอผ้า พื้นที่ใต้ถุนบ้านมักถูกใช้เป็นที่ตั้งกี่ทอผ้าและอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้อง เนื่องจากมีความโปร่ง โล่ง และได้รับแสงธรรมชาติที่เพียงพอ การจัดสรรพื้นที่เช่นนี้เอื้อต่อการทำงานและการถ่ายเทอากาศ ทำให้ผู้ทอผ้าสามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
การแต่งกาย การแต่งกายเป็นวัฒนธรรมทางวัตถุที่สําคัญอีกส่วนหนึ่ง นอกจากจะใช้ปกปิดร่างกาย และเป็นการรักษาระดับอุณภูมิของร่างกายให้สามารถปรับเข้ากับสภาพดิน ฟ้า อากาศ ให้สามารถมีชีวิตอยู่ต่อไปได้ยังเป็นการเสริมความงามของเรือนกายอีกด้วย การแต่งกายของคนในแต่ละภูมิภาคย่อมแตกต่างกันออกไป
รูปแบบของเครื่องแต่งกายชาวไทโย้ยทั้งชายและหญิง คือ ชาวไทโย้ยโบราณแต่งกายด้วยเสื้อผ้า
ย้อมครามทอมือ เย็บด้วยมือ สีกรมท่าเข้มออกดํา กางเกงขาทรงกระบอกเสื้อแขนทรงกระบอก ผ้าถุงเป็นผ้า
มัดหมี่ทอเองหรือผ้าไหมมัดหมี่หัวซิ่นและตีนซิ่น มีผ้าสไบลวดลายต่าง ๆ พาดไหล่ สามารถแต่งได้ทุกเวลา เป็น
ชุดแต่งกายที่ประหยัด ปัจจุบันชาวไทโย้ยจะแต่งเฉพาะงานประเพณี เทศกาลงานบุญในหมู่บ้าน
เท่านั้น ในชีวิตประจําวันจะแต่งธรรมดา ง่าย ๆ เหมือนคนกลุ่มอื่น ๆ ซึ่งส่วนมากจะซื้อจากตลาด แต่ถ้าเป็น
งานศพ จะแต่งกายไว้ทุกข์สีดํา หรือสีสุภาพที่สุด อย่างไรก็ตามสําหรับการแต่งกายกลุ่มไทโย้ยนี้
พอจะแยกตามวัยได้ดังนี้
เด็กหญิง เสื้อ สวมเสื้อคอวง (คอกลม) มีจีบรูปถี่ ๆ ไม่มีแขนสวมหัว ตัดด้วยผ้าฝ้าย ผ้านุ่ง นุ่งซิ่นต่าง ๆ (ผ้าถุง) เป็นซิ่นหมี่ลายหรือหมี่คั่นลายเล็ก ๆ เรียกซิ่นคั่น หรือหมี่หมากไม้ (ผ้าทอด้วยเส้นด้ายคู่สองสี ปั่นผสมเข้าในหลอดเดียวกัน ทอออกมาจะเป็นลายหมี่คั่นหมากไม้ไม่ต้องมัดแบบหมี่ ทอออกมาได้เลย ลายของซิ่นนิยมลายขอลายหมากจับ เป็นต้น) ทรงผม นิยมตัดสั้นแค่ใบหู ปัจจุบันคือทรงบ๊อบนั่นเอง
หญิงสาว เสื้อ สวมเสื้อคอต่าง เสื้อเอื้อง (เสื้อชั้นใน) ผ้าหนาติดหมากกะติ่ง (กระดุม) หรือผ้าเคียนอกเป็นผ้าขาวม้า
