หมู่บ้านขมิ้นพรีเมียม ตำบลย่านยาว


กลุ่มเกษตรกรตำบลย่านยาว อำเภอคีรีรัฐนิคม จังหวัดสุราษฏร์ธานี

รายงานความก้าวหน้า

ไตรมาส ผลการดำเนินงาน งบประมาณที่ใช้ ผู้รับบริการ
2
[5171]

ได้ลงพื้นที่ชี้แจงแนวทางการดำเนินงานโครงการ ในเบื้องต้น  เมื่อวันที่ 28 มีนาคม 2567 เนื่องจากเพิ่งได้รับการจัดสรรงบประมาณ ทั้งนี้ได้มีการวางแผนการลงพื้นที่ไปถ่ายทอดเทคโนโลยีตามแผนงานของโคร



รายงานโดย นางนิชมลกานต์  ขุนเพชร วันที่รายงาน 05/04/2567 [5171]
3500 50
3
[5188]
  • พื้นที่ดำเนินการ

ตำบลย่านยาว อำเภอคีรีรัฐนิคม จังหวัดสุราษฎร์ธานี

  • ความก้าวหน้าในการดำเนินงาน

ตำบลย่านยาวเป็นตำบลหนึ่งของอำเภอคีรีรัฐนิคม ลักษณะภูมิประเทศของตำบล เป็นที่ราบลุ่ม ลาดเอียงจากทิศใต้ไปทิศเหนือ ลาดลงสู่แม่น้ำพุมดวง ซึ่งเป็นสายหลักของตำบล มีเทือกเขาหน้าราหูและเทือกเขาแดงราม บริเวณตอนกลางของตำบล มีเป็นอยู่ระหว่างความเป็นเมืองและความเป็นชนบท ลักษณะทางกายภาพของชุมชนเป็นพื้นที่ราบ สลับเขา มีแหล่งน้ำทางการเกษตรอย่างอุดมสมบูรณ์ จึงประกอบอาชีพหลักคือ การเกษตร เช่น ทำสวนยาง และปาล์ม รวมถึงการปลูกขมิ้นชันเป็นพืชหลัก และพืชแซม จากนั้นจะขายขมิ้นให้กับพ่อค้าคนกลาง ในราคาต่ำ เพื่อนำไปใช้เป็นวัตถุดิบผลิตเครื่องแกง แต่จากข้อมูลที่ได้จากการศึกษาวิจัยคุณภาพขมิ้นชันในพื้นที่ตำบลย่านยาว อำเภอคีรีรัฐนิคม จังหวัดสุราษฎร์ธานี ของคณะผู้วิจัย พบว่าขมิ้นที่ปลูกในพื้นที่ดังกล่าวมีปริมาณสารออกฤทธิ์ทางยากลุ่มเคอร์คูมินอยด์ผ่านมาตรฐานข้อกำหนด เพื่อนำมาใช้เป็นวัตถุดิบผลิตยาสมุนไพร แต่ทางชุมชนยังไม่มีกระบวนการผลิตที่เหมาะสมเพื่อนำมาใช้เป็นวัตถุดิบสมุนไพร ซึ่งปัญหาสำคัญของการยกระดับสินค้าเกษตรไปสู่สินค้าเกษตรคุณภาพสูงไม่ได้ คือเกษตรกรที่อยู่ต้นน้ำไม่สามารถผลิตสินค้าเกษตรให้มีคุณภาพตรงตามปลายน้ำต้องการได้ เนื่องจากขาดเทคโนโลยีและองค์ความรู้ที่จำเป็นต่อปลูกสมุนไพรดังนั้นโครงการนี้จึงได้นำความรู้ และประสบการณ์ด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม เพื่อช่วยแก้ปัญหาให้กับเกษตรกรในการยกระดับการปลูกขมิ้นชันให้ตรงตามมาตรฐานของขมิ้นเกรดยา กล่าวคือเป็นขมิ้นชันที่ผ่านข้อกำหนดต่าง ๆ ของการเป็นวัตถุดิบสมุนไพร โดยอาศัยกิจกรรมในปีแรกของโครงการ ดังนี้ กิจการรมการประชุมร่วมกับกลุ่มเพื่อชี้แจงทางการดำเนินงาน การถ่ายทอดความรู้มาตรฐานวัตถุดิบสมุนไพร กิจกรรมการถ่ายทอดองค์ความรู้ด้านสายพันธุ์ขมิ้น การปลูก และการดูแลรักษา โรค และการกำจัดโรค และกิจกรรมการถ่ายทอดองค์ความรู้กระบวนการ การพัฒนาคุณภาพแปลงปลูกให้ได้มาตรฐานเกษตรอินทรีย์และมาตรฐานการปฏิบัติการเกษตรที่ดี (GAP)เพื่อช่วยให้เกษตรกรเปลี่ยนการปลูกขมิ้นแบบทั่วไปมาเป็นการปลูกขมิ้นเกรดยาคุณภาพสูง ทำให้เกษตรกรมีช่องทางในการขายขมิ้นให้กับกลุ่มผู้ซื้อกว้างขึ้น และมีรายได้เพิ่มขึ้นอีกด้วย ซึ่งอุปกรณ์นี้มีฟังก์ชันที่ง่ายต่อการใช้งาน เกษตรกรจึงสามารถใช้เองได้ ราคาถูกกว่า ถึง 40เท่า ที่สำคัญอุปกรณ์ชนิดอื่นจะไม่มีฟังก์ชันจำเพาะสำหรับงานขมิ้น เพราะตัวประมวลผลของอุปกรณ์นี้ได้ใส่ข้อมูลวิจัยไว้ด้วย ทำให้อ้างอิงค่าการตรวจวัดจากเครื่องกับตลาดการซื้อขายได้ทันที โดยไม่ต้องพึ่งนักวิชาการจากข้อมูลวิจัยพบว่าขมิ้นมีหลายสายพันธุ์ แต่ละสายพันธุ์ให้ปริมาณสารสำคัญที่ต่างกัน จากการเก็บข้อมูลการปลูกขมิ้นทั่วประเทศร่วมกับศูนย์วิจัยพืชสวนตรัง พบว่าเกษตรกรคู่แข่งไม่มีการคัดเลือกสายพันธุ์ขมิ้นก่อนปลูก และที่ปลูกส่วนใหญ่เป็นขมิ้นสายพันธุ์ที่ให้สารสำคัญต่ำ จึงไม่น่าแปลกใจว่าทำไมจึงผลิตขมิ้นคุณภาพสูงไม่ได้ และถึงแม้ว่าจะเลือกสายพันธุ์ขมิ้นได้ถูกต้อง แต่หากเก็บเกี่ยวผลผลิตผิดช่วงเวลาก็จะส่งผลโดยตรงต่อปริมาณสารสำคัญสะสมในขมิ้น ข้อมูลจากอุปกรณ์นี้ ระบุว่าถ้าเก็บเกี่ยวขมิ้นที่อายุ 1ปี 8เดือน ขมิ้นจะมีคุณภาพสูงขึ้นถึง 63.6% (11.52% w/w; ผลผลิตต่อหลุมเท่ากับ 2160.26 g/หลุม) เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเก็บเกี่ยวเดิมที่อายุ 11เดือน (7.04 % w/w; ผลผลิตต่อหลุมเท่ากับ 1262.01 g/หลุม) และการเปลี่ยนช่วงเวลาเก็บเกี่ยวใหม่จะลดค่าแรงในการปลูกรอบใหม่ได้อีกด้วย ได้มีการใช้อุปกรณ์นี้กับกลุ่มวิสาหกิจชุมชนคีรีรัฐนิคม เนื้อเพาะปลูก 100ไร่ (กำลังการผลิต 250ตัน/ปี)ซึ่งโครงการนี้จะใช้วิธีการบูรณาการความรู้ และประสบการณ์ด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม ของคณะผู้วิจัย ร่วมกับเกษตรกรในชุมชน สร้างความเข้มแข็งให้กับชุมชน โดยการสร้างนวัตกรชุมชน และชุมชนต้นแบบในการปลูกขมิ้นพรีเมียม ที่สามารถพึ่งพาตนเองได้ สร้างความความเข้มแข็งเพื่อสร้างรายได้ ลดความเหลื่อมล้ำ ซึ่งจะนำไปสู่การพัฒนาที่ยั่งยืนในระยะยาว โดยในช่วงต้นน้ำจะใช้องค์ความรู้เกี่ยวกับมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ สายพันธุ์ขมิ้น การปลูก การดูแลควบคุมโรค วัชพืช และศัตรูพืช และเทคโนโลยีอุปกรณ์การตรวจวัดปริมาณสารออกฤทธิ์กลุ่มเคอร์คูมินอยด์แบบพกพา ซึ่งเกษตรกรสามารถใช้ได้เองในแปลงปลูก เพื่อติดตามควบคุมปริมาณสารออกฤทธิ์ทางยา และระบุช่วงเวลาเก็บเกี่ยวที่เหมาะสมได้ในช่วงที่มีปริมาณสารเคอร์คูมินอยด์สูงที่สุด เพื่อควบคุมการผลิตขมิ้นชัน
พรีเมียมได้เอง

