ยกระดับมาตรฐานการนวดลังกาสุกะตามวิถีมุสลิม หมู่ที่ 3 บ้านบือราเป๊ะ


บ้านบือราเป๊ะ หมู่ที่ 3 ตำบลโคกเคียน อำเภอเมือง จังหวัดนราธิวาส

รายงานความก้าวหน้า

ไตรมาส ผลการดำเนินงาน งบประมาณที่ใช้ ผู้รับบริการ
1
[5403]

เมื่อช่วงวันที่ 1 - 4 พฤศจิกายน 2567 ทางคณะทำงานภายใต้โครงการยกระดับมาตรฐานการนวดลังกาสุกะตามวิถีมุสลิม หมู่ที่ 3 บ้านบือราเป๊ะ พร้อมตัวแทน และผู้เชี่ยวชาญภายใต้โครงการ ฯ ได้ลงพื้นที่ผยแพร่ให้ความรู้เรื่องนวดนำ้มันลังกาสุกะและผลิตนำ้มันลังกาสุกะ ที่บ้านอัยเยอร์เวง อ.เบตง จ.ยะลา   โดยมีผู้เข้าร่วมอบรม จำนวน 22 คน 

 


รายงานโดย นายวิรัตน์ หน่อแดง วันที่รายงาน 03/01/2568 [5403]
5600 22
1
[5404]

ผู้เข้าอบรมนวดรุ่นที่ 1 ชื่อคุณชื่อนางฟารีฮาน นิ ภายใต้โครงการยกระดับมาตรฐานการนวดลังกาสุกะตามวิถีมุสลิม หมู่ที่ 3 บ้านบือราเป๊ะ  ได้รับการคัดเลือกไป ณ นครเมกกะ หรือ มักกะฮ์ ประเทศซาอุดีอาราเบีย เป็นเวลา 1 ปี    โดยได้รับการฝึกเพิ่มเติมเรื่องการนวดเท้า  รายได้เดือนละ 30,000 บาท ค่าที่พักฟรี +ค่าอาหาร 3 มื้อ + ค่าเดินทาง 



รายงานโดย นายวิรัตน์ หน่อแดง วันที่รายงาน 03/01/2568 [5404]
0 0
2
[5412]

อาจารย์อุไร  ยอดแก้ว  อาจารย์ประจำ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทาลัยนราธิวาสราชนครินทร์  ได้รับการพิจารณาอนุมัติสนับสนุนงบประมาณ ในการสนับสนุนการจัดทำคู่มือโครงการยกระดับมาตรฐานการนวดน้ำมันลังกาสุกะตามวิถีมุสลิม หมู่ที่ 3 บ้านบือราเป๊ะ งบประมาณจำนวน 50,000 บาท จากองค์การบริหารส่วนตำบลโคกเคียน อำเภอเมือง จังหวัดนราธิวาส ในการเผยแพร่องค์ความรู้ และเทคโนโลยีกระบวนการนวดน้ำมันลังกาสุกะตามวิถีมุสลิม ให้แก่ผู้สนใจ 



รายงานโดย นายวิรัตน์ หน่อแดง วันที่รายงาน 04/03/2568 [5412]
0 100
2
[5420]

เมื่อวันที่ 4 มีนาคม 2568 ทางเรือนจำจังหวัดนราธิวาสจัดโครงการ “ฝึกวิชาชีพผู้ต้องขังระยะสั้น” เพื่อพัฒนาทักษะอาชีพด้านการผลิตน้ำมันนวดสมุนไพรและน้ำมันหอมระเหยสมุนไพร โดยมี นายสุรินทร์ จันทร์เทพ ผู้บัญชาการเรือนจำจังหวัดนราธิวาส เป็นประธานในพิธีเปิดโครงการ ซึ่งจัดขึ้นระหว่างวันที่ 4-6 มีนาคม 2568   โดยกิจกรรมดังกล่าวได้เชิญ อาจารย์อุไร ยอดแก้ว อาจารย์จากคณะพยาบาลศาสตร์ ผู้รับผิดชอบโครงการยกระดับมาตรฐานการนวดลังกาสุกะตามวิถีมุสลิม หมู่ที่ 3 บ้านบือราเป๊ะ เพื่อนำผู้เชี่ยวชาญไปสาธิตและถ่ายทอดองค์ความรู้ แก่ผู้ต้องขัง 

 

มุ่งเน้นการเสริมสร้างทักษะอาชีพให้แก่ผู้ต้องขังระยะสั้น เพื่อเตรียมความพร้อมในการประกอบอาชีพหลังพ้นโทษ โดยผลิตภัณฑ์ที่ผลิตขึ้นจากโครงการจะถูกนำไปจำหน่ายให้แก่บุคคลภายนอก เพื่อให้ผู้ให้บริการดูแลผู้ป่วยสูงอายุสามารถเข้าถึงผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพและปลอดภัยจากสมุนไพรไทย

 
กิจกรรมดังกล่าวสะท้อนถึงความร่วมมือระหว่างหน่วยงานภาครัฐ สถาบันการศึกษา และแพลตฟอร์มดิจิทัล ในการส่งเสริมการมีอาชีพและสร้างรายได้ให้แก่ผู้ต้องขังหลังพ้นโทษ อันเป็นการช่วยลดอัตราการกระทำผิดซ้ำ และสนับสนุนการคืนคนดีสู่สังคมอย่างยั่งยืน


 



รายงานโดย นายวิรัตน์ หน่อแดง วันที่รายงาน 26/03/2568 [5420]
25000 100