ฝ้ายย้อมคราม ขณะอยู่บ้านใส่เสื้อแขนกระบั้ง (แขนกระบอก) เมื่อไปทําบุญที่วัดบางครั้งจะห่มผ้าเบี่ยง (ผ้าสไบที่เป็นผ้าขาวม้าฝ้ายย้อมครามหรือเป็นผ้าฝ้ายทอมือสีขาว ไม่ย้อมครามชาวบ้านเรียกผ้าแพร) กับตัวเสื้อ ผ้านุ่งนุ่งซิ่นต่าง ๆ (ผ้าถุง) เป็นซิ่นหมี่ลาดหรือหมี่คั่น มักนุ่งเหน็บชายพก ไม่คาดเข็มขัด (เพิ่งคาดเข็มขัดมาประมาณ 60 ปีที่ผ่านมา แม้เมื่อ 30 ปีก่อนหน้านี้ยังนิยมเหน็บชายพกเป็นส่วนใหญ่) การนุ่งซิ่นของผู้หญิงต้องต่อตีนซิ่นและหัวซิ่น เนื่องจากฟืมที่ใช้ในการทอมีหน้าแคบ ผ้าที่นํามาต่อเป็นเส้นฝ้ายทอลายคั่นทางยาวหลากสี เวลาจะทอทางขวาง แต่เวลาต่อหัวซิ่นจะวางผ้าทางยาว นั่นคือ เส้นยืนจะเป็นสีล้วน และเส้นคั่นใช้หลากสีไม่นิยมต่อหัวซิ่นด้วยพื้น
ทรงผม นิยมไว้ทรงซิงเกิ้ล ทรงดอกกระทุ่ม ทรงบ๊อบ และผมยาวเกล้ามวยสูงก็มี สําหรับหญิงที่แต่งงานและมีบุตรแล้วมักจะเปลือยอกเพื่อความสะดวกในการให้นมบุตร ส่วนหญิงที่มีฐานะจึงจะสวมเสื้อทับเสื้อ อีกชั้นหนึ่ง
หญิงมีอายุ เสื้อ สวมสีต่อง เสื้ออ้อง บางครั้งใช้ผ้าขาวม้าฝ้ายมาห่มเป็นผ้าเบี่ยงปิดหน้าอกเท่านั้นก็ไปไหนๆ ได้ ผ้านุ่ง นุ่งซิ่นหมี่ลาดหรือหมี่คั่น ทรงผม ทรงซิงเกิ้ล หรือเกล้าผมมวยสูง
เด็กชาย เสื้อ เดิมพ่อแม่ไม่ค่อยได้ให้สวมเสื้อ พอโตขึ้นไปโรงเรียนจึงได้สวมเสื้อ ซึ่งตัดจากผ้าฝ้ายทอมือ
มีทั้งย้อมครามและไม่ย้อมคราม ตามโอกาสที่ใช้ ซ่งหรือกางเกง ถ้าเป็นเด็กเล็กก็ไม่สวมซ่งหรือกางเกง โตขึ้นจึงจะได้สวม ทรงผม ทรงตัดสั้น
ชายหนุ่ม เสื้อ โดยทั่วไปไม่นิยมสวมเสื้อ ยกเว้นเมื่อไปวัดทําบุญจะสวมเสื้อคอกลม ผ่าหน้า แขนสั้น ตัดด้วยผ้าฝูายทอมือย้อมครามซ่งหรือกางเกง แต่เดิมนุ่งผ้าขาวม้าฝ้ายแบบนุ่งเตียวเมื่อออกทํางาน และนุ่งผ้าโสร่งเมื่อไปวัดทําบุญ หรือเทศกาลงานต่าง ๆ มีผ้าขาวม้าพาดไหล่ ในระยะต่อมานิยมสวมกางเกงที่เรียกว่า ซ่งอุดร (ทรงอุดร) เป็นกางเกงขาสั้นคล้ายกางเกงนักเรียนเข้าใจว่าพ่อค้าจากเมืองอุดรนําเข้ามาขายในหมู่บ้าน ยังมีกางเกงอีกชนิดหนึ่งเป็นกางเกงขาสั้นหูรูด เรียกทรงหูฮูดหรือซ่งน้อยหูฮูด ภายหลังใช้เป็นกางเกงชั้นใน ต่อมามีกางเกงทรงฮั่งหรือกางเกงขาก๊วย เป็นกางกเกงย้อมคราม ซึ่งสมัยนั้นเวลาตัด จะใช้พร้าหัวโต (มีดอีโต้) ตัดแทนกรรไกรและใช้มือเย็บ กรรไกรสมัยนั้นหายาก มีราคาแพง ต้องเก็บเอาไว้สําหรับตัดผม ไม่นํามาใช้ตัดเสื้อผ้า
