เทคโนโลยีพร้อมถ่ายทอด
ชื่อ
ศึกษาวิจัยผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและสังคม เน้นความหลากหลายทางชีวภาพจากการสร้างรถไฟความเร็วสูงเชื่อมสามสนามบินที่จังหวัดชลบุรี ภายใต้ความร่วมมือกับ
ชม 44 ครั้ง
63
เจ้าของ
ศ. ดร. สมศักดิ์ ปัญหา ภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และ ผศ. ดร. เอื้องฟ้า บรรเทาวงศ์ สาขาชีววิทยา สำนักวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชมงคล ธัญบุรี
เมล์
somsak.pan@chula.ac.th
รายละเอียด
คณะกรรมการนโยบายการพัฒนาพื้นที่ในเขตเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (กนศ.) ในคราวการ
ประชุมครั้งที่ 1/2560 เมื่อวันจันทร์ที่ 13 มีนาคม 2560 ที่ประชุมได้รับทราบโครงการนาร่องภายใต้เขตเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก โดยมีโครงการเชื่อมต่อ 3 สนามบิน ประกอบด้วย โครงการรถไฟความเร็วสูงเส้นทางกรุงเทพ-ระยอง โครงการรถไฟเชื่อมท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ และโครงการระบบขนส่งทางรถไฟเชื่อมท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ส่วนต่อขยายช่วงพญาไท-ดอนเมือง และมีมติให้กระทรวงคมนาคมเป็นหน่วยงาน หลักเร่งการศึกษาระบบราง เพื่อให้รถไฟความเร็วสูงสามารถเชื่อมโยง 3 สนามบิน ต่อมาเมื่อวันที่ 4 เมษายน 2560 พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ในฐานะประธานกรรมการนโยบายการพัฒนาพื้นที่ในเขตเศรษฐกิจพิเศษมีมติการประชุมให้กระทรวงคมนาคม โดย รฟท. จัดจ้างที่ปรึกษาเพื่อเร่งรัดการศึกษาความเหมาะสมให้รถไฟความเร็วสูงสายตะวันออกและรถไฟเชื่อมท่าอากาศยานทั้งระบบสามารถเชื่อมโยงทั้ง 3 สนามบินได้ต่อมาในการประชุมของคณะกรรมการนโยบายการพัฒนาพื้นที่ในเขตเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก
(กนศ.) เมื่อวันที่ 22 พฤศจิกายน 2560 มีมติให้โครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อมต่อ 3 สนามบิน แบบไร้รอยต่อ (ดอนเมือง-สุวรรณภูมิ-อู่ตะเภา) แบ่งการพัฒนาออกเป็น 2 ระยะ คือ ระยะที่ 1 จากท่าอากาศยานดอนเมืองไปสิ้นสุดที่ท่าอากาศยานอู่ตะเภา เพื่อลดผลกระทบสิ่งแวดล้อมบริเวณนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด ส่วนระยะที่ 2 ช่วงต่อขยายจากท่าอากาศยานอู่ตะเภาไปจังหวัดระยอง จันทบุรี ตราด ให้เร่งศึกษาและออกแบบแนวเส้นทางให้เหมาะสม เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด
เนื่องจากเส้นทางที่รถไฟผ่านมีแนวทางที่ผ่านระบบนิเวศหลายแห่งที่อาจส่งผลกระทบต่อความหลากหลายทางชีวภาพโดยเฉพาะในแนวเขาหินปูนดังแผนที่เส้นทางด้านล่างนี้ ดังนั้นเพื่อให้ร่วมดำเนินการกับการศึกษาผลกระทบในภาพรวมจึงได้นำเสนอข้อเสนอโครงการเข้าศึกษาผลกระทบภายใต้การสนับสนุนจากศูนย์ความเป็นเลิศด้านความหลากหลายทางชีวภาพ โดยเน้นทรัพยากรที่มีผลกระทบและสามารถนำมาสร้างมูลค่าเพิ่มได้กับชุมชนและประเทศ
จากการทำการสำรวจอย่างเร็วร่วมกับ ERM ได้พบทรัพยากรทางชีวภาพหลายชนิดที่เป็นจุดเด่นอาทิไส้เดือนดินศรีราชา Amynthas hupbonensis ที่ไม่มีใครพบประชากรเลยนับจากมีการรายงานมาเกือบ 100 ปี ได้พบประชากรที่อุดมสมบูรณ์บนเขาสลาก อำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี บริเวณเส้นทางรถไฟผ่าน จึงวางแผนการศึกษาผลกระทบและการสร้างมูลค่าเพิ่มต่อชุมชนและประเทศในการประกาศเป็นสัตว์เศรษฐกิจใหม่ต่อไป
บันทึกโดย