 

การผลิตขมิ้นชันพรีเมียม : เป็นไปตามข้อกำหนดของการเป็นวัตถุดิบสมุนไพร เพื่อยกระดับการปลูกขมิ้นของเกษตรกรตำบลย่าน โดยทีมนักวิจัยได้นำความรู้และประสบการณ์ด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม มาช่วยแก้ปัญหา โจทย์ของการการพัฒนาชุมชน เพื่อลดความเหลื่อมล้ำ พัฒนาพื้นที่เพื่อสร้างชุมชนวิทยาศาสตร์ ชุมชนแห่งการเรียนรู้ โดยคนในชุมชนมีหลักคิดเชิงวิทยาศาสตร์ มีทักษะการปลูกขมิ้นชันแบบพรีเมียม สามารถพึ่งพาตนเองได้ สร้างการเปลี่ยนแปลงในพื้นที่ และสร้างผู้นำการเปลี่ยนแปลง “เพิ่มขีดความสามารถของชุมชนในการบริหารจัดการตนเอง มีความสามารถในการบริหารห่วงโซ่คุณค่าเพื่อเศรษฐกิจชุมชน ตลอดจนมีการสร้างระบบข้อมูลและแพลตฟอร์มความรู้เพื่อการพัฒนาเศรษฐกิจฐานราก โดยมีเป้าหมายสุดท้าย (ultimate goal) คือ การสร้างโอกาสให้ชาวบ้าน สร้างความความเข้มแข็งเพื่อสร้างรายได้ ลดความเหลื่อมล้ำ ซึ่งจะนำไปสู่การพัฒนาที่ยั่งยืนในระยะยาวสู่การสร้าง “นวัตกรชุมชน” ต่อไป