ทรงผม ไว้ทรงผมปีก คือ หวีผมแสกกลางมีปีก 2 ข้างเอาไว้สะลิด (สะบัด)
ชายมีอายุ ถ้าอยู่บ้านอาจนุ่งผ้าขาวม้าหรือซ่งหูฮูด ไม่ค่อยสวมเสื้อ เว้นไปวัดไปงานบุญก็จะแต่งกาย เหมือนผู้ชายคนอื่น ๆ กลุ่มไทโย้ยนี้นิยมทอฝ้ายย้อมครามมาใช้ตั้งแต่ดั้งเดิม ภายหลังได้พัฒนาการทอผ้าฝ้ายในกลุ่มตนเองเป็นการทอแบบมัดหมี่เป็นลวดลายต่าง ๆ ปัจจุบันมีแหล่งทอผ้าย้อมคราม สีธรรมชาติจากเปลือกไม้และแก่นไม้ เป็นต้น ผ้าที่ทอนอกจากจะเป็นผ้าซิ่น ผ้าตัดเสื้อแล้ว ยังมีการทอผ้าห่ม ผ้าจ่องที่มีลวดลายสวยงามสามารถนําไปเป็นผ้าสไบได้อีกด้วย
งานฝีมือ ฝีมือ งานฝีมือของกลุ่มไทโย้ย เป็นสิ่งประดิษฐ์เกี่ยวกับเครื่องมือเครื่องใช้งานอาชีพอุปกรณ์การครัว หรือสิ่งที่ใช้ในการบวงสรวง เคารพบูชาสิ่งศักดิ์สิทธิ์ ชาวไทโย้ยจะทําเครื่องมือเครื่องใช้ในการทํานาเองน้อย ถึงแม้จะทําได้ แต่ส่วนใหญ่จะซื้อจากตลาด เพราะสะดวก ในอนาคตรุ่นหลังอาจทําอุปกรณ์ทํานาไม่เป็น อันอาจจะทําให้ไม่มีการสืบทอดฝีมือต่อกันไปในภายหลังก็ได้เครื่องจักสานก็เป็นงานฝีมือที่ทํากันโดยทั่วไป เพื่อเอาไว้ใช้ในครอบครัว ถ้าทําได้มากอาจแบ่งขายเพื่อให้เพื่อนบ้านหรือหมู่บ้านใกล้เคียงเป็นรายได้เสริม ฝีมือการจักสานมักจะได้รับการถ่ายทอดจากปูุ ย่า ตา ยายหรือเพื่อนบ้าน อย่างไรก็ตามถึงแม้จะสามารถทําเองได้ แต่ชาวบ้านนิยมซื้อคนอื่นที่นําไปขาย สําหรับกลุ่มที่ผลิตเองมีน้อย
ปัจจุบันมีการท่องเที่ยวโดยชุมชน ที่เป็นการบูรณาการภูมิปัญญาถิ่น ความรู้ด้านการเกษตร วิถีชีวิตชาวไทโย้ยไว้ด้วยกัน เพิ่มสีสันด้านวัฒนธรรม ทั้งดนตรี อาหารกิจกรรมทำนา จักสาน ย้อมคราม ยกสะดุ้ง ฯลฯ เกิดเป็นรูปแบบการท่องเที่ยวที่สร้างสรรค์ขึ้นโดยคนในชุมชน เปิดประตูต้อนรับนักท่องเที่ยวให้เข้ามาสัมผัสเสน่ห์ของหมู่บ้านเล็กๆ ที่แสนน่าอยู่แห่งนี้ โดยมีจุดเริ่มต้นอยู่ที่ลานวัฒนธรรมไทโย้ยที่ปัจจุบันมีบ้านโบราณ ไทโย้ยอนุรักษ์ไว้ให้ได้ศึกษาภูมิปัญญาของบรรพบุรุษรวมถึงที่วิสาหกิจชุมชนไทโย้ยศูนย์รวมผลิตภัณฑ์ชุมชน ที่หลากหลายของชาวไทโย้ย ดังนี้
