ตลาดแห่งการเรียนรู้ธุรกิจชุมชนเพื่อสังคมบ้านไตรรัตน์
บ้านไตรรัตน์ หมู่ ๙
ผล :
ผล :
ผล :
รายงานความก้าวหน้า
ไตรมาส | ผลการดำเนินงาน | งบประมาณที่ใช้ | ผู้รับบริการ |
---|---|---|---|
3 [5492] |
วันที่ 2 ก.พ. 2568 ดำเนินการ โทรติดต่อพูดคุย เตรียมการ นัดช่วงเวลาจัดกิจกรรม กับกลุ่มผู้นำชุมชน ผู้ใหญ่บ้านและผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน หมู่ 9 บ้านไตรรัตน์ ที่เข้าร่วมโครงการฯ ในการจัดกิจกรรม พร้อมกับรายงานผลการดำเนินงาน โครงการฯ ปีที่ 2 ต่อคณะกรรมการประเมิน ติดตามโครงการฯ และความต้องการที่จะทำใน โครงการฯ ปีที่ 3
วันที่ 1-28 พ.ค. 2568 ดำเนินการ โทร ติดต่อ ประสานงาน พูดคุยเตรียมการ จัดหาวิทยากรบรรยาย นัดช่วงเวลาจัดกิจกรรม และสาธิต พร้อมวัสดุอุปกรณ์ ในการจัดกิจกรรมที่ 1-5 โดย ประสานหน่วยงาน สำนักงานพัฒนาชุมชน จังหวัดกาญจนบุรี คุณสิริพร สอนใจ และ ผู้ใหญ่ บำรุง จันทะเอ เพื่อพูดคุย ถึงบริบทของชุมชน ความต้องการของชุมชน และความเหมาะสมและรูปแบบการถ่ายทอดเทคโนโลยีให้กลุ่มชุมชนที่เข้าร่วมโครงการ และติดตามการประสานเชื่อมโยงวิทยากรในจังหวัดกาญจนบุรีที่มีความชำนาญ ในการถ่ายทอดเทคโนโลยีท่านอื่นๆ เพิ่มเติม
หมายเหตุ: ทุกกิจกรรม มุ่งเน้น 1. สร้างความเชื่อมโยงความร่วมมือระหว่างชุมชน โรงเรียน วัด และมหาวิทยาลัยอื่นๆในพื้นที่ 2. จัดออกแบบกระบวนการเพื่อกระตุ้นให้เกิดการมีส่วนร่วมกับชุมชน 3. เพิ่มช่องทางการให้คำแนะนำ ติดตามการขับเคลื่อนของชุมชน
สถานที่มหาวิทยาลัยมหิดล วิทยาเขตกาญจนบุรี ค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นจากการดำเนินกิจกรรม 7,000 บาท จำนวนผู้เข้าร่วม 12 คน
ความก้าวหน้าโครงการ 1. สรุปจำนวนผู้รับบริการ ผู้เข้าร่วมโครงการ ที่ไม่ซ้ำเป็นตัวเลข 12 คน 2. สรุปจำนวนผู้รับบริการที่มีการติดตามผล (เป็นตัวเลข) 12 คน 3. จำนวนผู้รับบริการที่นำไปใช้ประโยชน์ (เป็นตัวเลข) 12 คน 4. สรุปร้อยละความพึงพอใจผู้รับบริการ ความพึงพอใจ ร้อยละ 84% 5. ผู้ร่วมกิจกรรมและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียคือใครบ้าง - กลุ่มผู้นำชุมชน ผู้ใหญ่บ้านและผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน หมู่ 9 บ้านไตรรัตน์ ที่เข้าร่วมโครงการฯ จำนวน 3คน - เจ้าหน้าที่ สำนักงานพัฒนาชุมชน จังหวัดกาญจนบุรี คุณสิริพร สอนใจ ผู้ประสานงานเชื่อมโยงเครือข่าย วิทยากรผู้เชี่ยวชาญถ่ายทอดเทคโนโลยีและผู้นำการผลิตและการตลาดที่เข้มแข็งในพื้นที่ในระดับจังหวัดกาญจนบุรี พร้อมวิทยากรผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 3 ท่าน - ผู้ใหญ่ บำรุง จันทะเอ วิทยากรผู้เชี่ยวชาญถ่ายทอดเทคโนโลยีและผู้นำการผลิตและการตลาดที่เข้มแข็งในพื้นที่ระดับอำเภอ จำนวน 1 ท่าน - ผู้ดำเนินโครงการฯ จำนวน 1ท่าน - คณะกรรมการประเมิน ติดตามโครงการฯ จำนวน 4 ท่าน ผลผลิตตามข้อเสนอโครงการ 1. กำหนดการดำเนินงาน ตามแผนงานจัดกิจกรรม และแผนการเงินที่เตรียมไว้ ตามระเบียบพัสดุ การเงิน และการขออนุมัติหลักการตามระเบียบ เพื่อให้การดำเนินงานเป็นไปตามแผนที่วางไว้ 2. หน่วยงานร่วมดำเนินการในพื้นที่ระดับจังหวัด จำนวน 1 หน่วยงาน 3. วิทยากรเชี่ยวชาญในพื้นที่ ทั้งระดับอำเภอ และ ระดับจังหวัด จำนวน 3 คน 4. ช่องทางการหารายได้เสริมใหม่ๆ ไม่น้อยกว่า 3 แนวทาง ได้แก่ การทำผลิตภัณฑ์ลูกประคบจากสมุนไพร การทอ การจักสาน การทำยาดม การทำดอกไม้จันทน์ เป็นต้น 5. เพิ่มช่องทางการสร้างรายได้ และเครือข่ายแหล่งรับซื้อผลผลิตในพื้นที่ทั้งในระดับอำเภอและระดับจังหวัด 6. เกิดการรวมกลุ่มลงทุน ร่วมกันทำ ร่วมกันขาย ร่วมกันเรียนรู้และพัฒนา และเครือข่ายใหม่ในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ผลลัพธ์ตามข้อเสนอโครงการ 1. ได้ปฏิบัติจริง และมีตัวอย่างให้ดู ในการทำผลิตภัณฑ์ อย่างน้อย 3 ชนิด 2. การใช้ทรัพยากรในพื้นที่ในการสร้างรายได้เสริม 3. ได้วิทยากรตัวคูณของกลุ่มชุมชนบ้านไตรรัตน์ อย่างน้อย 3 คน แผนการดำเนินงานในไตรมาสต่อไป จัดกิจกรรม ตามกำหนดการที่ได้วางแผนไว้
สรุปตัวชี้วัด ผลผลิตและผลลัพธ์ที่ได้จากการดำเนินโครงการ 1. สรุปจำนวนผู้รับบริการ ผู้เข้าร่วมโครงการที่ไม่ซ้ำกันเป็นตัวเลข - จำนวน 12 ท่าน ส่วนท่านอื่นๆ อยู่ระหว่างการดำเนินการ 2. สรุปจำนวนผู้รับบริการที่มีการติดตามผล เป็นตัวเลข - จำนวน 12 ท่าน ส่วนท่านอื่นๆ อยู่ระหว่างการดำเนินการ 3. จำนวนผู้บริการที่นำไปประโยชน์ เป็นตัวเลข - จำนวน 3 ท่าน ส่วนท่านอื่นๆ อยู่ระหว่างการดำเนินการ 4. สรุปร้อยละความพึงพอใจผู้บริการ - ความพึงพอใจ ร้อยละ 88% ยังอยู่ระหว่างการดำเนินการ 5. มูลค่าทางเศรษฐกิจ สรุปรายได้ที่เพิ่มขึ้น หรือค่าใช้จ่ายที่ลดลง - อยู่ระหว่างการดำเนินการ 6. อธิบายผลผลิตที่ได้จากการดำเนินโครงการ - เพิ่มหน่วยงานร่วมดำเนินการในพื้นที่ระดับจังหวัด จำนวน 1 หน่วยงาน - เพิ่มเครือข่ายวิทยากรเชี่ยวชาญในพื้นที่ ทั้งระดับอำเภอ และ ระดับจังหวัด จำนวน 3 คน - เพิ่มช่องทางการหารายได้เสริมใหม่ๆ ไม่น้อยกว่า 3 แนวทาง ได้แก่ การทำผลิตภัณฑ์ลูกประคบจากสมุนไพร การทอ การจักสาน การทำยาดม การทำดอกไม้จันทน์ เป็นต้น - เพิ่มช่องทางการสร้างรายได้ให้ครอบคลุมกลุ่มผู้สูงอายุในชุมชน และเพิ่มเครือข่ายแหล่งรับซื้อผลผลิตในพื้นที่ทั้งในระดับอำเภอและระดับจังหวัด - เกิดการรวมกลุ่ม ร่วมกันทำ ร่วมกันขาย ร่วมกันเรียนรู้และพัฒนา และเครือข่ายใหม่ในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ 7. อธิบายผลลัพธ์ที่ได้จากผลผลิตที่เกิดขึ้น - ได้ปฏิบัติจริง และมีตัวอย่างให้ดู ในการทำผลิตภัณฑ์ อย่างน้อย 3 ชนิด - การใช้ทรัพยากรในพื้นที่ในการสร้างรายได้เสริมใหม่ๆ - ได้วิทยากรตัวคูณของกลุ่มชุมชนบ้านไตรรัตน์ อย่างน้อย 3 คน 8. อธิบายผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการดำเนินโครงการ ทั้งด้านเศรฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม การจ้างงาน ด้านเศรษฐกิจ - เพิ่มช่องทางการหารายได้เสริมใหม่ๆ ไม่น้อยกว่า 3 แนวทาง ได้แก่ การทำผลิตภัณฑ์ลูกประคบจากสมุนไพร การทอ การจักสาน การทำยาดม การทำดอกไม้จันทน์ เป็นต้น - เพิ่มความหลากหลายของสินค้าและบริการ ในการดำเนินงานทั้งที่มีลานวิถีชุมชนคนไทรโยค และการใช้เวลาว่างให้เกิดรายได้ ด้านสังคม - กลุ่มผู้สูงอายุ มีความภาคภูมิใจในการใช้เวลาว่างให้เกิดรายได้เสริมให้ครอบครัว - เพิ่มกิจกรรมยามว่าง ร่วมกันของครอบครัวทุกเพศ ทุกวัย ในการดำเนินงานทั้งที่มีลานวิถีชุมชนคนไทรโยค และการใช้เวลาว่างในครอบครัวและในชุมชนร่วมกัน ด้านสิ่งแวดล้อม - การนำทรัพยากรในพื้นที่มาสร้างรายได้เพิ่ม เช่น พืชสมุนไพร เศษวัสดุเหลือใช้ เป็นต้น การจ้างงาน - การจ้างงานผู้สูงอายุ คนในครอบครัวทั้งวัยแรงงาน และวัยเด็ก เพื่อใช้เวลาว่างให้เกิดรายได้ทั้งที่มีลานวิถีชุมชนคนไทรโยค และการใช้เวลาว่างในครอบครัวและในชุมชนร่วมกัน
รายงานโดย นายธนากร ยุทธพลนาวี วันที่รายงาน 01/07/2568 [5492] |
7000 | 12 |