เทคโนโลยีพร้อมถ่ายทอด
ชื่อ
หัวเชื้ออาหารสัตว์ต้นทุนต่ำเพื่อสร้าง SMEs ระดับชุมชน
ชม 122 ครั้ง
57
เจ้าของ
รศ.ดร.สมบูรณ์ อนัตลาโภชัย ศูนย์ความเป็นเลิศด้านฟิสิกส์
เมล์
-
รายละเอียด
“การใช้จุลินทรีย์จากจาวปลวกเพื่อการกำจัดวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร” สามารถคัดเลือกแบคทีเรียที่มีกิจกรรมการทำงานของเอนไซม์ในกลุ่มเซลลูเลส และไซลาเนสสูงเพื่อทำการย่อยฟางข้าวและซังข้าวโพดและได้ทำการปรับปรุงพันธุ์แบคทีเรียที่ถูกคัดเลือกให้มีประสิทธิภาพในการย่อยวัสดุเหล่านี้ให้ดียิ่งขึ้นด้วยพลาสมาพลังงานต่ำ จากปัญหาที่เกิดขึ้นดังกล่าว คณะวิจัยได้ทำการวิจัยเบื้องต้นในการหมักซังข้าวโพดที่แข็ง ทำให้โคไม่กินอาหารสัตว์จากซังข้าวโพด
ด้วยแบคทีเรียสร้างเอนไซม์เซลลูเลสและไซลาเนสพันธุ์กลายที่ผ่านการปรับปรุงพันธุ์ด้วยพลาสมา จะช่วยในการย่อยซังข้าวโพดได้ดีขึ้น และหมักร่วมกับแบคทีเรียแลคติกเพื่อใช้เป็นอาหารโคนม พบว่าสามารถใช้ซังข้าวโพดหมักทดแทนอาหารข้นได้ร้อยละ 30 – 40 โดยที่ไม่มีผลต่อปริมาณและคุณภาพน้ำนม และยังสามารถช่วยลดค่าใช้จ่ายในการซื้ออาหารจากเอกชนให้แก่เกษตรกรผู้เลี้ยงโคได้ประมาณร้อยละ 30 – 40 นอกจากนี้เกษตรกรยังสามารถสร้างรายได้จากน้ำนมที่ได้จากวัวอีกด้วย ต่อมาได้ดำเนินการวิจัยเบื้องต้นในการนำเปลือกทุเรียนมาผลิตเป็นอาหารหมักสำหรับโคนมพบว่าสามารถใช้เป็นอาหารทดแทนอาหารจากเอกชนได้เช่นกัน
การผลิตหัวเชื้ออาหารต้นทุนต่ำจากซังข้าวโพดและเปลือกทุเรียน โดยเทคโนโลยีปรับปรุงพันธุ์ด้วยพลาสมามา ใช้ในการผลิตและวิจัย เป็นสิ่งใหม่ที่ปัจจุบันยังไม่มีคู่แข่งในระดับเดียวกัน หากวัดจากราคาต้นทุนการผลิต ในอนาคตอาจมีโอกาสที่จะมีคู่แข่งเป็นบริษัทเอกชนหรือกลุ่มนายทุนที่มีกำลังหารผลิตมากกว่าในต้นทุนที่ต่ำกว่าจากการใช้เครื่องจักรใหญ่ ในการผลิตอาหารสัตว์หมักเป็นจำนวนมากๆ แต่ถึงกระนั้นการสร้างเครือข่ายกลุ่มเกษตรกรทั้งห่วงโซ่ให้ได้ประโยชน์ร่วมกัน ทั้งการกำจัดขยะ ลดต้นทุนอาหารสัตว์ และได้ผลิตภัณฑ์นมที่ดีและคุ้มค่าจะเป็นการสร้างความได้เปรียบในการแข่งขันในระยะยาว
คำสำคัญ
บันทึกโดย