โครงการหมู่บ้านขมิ้นพรีเมียมตำบลย่านยาว เพื่อผลิตขมิ้นพรีเมียม  กำลังดำเนินการไปอย่างมีประสิทธิภาพ โดยมุ่งเน้นไปที่การถ่ายทอดองค์ความรู้เกี่ยวกับกระบวนการผลิต การพัฒนาคุณภาพแปลงปลูกให้ได้มาตรฐานเกษตรอินทรีย์และมาตรฐานการปฏิบัติการเกษตรที่ดี (GAP) รวมไปถึงการปลูก การดูแลรักษา โรคและแมลงศัตรูพืช และสายพันธุ์ขมิ้นที่เหมาะสม เกษตรกรได้ความรู้เกี่ยวกับสายพันธุ์ขมิ้น มีทักษะในการปลูกขมิ้นพรีเมียม โดยการใช้อุปกรณ์ตรวจวัดปริมาณเคอร์คูมินอยด์แบบพกพา ตรวจวัดคุณภาพ และระบุช่วงเวลาเก็บเกี่ยว ทำให้ได้ขมิ้นพรีเมียม ที่สามารถใช้เป็นวัตถุดิบสมุนไพร หรือเพื่อการบริโภค และสามารถเพิ่มมูลค่าจากการแปรรูปเป็นขมิ้นสไลด์ ขมิ้นผง ผงทอดปลา และน้ำมันขมิ้น ที่มีมาตรฐานอินทรีย์และตอบโจทย์ความต้องการของตลาดมากขึ้นจากผลการดำเนินโครงการในรอบ 6 เดือนผลลัพธ์ที่ได้จากการดำเนินกิจกรรม เป็นดังนี้ เกษตรการสามารถคัดเลือกสายพันธุ์ปลูกที่มีประสิทธิภาพ ดำเนินการจัดการแปลงปลูกเพื่อให้เป็นไปตามมาตรฐานการปฏิบัติการเกษตรที่ดี (GAP)และเตรียมยื่นเอกสารเพื่อขอการรับรองมาตรฐานการปฏิบัติการเกษตรที่ดี ในช่วงเดือนกรกฎาคม พ.ศ.2567หลังจากนั้นจะมีการถ่ายทอดการใช้อุปกรณ์ตรวจวัดปริมาณเคอร์คูมินอยด์แบบพกพา เพื่อตรวจวัดคุณภาพ และระบุช่วงเวลาเก็บเกี่ยว ทำให้ได้ขมิ้นพรีเมียม โดยให้เกษตรกรเก็บผลผลิตจากแปลงตนเอง มาดำเนินการตรวจวัดปริมาณสารเคอร์คูมินอยด์ ณ แปลงปลูก ได้ด้วยตนเอง เพื่อให้เกษตรกรทราบคุณภาพของผลิตภัณฑ์ของตนเอง และสามารถติดตามตรวจวัดได้ตลอดระยะเวลาการปลูก เพื่อให้ได้ขมิ้นพรีเมียม ตรงตามความต้องการของตลาด โดยในโครงการนี้มีผู้ประกอบการสนใจจึงได้ขอเข้าร่วมกิจกรรม ร่วมกำหนดคุณภาพขมิ้นขัน และรับซื้อขมิ้นของเกษตรกร

      เกษตรการสามารถคัดเลือกสายพันธุ์ปลูกที่มีประสิทธิภาพ ดำเนินการจัดการแปลงปลูก การดูแลจัดการโรค

 

ภาพรวมการดำเนินกิจกรรมปีที่ 1 ของย่านยาวโมเดล

ที่

กิจกรรม

ผลการดำเนินงาน

1

กิจการรมการประชุมร่วมกับกลุ่มเพื่อชี้แจงทางการดำเนินงาน การถ่ายทอดความรู้มาตรฐานวัตถุดิบสมุนไพร

ได้กลุ่มแกนนำของเกษตรกร เพื่อช่วยผลักดันโครงการย่านยาวโมเดล ที่มีความเข้าใจห่วงโซ่การผลิตขมิ้นพรีเมียมทั้งระบบ และมีเป้าหมายร่วมกันกับโครงการ เป็นเกษตรกรต้นแบบ และร่วมถ่ายทอดให้กับเกษตรกรคนอื่น ๆ จำนวน 50 คน เข้าร่วมในกลุ่ม เพื่อผลิตขมิ้นพรีเมียม ที่ตรงตามมาตรฐานของตลาด

2

กิจกรรมการถ่ายทอดองค์ความรู้กระบวนการ การพัฒนาคุณภาพแปลงปลูกให้ได้มาตรฐานเกษตรอินทรีย์และมาตรฐานการปฏิบัติการเกษตรที่ดี (GAP)

เกษตรกรได้รับความรู้ในการ และแนวทางปฏิบัติ เพื่อพัฒนาแปลงปลูกให้มีมาตรฐานการปฏิบัติการเกษตรที่ดี (GAP)และเกษตรอินทรีย์ จากนั้นเกษตรกรเตรียมเอกสาร เพื่อยื่นขอรับมาตรฐาน จำนวน 5 แปลง จากนั้นเกษตกรที่มีความพร้อม เตรียมพร้อมการยื่นขอเกษตรอินทรีย์ (organic Thailand)