1. ชาไทโย้ย (ชาใบข้าว) ชาใบข้าว ชาที่ได้จากยอดข้าวระยะ 14 วัน ปลูกด้วยวิถีอินทรีย์ จุดเริ่มต้นเป็นชาข้าวหอมมะลิ 105 ปัจจุบันมีการพัฒนาสูตรใช้ข้าวเหนียวพันธุ์ไก่น้อย(ข้าว GI จากสปป.ลาว) และข้าวสรรพสีที่มีกลิ่นหอมเฉพาะตัว โดยจะคั่วใบข้าวสดที่เก็บเกี่ยวก่อนตะวันขึ้นหรือหลังตะวันตกดิน ด้วยเตาถ่านไฟอ่อนนวดมือไปเรื่อยๆ จนแห้งสนิท ใช้เวลาประมาณ 2-3 ชั่วโมง ได้ชาใบข้าวที่อุดมด้วยคุณประโยชน์ มีสารต้านอนุมูลอิสระ กาบา และคลอโรฟิลด์ ช่วยปรับสมดุลลำไส้และกระเพาะ ทั้งยังช่วยส่งเสริมคุณค่าแก่เกษตรกรไทย โดยอนาคตจะมีการต่อยอดสู่ไอศกรีมชาใบข้าวอีกด้วย
2. ข้าวกล้อง (ข้าวก่ำลืมผัว) ข้าวกล้อง ข้าวก่ำลืมผัว และข้าวไรซ์เบอร์รี่ภูมิปัญญาการปลูกข้าวที่บ้านอุ่มเหม้า มีทั้งการทำนาปี นาปรัง และการทำนาแบบเปียกสลับแห้ง ขึ้นอยู่กับฤดูกาลในปีนั้นๆ ถ้าเป็นข้าวก่ำลืมผัว ซึ่งเป็นข้าวเหนียวดำอินทรีย์ที่ขึ้นชื่อของชุมชนจะทำได้เพียงปีละ 1 ครั้ง โดยแม่พิสมัย อ่อนสุระทุมเป็นคนแรกที่เริ่มต้นการปลูกข้าวก่ำลืมผัวที่บ้านอุ่มเหม้าด้วยกรรมวิธีตั้งเดิม และเก็บเกี่ยวผลผลิตในช่วงเดือนพฤศจิกายน ในการสีข้าวจะไม่ขัดขาว จึงยังมีจมูกข้าวที่อุดมด้วยคุณค่าทางโภชนาการสูง ทั้งวิตามินอี วิตามินบี โอเมกา 3, 6, 9 และสารต้านอนุมูลอิสระ มาแล้วต้องไม่พลาดลิ้มลอง
3. น้ำภูมิปัญญา น้ำภูมิปัญญาข้าวขาวและข้าวดำ เป็นเครื่องดื่มที่สืบทอดกรรมวิธีการทำมาจากปู่ย่าตายายน้ำภูมิปัญญารสกลมกล่อมนี้ ได้จากการหมักข้าวเหนียวขาว หรือข้าวเหนียวดำ ประมาณ 7-10 วัน ด้วยก้อนหัวเชื้อ 35 -40 ก้อนต่อน้ำ 10 ลิตร กรองน้ำ 2 รอบเพื่อให้ตกตะกอน จะได้เครื่องดื่มที่มีความใส ส่วนถ้าใครชอบรสหวานหน่อย สามารถนำไปแช่เย็น แล้วเติมน้ำเชื่อมได้ ดื่มในอุณหภูมิเย็นๆ จะยิ่งชื่นใจ แต่ถ้าใครต้องการทดลองผลิตเครื่องดื่มภูมิปัญญาเองแม่ๆ ก็ยินดีถ่ายทอดอย่างไม่หวงสูตร
