เทคโนโลยีพร้อมถ่ายทอด
ชื่อ
3-in-1 Spectrometer Extension Kit for Reflection, Emission and Fluorescence Measurement (ชุดอุปกรณ์เสริมสเปกโตรมิเตอร์ 3 ใน 1 สำหรับการวัดการสะท้อน การปลดปล่อย และการเกิดฟลูออเลสเซนต์)
ชม 41 ครั้ง
12
เจ้าของ
นายธีรวัฒน์ ภิรมจิตรผ่อง
เมล์
teerawat.p@ubu.ac.th
รายละเอียด
ชุดอุปกรณ์เสริมสเปกโตรมิเตอร์ที่สร้างขึ้นนี้มีความใหม่ คือ ชิ้นส่วนต่างๆ ของอุปกรณ์ถูกออกแบบและสร้างขึ้นใหม่ด้วยจุดประสงค์เพื่อเพิ่มเติมศักยภาพของเครื่องสเปกโตรมิเตอร์แบบดิจิตอลที่มีอยู่เดิม (ที่วัดได้เพียงการทะลุผ่านและดูดกลืนแสงของวัสดุเท่านั้น) ให้สามารถใช้งานได้หลากหลายและครอบคลุมการวัดเชิงแสงได้อีกถึง 3 ลักษณะการวัดอันได้แก่ การสะท้อนแสงของผิววัสดุ การปลดปล่อยแสงของแหล่งแสงต่างๆ และการเกิดแสงฟลูออเลสเซนต์ของสารตัวอย่าง โดยชิ้นส่วนของชุดอุปกรณ์นี้สร้างขึ้นด้วยการปริ้นสามมิติที่ผสมผสานเข้ากับการใช้ท่ออลูมิเนียมเพื่อช่วยเสริมความแข็งแรงมั่นคงขณะใช้งาน และเมื่อถูกประกอบเข้ากับฐานไม้ที่มีรางเลื่อนพร้อมสเกลวัด (ดูรูปที่ 1) จึงทำให้แต่ละส่วนของชุดอุปกรณ์สามารถปรับเปลี่ยนตำแหน่งได้อย่างยืดหยุ่นเพื่อให้เหมาะสมต่อการวัดในแต่ละลักษณะ
การนำไปใช้ : ชุดอุปกรณ์เสริมสเปกโตรมิเตอร์ที่สร้างขึ้นนี้ได้ถูกใช้ประโยชน์ทางวิชาการแล้ว ได้แก่ 1. การใช้เป็นอุปกรณ์การทดลองในวิชาปฏิบัติการ 2 วิชาคือ ฟิสิกส์เชิงปฏิบัติทางการสร้างภาพ 1133212 ในหลักสูตรฟิสิกส์ชีวะการแพทย์ และ ปฏิบัติการฟิสิกส์ยุคใหม่ 2 1131234 ในหลักสูตรศึกษาศาสตร์เอกฟิสิกส์ สำหรับการทดลองเรื่องการวิเคราะห์สเปกตรัมการปลดปล่อยเชิงความร้อนด้วยสเปกโตรมิเตอร์ ในปีการศึกษา 2565 และปีการศึกษา 2566 (ขอแนบหลักฐานเป็นคู่มือการทดลอง และตัวอย่างรายงานที่นักศึกษาส่งมาในวิชาดังกล่าว) 2. การใช้เป็นอุปกรณ์การทดลองในโครงงานวิทยาศาสตร์ของนักเรียน วมว. เรื่อง Fabrication of plastic customizable optical reflectors for space applications ในช่วงเดือนกรกฎาคม 2565 ถึง กุมภาพันธ์ 2566 ซึ่งใช้ในการวัดค่าการสะท้อนแสงของแผ่นสะท้อนพลาสติกที่สร้างขึ้นด้วยปัจจัยการผลิตที่แตกต่างกันในโครงงานของนักเรียน วมว.
ในอนาคตข้าพเจ้ามีแผนการที่จะใช้ชุดอุปกรณ์เสริมสเปกโตรมิเตอร์นี้ในวิชาปฏิบัติการในหัวข้ออื่นๆ อีก อาทิ การเกิดแสงฟลูออเลสเซนต์ในวัสดุ การเกิดสเปกตรัมแบบต่อเนื่องและไม่ต่องเนื่องในแหล่งแสงชนิดต่างๆ การศึกษาสมบัติการสะท้อนของวัสดุ เป็นต้น รูปที่ 3 ถึง 5 แสดงตัวอย่างข้อมูลที่ได้จากการใช้ชุดอุปกรณ์เสริมสเปกโตรมิเตอร์ที่สร้างขึ้นนี้ในการวัดเชิงแสงลักษณะต่างๆ
หน่วยงานที่นำไปใช้ : ภาควิชาฟิสิกส์ คณะวิทยาศาสตร์
คุณค่าและผลกระทบต่อสังคม : ชุดอุปกรณ์เสริมสเปกโตรมิเตอร์ที่สร้างขึ้นนี้ได้ถูกใช้ประโยชน์ทางวิชาการแล้วในวิชาปฏิบัติการ 2 วิชา คือ ฟิสิกส์เชิงปฏิบัติทางการสร้างภาพ 1133212 ในหลักสูตรฟิสิกส์ชีวะการแพทย์ และ ปฏิบัติการฟิสิกส์ยุคใหม่ 2 1131234 ในหลักสูตรศึกษาศาสตร์เอกฟิสิกส์ ในปีการศึกษา 2565 และ 2566 ซึ่งข้าพเจ้าพบว่านักศึกษาที่ผ่านการเรียนรู้ด้วยชุดอุปกรณ์นี้มีความรู้ความเข้าใจในเชิงวิชาการในหัวข้อที่เกี่ยวข้องมากยิ่งขึ้น นักศึกษามีทักษะในการใช้เครื่องมือสเปกโตรมิเตอร์ และมีการพัฒนาทักษะในการวิเคราะห์ข้อมูลที่วัดได้เป็นอย่างดี โดยคณะกรรมการอาจใช้รายงานผลการประเมินการเรียนการสอนของรายวิชาดังกล่าวของข้าพเจ้า (หลักฐานแนบ) ซึ่งได้คะแนนประเมินในหัวข้อที่ 17 และ 18 ที่เฉลี่ยราว 4.5 เต็ม 5.0 จากผู้ประเมินทั้งหมด 66 คน เพื่อประกอบการพิจารณา อกจากนี้ ชุดอุปกรณ์เสริมสเปกโตรมิเตอร์ที่สร้างขึ้นนี้ได้ถูกใช้ในโครงงานวิทยาศาสตร์ของนักเรียน วมว. เรื่อง Fabrication of plastic customizable optical reflectors for space applications ในช่วงเดือนกรกฎาคม 2565 ถึง กุมภาพันธ์ 2566 เพื่อใช้วัดสมบัติการสะท้อนแสงของแผ่นสะท้อนพลาสติกที่สร้างขึ้นด้วยปัจจัยการผลิตต่างๆ ในโครงงาน ซึ่งพบว่าผลลัพธ์ที่ได้เป็นที่น่าพึงพอใจ โครงงานวิทยาศาสตร์นี้ของนักเรียน วมว. ได้รับรางวัลชนะเลิศการประกวด The 26th Young Scientist Competition (YSC 2024) ระดับภูมิภาคภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ณ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี และผ่านเข้าสู่การประกวดระดับประเทศต่อไป
คำสำคัญ
บันทึกโดย