เครือข่ายส่งเสริมธุรกิจเทคโนโลยีและนวัตกรรม กปว.#
  • บริการของ กปว.
    • โครงการ
    • เทคโนโลยี
    • ผู้เชี่ยวชาญ
    • คำปรึกษา/ลูกค้า
    • ผลิตภัณฑ์
    • แลกเปลี่ยนเรียนรู้
  • หน้าหลัก
  • Wednesday, July 2, 2025 เวลา :

เทคโนโลยีพร้อมถ่ายทอด

รหัส
9127
ชื่อ
เทคโนโลยีการทำน้ำส้มควันไม้ ชม 45 ครั้ง
เจ้าของ
นายดำรงค์ศักดิ์ สุวรรณศรี
เมล์
damrongsak55@hotmail.co.th
รายละเอียด

น้ำส้มควันไม้ผลิตได้จากการเผาถ่านด้วยเตาเผาถ่านขนาด 200 ลิตร ซึ่งการเผาถ่านโดยใช้ถังน้ำมัน 200 ลิตร  เป็นวิธีการเผาที่ง่ายที่สุดวิธีหนึ่ง  และได้ผลเป็นที่น่าพอใจ  ควรเก็บน้ำส้มควันไม้ที่อุณหภูมิปากปล่องที่ 80 องศาเซลเซียส และหยุดเก็บที่ 150 องศาเซลเซียส และอุณหภูมิในเตาเผาประมาณ 300-400 องศาเซลเซียส โดยอุณหภูมิ ดังกล่าวจะไม่มีสารก่อมะเร็ง ใช้เวลาเผา 10 ชั่วโมง จะได้ถ่าน 15 กิโลกรัม น้ำส้มควันไม้ 2 ลิตร

ดังนั้นการนำน้ำส้มควันไม้มาใช้ให้เกิดประโยชน์จริงจะต้องผ่านขั้นตอนการทำให้บริสุทธิ์เสียก่อน ซึ่งมีวิธีการ 2 วิธี คือ

          1. ปล่อยให้ตกตะกอน โดยนำน้ำส้มควันไม้ดิบที่กลั่นได้มาเก็บในถังทรงสูงมากกว่าความกว้างประมาณ 3 เท่า ทิ้งให้ตกตะกอนใน 90 วัน จะทำให้น้ำส้มควันไม้แยกตัวเป็น 3 ระดับ ชั้นบนจะเป็นน้ำมันใสชั้นกลางจะเป็นของเหลวสีชา ซึ่งคือน้ำส้มควันไม้ควันไม้ที่จะนำไปใช้ได้ ส่วนชั้นล่างสุดนั้นเป็นของเหลวข้นสีดำ แต่สามารถลดเวลาการตกตะกอนโดยการผสมผงถ่านประมาณ 5 เปอร์เซ็นต์ ของน้ำหนักรวมของน้ำส้มควันไม้ทั้งหมด โดยผงถ่านจะดูดซับทั้งน้ำมันใสชั้นบน และน้ำมันดิบลงสู่ชั้นล่างสุดในเวลา 45 วันเท่านั้น หลังจากตกตะกอนในถังจนครบกำหนดแล้วจึงนำของเหลวสีชาในชั้นกลางมากรองซ้ำอีกครั้งด้วยผ้ากรองจึงจะสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ โดยน้ำส้มควันไม้ที่บริสุทธิ์ควรจะมีน้ำมันดิบไม่เกิน 1 เปอร์เซ็นต์  พิจารณาด้วยสายตาน้ำส้มควันไม้ที่ดีควรจะมีสีใสจนถึงชา หากมีลักษณะขุ่นดำแสดงถึงความหนาแน่นของน้ำมันดิบ

          2. อาศัยการกรองและกลั่น แต่จะยุ่งยากนิยมใช้ในโรงงานอุตสาหกรรมต่างๆ เพื่อให้ได้ผลผลิตน้ำส้มควันไม้ที่มีคุณสมบัติเฉพาะในอุตสาหกรรม

คำสำคัญ
เทคโนโลยีการทำน้ำส้มควันไม้  
บันทึกโดย
นางสาวชฎาพร  ประทุมมา  มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา พิษณุโลก

รายละเอียดผู้รับบริการ

ไม่พบข้อมูลผู้รับบริการ




สงวนลิขสิทธิ์ © 2568 กลุ่มส่งเสริมธุรกิจเทคโนโลยีและนวัตกรรม(ธท.) กองส่งเสริมและประสานเพื่อประโยชน์ทางวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม(กปว.)
มีปัญหาแจ้งได้ที่ ekapong at mhesi.go.th