4. ก้อนหัวเชื้อน้ำภูมิปัญญา ก้อนหัวเชื้อน้ำภูมิปัญญา เป็นกรรมวิธีผลิตหัวเชื้อเครื่องดื่มที่เป็น อัตลักษณ์ของบ้านอุ่มเหม้า โดยใช้แป้งข้าวเหนียว ผสมสมุนไพรนานาชนิด ได้แก่ พริกไทยดำ ดีปลี ชะเอมเทศ รากประสงค์ และดีน้ำตาล เพื่อเป็นอาหารจุลินทรีย์ เมื่อผสมแป้งเรียบร้อยแล้วจะทำการปั้นเป็นก้อนตากประมาณ 2 แดด ก็สามารถเตรียมนำไปเป็นหัวเชื้อตั้งต้นของการผลิตเครื่องดื่มภูมิปัญญาที่เป็นสูตรเฉพาะหนึ่งเดียวของบ้านอุ่มเหม้า ข้อสำคัญสามารถผลิตได้ตลอดทั้งปี
5. ทอผ้ามัดหมี่ย้อมคราม ผ้ามัดหมี่ย้อมคราม ผ้ามัดหมี่ย้อมสีธรรมชาติและผ้ามัดย้อม ซึ่งเป็น ภูมิปัญญาที่สืบต่อมาโดยแม่ๆ ในชุมชนที่ปลูกฝ้าย เลี้ยงไหม ย้อมครามทอผ้าใส่เองมาแต่โบราณ โดยลายที่เป็น อัตลักษณ์ชุมชนคือลายมัดหมี่แบบต่างๆ โดยเฉพาะลายหมี่ลาด และหมี่ลาดประยุกต์ ที่ได้ชื่อว่าเป็นลายปราบเซียน เพราะทอยากแต่มีความงดงามแปลกตา สาวไทโย้ยทุกคนจะต้องฝึกทอให้ได้
6. แปรรูปผ้า ผ้าซิ่น เสื้อผ้า กระเป้า กางเกง หมวก ฯลฯ การแปรรูปผ้าทอของบ้านอุ่มเหม้า นับเป็นการต่อยอดผลิตภัณฑ์จากผ้าของชุมชนให้มีความหลากหลายเกิดเป็นสินค้าและของที่ระลึกที่มีความสวยงามเฉพาะตัว น่าซื้อหาด้วยรูปแบบที่สร้างสรรค์ให้มีความร่วมสมัย ไม่ซ้ำใคร บางรูปแบบสามารถเรียนรู้การทำได้ภายใน 1 ชั่วโมง
7. ของที่ระลึก เครื่องประดับจากเศษผ้าคราม และผ้าย้อมสีธรรมชาติที่เหลือจากการนำไปแปรรูปแล้ว แปลงโฉมเป็นดอกแก้ว ประดิษฐ์เป็นสร้อยคอ ต่างหูเข็มกลัด พวงกุญแจ และยางรัดผม ที่มีลวดลายผ้าทอมือที่เป็นเอกลักษณ์ของบ้านอุ่มเหม้า ซึ่งชุมชนจะใช้เวลาว่างจากงานหลัก มารวมตัวกันสร้างสินค้าของที่ระลึกจากชุมชน
8. สาวโย้ยแก้มแดง (มะเขือเทศเชื่อม) มะเขือเทศเชื่อมหลากหลายสายพันธุ์ อาทิ พันธุ์ตองสอง พันธุ์อิหล่า ซึ่งเป็นวงศ์เดียวกับมะเขือเทศลูกท้อ ให้ผลผลิตขนาดใหญ่ เนื้อเยอะ เมล็ดน้อยแต่เดิมชุมชนปลูกมะเชื่อเทศส่งให้โรงงานผลิตซอสมะเขือเทศโดยตรง เมื่อมีปริมาณผลผลิตสูงทางกลุ่มวิสาหกิจชุมชนไทโย้ยโดยนางนัทธมน ไชยวรรณนำมาแปรรูปเพิ่มมูลค่า ด้วยการนำมะเขือเทศมาเชื่อมผ่านกระบวนการอบแห้งด้วยพลังงานแสงอาทิตย์ได้มะเขือเทศเชื่อมรสชาติหวานน้อย และได้เนื้อสัมผัสจากมะเขือเทศเต็มๆ คำ
