เทคโนโลยีพร้อมถ่ายทอด
ภาวะโลกร้อนเป็นปัญหาหลักปัญหาหนึ่งของโลกเรามาเป็นเวลายาวนาน ในส่วนของพื้นที่มหาสมุทรภาวะโลกร้อนสามารถส่งผลให้เกิดปัญหาต่างๆตามมามากมาย ปัญหาสำคัญที่เป็นที่รู้จักกันดีอันเกิดจากการเพิ่มขึ้นของอุณหภูมิในมหาสมุทรคือสถานการณ์การฟอกขาวของปะการัง เมื่ออุณหภูมิเพิ่มสูงขึ้นจะส่งผลต่อการลดลงของของอัตราการอยู่รอดของปะการัง การตรวจวัดอุณหภูมิคอลัมน์น้ำทะเลจะสามารถเป็นประโยชน์ต่อการติดตามตรวจสอบสถานการณ์ของปะการังซึ่งเป็นกระบวนการที่ค่อนข้างซับซ้อน พื้นที่ศึกษาทะเลมาบตาพุดซึ่งอยู่ติดกับนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด โดยปะการังในบริเวณนี้เกิดปรากฏการณ์การฟอกขาวทั้งหมด จุดมุ่งหมายหลักของการศึกษาในครั้งนี้เพื่อติดตามตรวจสอบอุณหภูมิน้ำทะเลโดยการพัฒนาแบบจำลองอุณหภูมิระหว่างผิวทะเลและดาวเทียมในพื้นที่ชายฝั่งทะเลมาบตาพุด อุณหภูมิผิวน้ำทะเลยังเป็นหนึ่งในตัวชี้วัดการเปลี่ยนแปลงทางสิ่งแวดล้อมของทะเล ภาพถ่ายดาวเทียมเป็นเครื่องมือที่ใช้ในการสำรวจพื้นโลกและมหาสมุทร โดยการใช้เทคนิคการรับรู้ระยะไกล การเก็บข้อมูลอุณหภูมิจะทำการเก็บ 24 ชั่วโมงเป็นจำนวนทั้งสิ้น 3 ครั้ง โดยใช้เครื่องวัดและติดตามอุณหภูมิ (HOBO data logger) โดยบันทึกอุณหภูมิผิวน้ำทะเลทุก 5 นาที เครื่องวัดและติดตามอุณหภูมิผูกติดกับทุ่นลอยใต้ผิวน้ำทะเลระยะ 0.5 เมตร และ ที่ระดับพื้นทะเล การเก็บตัวอย่างอุณหภูมิผิวน้ำทะเลเก็บในฤดูแล้งปีพ.ศ. 2561 ฤดูฝนปีพ.ศ. 2561 และฤดูแล้งปีพ.ศ. 2562 โดยเป้าหมายของการศึกษานี้เป็นการประยุกต์ใช้ภาพถ่ายดาวเทียมในการตรวจวัดอุณหภูมิผิวน้ำทะเล บริเวณมาบตาพุด ผลการศึกษาจากการประมาณค่าอุณหภูมิของดาวเทียม LANDSAT 8 แบนด์ 10 และ 11 ร่วมกับสร้างแบบจำลองด้วยข้อมูล SST, ข้อมูลบรรยากาศ และภาพถ่ายดาวเทียม LANDSAT 8 และถูกทดสอบความสัมพันธ์ถดถอย พบว่าแบนด์ 10 ของภาพถ่ายดาวเทียม LANDSAT 8 มีนัยยะสำคัญกับอุณหภูมิทะเล พบค่า r2 = 0.701 เมื่อนำแบบจำลองมาทำการปรับแก้กับข้อมูลอีกชุด พบค่า r2= 0.704