3

กิจกรรมการถ่ายทอดองค์ความรู้การปลูก และการดูแลรักษา โรค และการกำจัด

เกษตรกรได้ความรู้เกี่ยวกับสายพันธุ์ขมิ้น การเตรียมพื้นที่ปลูก การดูแล กำจัดโรคขมิ้นชัน ในพื้นที่ปลูก ทำให้เกษตรกรสามารถคัดเลือกสายพันธุ์ปลูกขมิ้นได้เหมาะสม และสามารถดูแล และจัดการโรคที่เกิดขึ้นกับขมิ้นได้

ปัญหา / อุปสรรค และแนวทางการแก้ไขปัญหา

ปัญหาที่ผู้ดำเนินผลงานโครงการพบ(ถ้ามี)

þการประสานงานกับชุมชน เกษตรกรมีเวลาว่างไม่ตรงกัน เนื่องจากมีงานหลักที่ต้องทำ จึงทำให้การนัดหมายจัดอบรมให้เกษตรกรทั้งหมด 50 คน มาอบรมพร้อมกันจึงเป็นเรื่องที่ยาก ดังนั้นทางโครงการจึงต้องแก้ปัญหาโดยการ จัดอบรมให้กลุ่มแกนนำเป็นหลัก จากนั้นจะมีการถ่ายทอดให้กับเกษตรกรคนอื่น ๆ

qการประสานงานกับบุคลากรของอุทยานวิทยาศาสตร์และนวัตกรรมสังคม

qอื่น ๆ (โปรดระบุ)                                                                                   

กรุณาให้รายละเอียดการดำเนินโครงการเพิ่มเติมนอกเหนือจากแผนการดำเนินงาน(ถ้ามี)

กิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับกลุ่มบริษัทพีชปาล์ม เอเชียจำกัด เพื่อให้เกษตรกรเข้าใจบทบาทความสำคัญของห่วงโซ่อุปทานในการผลิตขมิ้นในส่วนต้นน้ำ ที่จำเป็นต้องมีมาตรฐานต่าง ๆ สำหรับกลางน้ำ และปลายน้ำต้องการ ทำให้เกษตรกรมีความเข้าใจ และมีเป้าหมายเดียวกันกับโครงการนี้ ว่าเพราะเหตุใดจึงจำเป็นต้องมีการยกระดับการผลิต และการปลูกจำเป็นต้องมีมาตรฐาน โดยกิจกรรมนี้ผู้ประกอบการขมิ้นมีบทบาทสำคัญในการเชื่อมโยงเกษตรกรกับตลาด ช่วยให้เกษตรกรเข้าถึงข้อมูล ความรู้ และเทคโนโลยีใหม่ ๆ การอบรมผู้ประกอบการขมิ้นให้มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการผลิตขมิ้นต้นน้ำ จึงเป็นกลยุทธ์สำคัญในการส่งเสริมให้เกษตรกรผลิตขมิ้นที่มีคุณภาพ ตรงตามความต้องการของตลาด ซึ่งประโยชน์ของกิจกรรมนี้ คือสามารถสร้างความรู้ความเข้าใจให้เกษตรกรจะเข้าใจถึงความสำคัญของการผลิตขมิ้นต้นน้ำ เข้าใจกระบวนการผลิตที่ถูกต้องตามมาตรฐาน และเข้าใจถึงความต้องการของตลาด นำไปสู่การพัฒนาทักษะต่าง ๆ เช่น เกษตรกรจะได้รับการฝึกอบรมทักษะการผลิตขมิ้นต้นน้ำ เช่น การคัดเลือกพันธุ์ การเตรียมแปลง การปลูก การดูแลรักษา การเก็บเกี่ยว และการแปรรูป จากนั้นจะทำให้เกิดการสร้างเครือข่าย โดยที่เกษตรกรจะมีโอกาสพบปะแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับผู้ประกอบการขมิ้น และเกษตรกรอื่น ๆ สร้างเครือข่ายความร่วมมือในการพัฒนาการผลิตขมิ้น สามารถเพิ่มโอกาสทางธุรกิจ ทำให้เกษตรกรจะมีโอกาสเข้าถึงตลาดใหม่ ๆ และสามารถขายขมิ้นได้ในราคาที่สูงขึ้น นำไปสู่การส่งเสริมการพัฒนาเศรษฐกิจ ดังนี้ การผลิตขมิ้นต้นน้ำจะช่วยเพิ่มรายได้ให้กับเกษตรกร และส่งเสริมเศรษฐกิจท้องถิ่น

