เทคโนโลยีพร้อมถ่ายทอด
งานวิจัยมุ่งเน้นการศึกษาวิจัยความหลากหลายและการแพร่กระจายของแพลงก์ตอนสัตว์น้ำจืด ในแหล่งน้ำชั่วคราว แหล่งน้ำถาวร รวมถึง แหล่งน้ำขังภายในถ้ำ ในประเทศไทย เปรียบเทียบกับเพื่อนบ้าน เช่นกัมพูชา เวียดนาม และสาธารณรัฐประชาชนจีน โดยในงานวิจัยครั้งนี้ ได้ค้นพบการแพลงก์ตอนสัตว์น้ำจืดและตั้งชื่อสัตว์ชนิดใหม่ของโลกเป็นทางการแล้ว จำนวน 4 สปีชีส์ ได้ค้นพบแพลงก์ตอนสัตว์ที่มีศักยภาพในการเพาะเลี้ยงเชิงพาณิชย์ คือ ไรแดงสยาม (Moina siamensis Alonso, Neretina, Sanoamuang , Saengphan & Kotov 2019) ซึ่งพบได้ตามธรรมชาติในแหล่งน้ำชั่วคราว ซึ่งไรแดงสยามมีคุณสมบัติพิเศษแตกต่างจากไรแดงทั่วไปหลายประการ เช่น มีขนาดล้ำตัวเล็กกว่า ไรแดงชนิดอื่น มีความดกไข่สูง มีช่วงชีวิตยาว และสามารถควบคุมให้ผลิตไข่ได้อย่างต่อเนื่อง จึงส่งเสริมให้เกษตรกรเพาะเลี้ยงไรแดงสยามเช่นเดียวกับการเพาะเลียงไรน้ำนางฟ้า เนื่องจากทั้งไรน้ำนางฟ้า และไรแดงสยามม มีคุณค่าทางอาหาร และแคโรทีนอยด์สูง จึงเหมำะแก่การนำมาเพาะเลี้ยงเพื่อนำไปเป็นอาหารปลา และกุ้งสวยงาม ราคาแพง
