เทคโนโลยีพร้อมถ่ายทอด
ชื่อ
วิธีการปลูกผักเชียงดา
ชม 48 ครั้ง
64
เจ้าของ
ผศ.ปริญญาวดี ศรีตนทิพย์
เมล์
parinyawadee@rmutl.ac.th
รายละเอียด
สถาบันวิจัยเทคโนโลยีเกษตร มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา ได้รวบรวมและศึกษาวิจัยเพื่อคัดเลือกสายพันธุ์ผักเชียงดาที่ให้ผลผลิตสูงเพื่อเป็นต้นพันธุ์สำหรับการพัฒนาสายพันธุ์ที่มีปริมาณกรดจิมเนมิคและสารต้านอนุมูลอิสระสูง สำหรับใช้ประโยชน์ในอุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร มีจำนวน 2 สายต้นที่มีศักยภาพสูง คือ สายต้นเบอร์ 4 และ เบอร์ 6 ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ที่แตกต่างกันที่แตกต่างกันอย่างเห็นได้ชัด คือ สายต้นเบอร์ 4 มีลักษณะใบกลม หนา และยอดอวบสั้น ส่วนสายต้นเบอร์ 6 มีลักษณะใบยาวรี บาง และยอดยาว และมีปริมาณกรดจิมเนมิคในผักเชียงดาอบแห้งร้อยละ 1.51 – 1.53 (ปริมาณกรดจิมเนมิคที่มีผลต่อการลดน้ำตาลในเลือดควรมีไม่ต่ำกว่าร้อยละ 1.2)
บันทึกโดย