 

 

 

 



รายงานโดย นางนิชมลกานต์  ขุนเพชร วันที่รายงาน 01/07/2567 [5188]
60000 30
4
[5220]

      กิจกรรมที่ 1 กิจการรมการประชุมร่วมกับกลุ่มเพื่อชี้แจงแนวทางการดำเนินงานให้เป็นไปตามเป้าหมายของโครงการ ซึ่งในโครงการแบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือ การประชุมเพื่อชี้แจงหน่วยงานกับภาครัฐที่จะร่วมดำเนินโครงการ จำนวน 2 หน่วยงาน และชุมชนตำบลย่านยาว เพื่อสร้างความเข้าใจแนวทาง และดำเนินงานเป็นไปตามเป้าหมายของโครงการ

      หน่วยงานรัฐ

       1) ศูนย์วิจัยพืชสวนตรัง เพื่อชี้แจงแนวทางการดำเนินงานให้เป็นไปตามเป้าหมายของโครงการ เกี่ยวกับการถ่ายทอดองค์ความรู้ให้กับเกษตรกรในช่วงต้นน้ำ คือการคัดเลือกสายพันธุ์ปลูก การปลูก การดูแลรักษา และการจัดการโรคและศัตรูพืช เพื่อผลิตขมิ้นชันพรีเมียม คุณภาพสูง ที่มีสารเคอร์คูมินอยด์ที่เป็นสารออกฤทธิ์ทางยาสูงอย่างสม่ำเสมอ มีผู้ร่วมกิจกรรมทั้งหมด 3 คน จากจำนวน 3 คน ที่จะเป็นวิทยารในโครงการ คิดเป็นร้อยละ 100 โดยมีผลประเมินดังแสดงในกิจกรรมที่ 1 ของตารางที่ 3.1

       2) สำนักงานวิจัยและพัฒนาการเกษตรเขตที่ 7 เพื่อชี้แจงแนวทางการดำเนินงานให้เป็นไปตามเป้าหมายของโครงการ เกี่ยวกับการถ่ายทอดองค์ความรู้ให้กับเกษตรกรในช่วงต้นน้ำ คือเตรียมแปลงปลูก และการขอรับรอง รวมถึงสาธิตการใช้อุปกรณ์ตรวจวัดปริมาณสารออกฤทธิ์หลักในพืชสมุนไพร เพื่อผลิตขมิ้นชันพรีเมียม คุณภาพสูง ที่มีสารเคอร์คูมินอยด์ที่เป็นสารออกฤทธิ์ทางยาสูงอย่างสม่ำเสมอ มีผู้ร่วมกิจกรรมทั้งหมด 7 คน จากจำนวน 7 คน ที่จะเป็นวิทยารในโครงการและคณะทำงาน คิดเป็นร้อยละ 100 โดยมีผลประเมินดังแสดงในกิจกรรมที่ 1 ของตารางที่ 3.1

          ชุมชนตำบลย่านยาว

          ร่วมประชุมกับแกนนำนายธีระ รัชชะ และชุมชนเกษตรตำบลย่ายาว อ.คีรีรัฐนิคม จ.สุราษฎร์ธานี เพื่อแจ้งถึงกิจกรรมที่จะดำเนินในปีงบประมาณ 2567 นอกจากนี้มีการดำเนินโครงการให้ความรู้ด้านตลาดสมุนไพรขมิ้น โดยคุณชนะสิทธิ์ อุ่นยวง ประธานกรรมการบริษัท พีชปาล์ม เอเชีย จำกัด ชี้แจงเกี่ยวกับการตลาดธุรกิจสมุนไพรขมิ้น ซึ่งเป็นหนึ่งในธุรกิจที่มีศักยภาพสูง เนื่องจากขมิ้นเป็นสมุนไพรที่มีประโยชน์ทางการแพทย์และสุขภาพมากมาย เพื่อให้เกษตรกรเข้าใจมาตรฐานต่าง ๆ เกี่ยวกับการปลูกขมิ้นพรีเมียม และการทำการเกษตรในรูปแบบเกษตรพันธสัญญาช่วยให้เกษตรกรมั่นใจว่ามีตลาดรับซื้อที่แน่นอน และมีความมั่นคงในรายได้จากการขายผลผลิตที่ได้รับการรับประกันการซื้อจากผู้ประกอบการโดยตรง มีผู้ร่วมกิจกรรมทั้งหมด 55 คน จากจำนวน 65 คน คิดเป็นร้อยละ 84.62 โดยมีผลประเมินดังแสดงในกิจกรรมที่ 1 ของตารางที่ 3.1