9. จักสาน ตะกร้าสานจากไม้ไผ่ และเครื่องจักสานทั่วไป เช่น กระดัง ตะกร้า หวดนึ่งข้าว เกิดจากภูมิปัญญาการจักสานอุปกรณ์หาอยู่หากินของชุมชนแต่โบราณสู่งานหัตถกรรมจักสานบ้านอุ่มเหม้าที่มีคุณค่าเพราะทำโดยผู้เฒ่าผู้แก่ โดยใช้ไผ่บ้านที่ตัดในเดือนสาม เป็นระยะที่ไผ่แก่เต็มที่และไม่เกิดมอด มีจุดเด่นผลิตภัณฑ์คือการนำเปลือกไผ่มาสานเป็นโครงรูปทรงต่างๆ ผสมกับเส้นตอกและใช้ลายขัดสองในการสาน รวมถึงการใช้ไผ่ผสมหวายเทียมเพื่อเพิ่มความทนทาน
10. อาหารพื้นถิ่น พาแลงอาหารพื้นถิ่นตำรับไทโย้ย ที่หาได้จากแหล่งธรรมชาติและการเกษตรในชุมชนมีเมนูเด็ดอย่างแกงขาอ่อนสาวโย้ย หรือแกงหยวกกล้วยใส่ไก่ต้องใช้หยวกสดเท่านั้น มีทั้งสูตรใส่และไม่ใส่น้ำปลาร้า และบ่าวโย้ยอาบแดด หรืออั่วกบสูตรเฉพาะของบ้านอุ่มเหม้า อุดมด้วยเครื่องสมุนไพร ขมิ้น หอมแดง ตะไคร้ ข่า พริกสด ที่สับรวมกับเนื้อกบ แล้วนำไปยัดไส้ตัวกบที่ได้จากท้องไร่ท้องนา การรับประทานอาหารที่บ้านอุ่มเหม้าจึงเป็นมากกว่าการรับประทาน แต่คือการได้ซึมชับวิถีชีวิตและเรื่องราวของชุมชนแห่งนี้
11. โฮมสเตย์ บ้านพักโฮมสเตย์สำหรับนักท่องเที่ยวที่ต้องการพักค้างคืน โดยมีห้องพักให้เลือก ทั้งแบบห้องพัดลม และห้องแอร์ มีทั้งแบบห้องนอนรวม และห้องแบบพักได้ 2-3 คน บรรยากาศโดยรอบเย็นสบายร่มรื่น เพราะอยู่ติดคูน้ำ มีบริการมุมกาแฟในสนนราคาที่รวมกิจกรรมตักบาตรเช้าแล้วแต่ถ้าอยากรับประทานอาหารด้วย สามารถแจ้งทางเจ้าของบ้านได้
การพัฒนาชุมชนต้องเผชิญกับความท้าทาย เช่น การปรับตัวให้เข้ากับความเปลี่ยนแปลงของสังคมและเศรษฐกิจ การรักษาคุณภาพและมาตรฐานของผลิตภัณฑ์ และการดึงดูดนักท่องเที่ยวให้มาเยือนอย่างต่อเนื่อง การสนับสนุนจากหน่วยงานภาครัฐและเอกชน รวมถึงการมีส่วนร่วมของคนในชุมชน จะเป็นปัจจัยสำคัญในการเสริมสร้างความเข้มแข็งและความยั่งยืนของชุมชนบ้านอุ่มเหม้าต่อไป งานฝีมือและหัตถกรรมที่เป็นเอกลักษณ์ งานฝีมือที่โดดเด่นของชุมชนนี้เหล่านี้ไม่เพียงแสดงถึงความสามารถและความคิดสร้างสรรค์ของชาวบ้านอุ่มเหม้า แต่ยังเป็นส่วนสำคัญในการส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมและสร้างรายได้ให้กับชุมชน
รายงานโดย น.ส.ชลาลัย เหง้าน้อย วันที่รายงาน 01/04/2568 [18841] |
10000 | 10 |