เทคโนโลยีพร้อมถ่ายทอด
เคยูพิงค์เป็น TOMAC647 ซึ่งเป็นมะเขือเทศสีดาที่มีขนาดเล็ก แต่มียีน Ty-2a ซึ่งเป็นยีนต้านทานโรคไวรัสใบหงิกเหลืองมะเขือเทศที่เกิดจากเชื้อไวรัส นำมาปรับปรุงต่อให้มีขนาดที่ใหญ่ขึ้น เพื่อแก้ปัญหาแรงงานขั้นต่ำที่เพิ่มขึ้นทุกๆปี และเนื่องจากค่าใช้จ่ายส่วนใหญ่ (67%) เป็นงบที่เกิดจากแรงงาน นอกจากนี้ยังแก้ปัญหาผลผลิตที่เสียหายเนื่องจากการเข้าทำลายของโรคไวรัสใบหงิกเหลืองที่มีแมลงหวี่ขาวเป็นพาหะนำโรค โดยปกติเกษตรกรนิยมใช้สารเคมีกำจัดแมลงเพื่อลดการแพร่ระบาดของเชื้อ ซึ่งถ้าใช้ไม่ถูกอัตราหรือเวลาก็จะเป็นอันตรายทั้งต่อผู้ฉีดและผู้บริโภค การใช้สายพันธุ์ต้านทานจึงเป็นการป้องการแพร่กระจายของเชื้อ และเป็นการลดต้นทุนจากการซื้อสารเคมี อีกทั้งยังเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เคยูพิงค์ได้ผ่านการทดสอบโรคทั้งในโรงเรือนและแปลงปลูก พบว่ามีความต้านทานที่สูงกว่าสายพันธุ์การค้าที่เกษตรกรปลูกอยู่ทั่วไป มีผลผลิตที่ต่ำกว่าอยู่เล็กน้อย อย่างไรก็ตาม เคยูพิงค์เป็นสายพันธุ์เปิด เกษตรกรสามารถเก็บเมล็ดปลูกต่อได้ หรือสามารถซื้อเมล็ดได้ในราคาที่ต่ำกว่าเอกชน 3-4 เท่า เป็นทางเลือกให้กับเกษตรกรที่ปลูกมะเขือเทศสีดา
ข้อมูลผลงานวิจัยด้านเทคโนโลการปรับปรุงพันพืช/สัตว์
https://drive.google.com/drive/folders/1MvErVfjjaReiOTHCbYtSgkVeadf1-RC5