 

      กิจกรรมที่ 2กิจกรรมการถ่ายทอดองค์ความรู้กระบวนการ การพัฒนาคุณภาพแปลงปลูกให้ได้มาตรฐานเกษตรอินทรีย์ และมาตรฐานการปฏิบัติการเกษตรที่ดี (GAP)

กิจกรรมนี้ผู้ดำเนินโครงการ โดยผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ณวงศ์ บุนนาค หัวหน้าโครงการวิจัย ร่วมกับสำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตรเขตที่ 7 จังหวัดสุราษฏร์ธานี นำโดย คุณสุธีรา ถาวรรัตน์ผู้อำนวยการกลุ่มวิชาการ สำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตรเขตที่ 7 จ.สุราษฎร์ธานี และคุณจินตนาพร โคตรสมบัตินักวิชาการเกษตรปฏิบัติการ สำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตรเขตที่ 7 จ.สุราษฎร์ธานีเป็นวิทยากรให้ความรู้กับเกษตรกร เกี่ยวกับการเตรียมแปลงปลูกให้ตรงตามมาตรฐานเกษตรปลอดภัย และเกษตรอินทรีย์ โดยถ่ายทอดความรู้ในเรื่องเกษตรปลอดภัย ของพืชอาหาร และพืชสมุนไพร และเกษตรอินทรีย์ รวมถึงขั้นตอนการขอรับรองมาตรฐาน ให้กับเกษตรกร และรับเอกสาร และสัมภาษณ์เกษตรกรตำบลย่านยาว ในการขอรับรองมาตรฐานการปฏิบัติการเกษตรที่ดี พร้อมทั้งตรวจแปลงปลูกของเกษตรกร มีผู้ร่วมกิจกรรมทั้งหมด 46 คน จากจำนวน 65 คน คิดเป็นร้อยละ 70.77 โดยมีผลประเมินดังแสดงในกิจกรรมที่ 2 ของตารางที่ 3.1

นอกจากนี้การประเมินผลกิจกรรมที่ 2 ของโครงการ ประเมินจากจำนวนแปลงของเกษตรกรที่ได้รับรองมาตรฐานเกษตรปลอดภัยซึ่งมีเกษตรกรจำนวน 16 คนที่ได้ยื่นขอรับรองมาตรฐานเกษตรปลอดภัยดังตารางที่ 3.2

 

      กิจกรรมที่ 3กิจกรรมการถ่ายทอดองค์ความรู้ด้านสายพันธุ์ปลูก การปลูก และการดูแลรักษา โรค และการกำจัดศัตรูพืช

      กิจกรรมนี้ผู้ดำเนินโครงการ โดยผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ณวงศ์ บุนนาค หัวหน้าโครงการวิจัย ร่วมศูนย์วิจัยพืชสวนตรัง นำโดยคุณสุมาลี ศรีแก้ว นักวิชาการชำนาญการพิเศษ ศูนย์วิจัยพืชสวนตรัง และนักวิชาการเกษตรจากศูนย์วิจัยพืชสวนตรัง ถ่ายทอดองค์ความรู้ให้กับเกษตรกรในช่วงต้นน้ำ คือการคัดเลือกสายพันธุ์ปลูก การปลูก การดูแลรักษา และการจัดการโรคและศัตรูพืช เพื่อผลิตขมิ้นชันพรีเมียม คุณภาพสูง ที่มีสารเคอร์คูมินอยด์ที่เป็นสารออกฤทธิ์ทางยาสูงอย่างสม่ำเสมอ เพื่อให้เกษตรกรเข้าใจถึงความสำคัญของการคัดเลือกสายพันธุ์ปลูก การปลูก และการดูแล จัดการโรค เพื่อให้ตรงตามความต้องการของตลาด และเป็นไปตามาตรฐาน GAP มีผู้ร่วมกิจกรรมทั้งหมด 46คน จากจำนวน 65 คน คิดเป็นร้อยละ 70.77โดยมีผลประเมินดังแสดงในกิจกรรมที่ 3 ของตารางที่ 3.1

 

กิจกรรมที่ 4กิจกรรมการถ่ายทอดองค์ความรู้กระบวนการเลือกสายพันธุ์ขมิ้น การปลูก และการตรวจวัดปริมาณสารสำคัญให้ขมิ้นให้เป็นไปตามมาตรฐานตำรายาสมุนไพรไทย

กิจกรรมนี้ผู้ดำเนินโครงการ โดยผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ณวงศ์ บุนนาค หัวหน้าโครงการวิจัย และผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ชุติมา แก้วพิบูลย์ คณะวิทยาศาสตร์และนวัตกรรมดิจิทัล มหาวิทยาลัยทักษิณถ่ายทอดองค์ความรู้ให้กับเกษตรกรเกี่ยวกับสารสำคัญในขมิ้นชัน และสร้างทักษะการตรวจวัดสารเคอร์คูมินอยด์ในขมิ้นชัน ด้วยอุปกรณ์ตรวจวัดปริมาณสารเคอร์คูมินอยด์แบบพกพา และแอปพลิเคชัน ซึ่งการใช้อุปกรณ์คัดเลือกสายพันธุ์ปลูกขมิ้นชัน และระบุช่วงเวลาเก็บเกี่ยวที่พัฒนาขึ้นให้เกษตรกรใช้ได้เองในแปลงปลูก เพื่อควบคุมคุณภาพขมิ้นชัน โดยใช้หลักการตรวจวัดสารออกฤทธิ์ทางยากลุ่มเคอร์คูมินอยด์ เพื่อผลิตขมิ้นชันพรีเมียมเกรดยา ที่มีปริมาณสารสำคัญสูงอย่างสม่ำเสมอ ทำให้เกษตรกรสามารถยกระดับการปลูกขมิ้นชันให้มีคุณภาพสูงขึ้น

กิจกรรมนี้เกษตรกรได้ทราบขั้นตอนการตรวจวัดปริมาณเคอร์คูมินอยด์ในขมิ้นชัน ตามวิธีของตำรามาตรฐานยาสมุนไพร และได้ฝึกทักษะการใช้อุปกรณ์และเครื่องมือต่าง ๆ ที่ใช้ในการวิเคราะห์ มีผู้ร่วมกิจกรรมทั้งหมด 17คน จากจำนวน 65คน คิดเป็นร้อยละ 26.15 ซึ่งผู้เข้าร่วมจะเป็นตัวแทนของชุมชน ที่จะเป็นเกษตรกรแกนนำในการตรวจวัดปริมาณเคอร์คูมินอยด์ให้กับเกษตรกรแปลงอื่น ๆ  โดยมีผลประเมินดังแสดงในกิจกรรมที่ 4 ของตารางที่ 3.1

 

กิจกรรมที่ 5กิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ประชุมเพื่อติดตาม และประเมินผลโครงการ

               กิจกรรมนี้ผู้ดำเนินโครงการ โดยผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ณวงศ์ บุนนาค หัวหน้าโครงการวิจัย ได้ร่วมประชุมกับแกนนำ และชุมชน เกษตรตำบลย่ายาว อ.คีรีรัฐนิคม จ.สุราษฎร์ธานี เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ประชุมเพื่อติดตาม และประเมินผลโครงการ รวมถึงเข้าติดตามผลโครงการที่แปลงปลูกของเกษตรกร  ทั้งหมด 17 คน จากจำนวน 65 คน คิดเป็นร้อยละ 26.15 โดยมีผลประเมินดังแสดงในกิจกรรมที่ 5



รายงานโดย นางนิชมลกานต์  ขุนเพชร วันที่รายงาน 23/09/2567 [5220]
131500 55