เทคโนโลยีพร้อมถ่ายทอด
ชื่อ
การใช้วัคซีนสำหรับสัตว์เลี้ยง
ชม 1,377 ครั้ง
53
เจ้าของ
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตสุรินทร์
เมล์
dungrmut@hotmail.com
รายละเอียด
วัคซีน คือสารที่ใช้กระตุ้นร่างกายให้สร้างภูมิต้านทานโรค ช่วยป้องกันโรค ซึ่งอาจเป็นอันตรายถึงตายหรือเกิดความสูญเสียทางเศรษฐกิจขึ้นได้
สาเหตุโน้มนำที่ทำให้เกิดโรคในสัตว์
1. สภาพการเลี้ยงดู เช่นเลี้ยงปนกับสัตว์ฝูงอื่น คอกชื้นแฉะ อาหารไม่เหมาะสม อยู่อย่าแออัด คอกสกปรก
2.สิ่งแวดล้อมเช่น อากาศร้อนจัด พื้นที่ลุ่มแฉะ เป็นแหล่งเพาะพันธุ์เชื้อโรค แมลง
3.อายุ เพศและพันธุ์ของสัตว์ บางโรคเป็นกรรมพันธุ์ และโรคเกิดกับลูกสัตว์ได้มากกว่าสัตว์ที่โตเต็มวัย หรืออาจเป็นลักษณะเฉพาะตัวของสัตว์เอง
สิ่งที่ผู้เลี้ยงต้องทรายก่อนการทำวัคซีนให้แก่สัตว์
1.ฉีดวัคซีนให้แก่สัตว์ที่มีสุขภาพสมบูรณ์แข็งแรง และไม่เป็นโรคเท่านั้น เพื่อความสะดวกควรร่วมกันจัดทำซองฉีดวัคซีนประจำคอกหรือประจำหมู่บ้านเตรียมไว้
2.ศึกษารายละเอียดเกี่ยวกับการักษา และการให้วัคซีนตามคำแนะนำ เฉพาะวัคซีนแต่ละชนิด เพื่อให้วัคซีนมีประสิทธิภาพมากที่สุด
3.ใช้วัคซีนตามคำแนะนำของสัตวแพทย์เท่านั้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกรณีมีการเกิดโรคระบาดขึ้นแล้ว หรือเกิดโรคระบาดในบริเวณใกล้เคียง
4.ต้องใช้วัคซีน ก่อนวันหมดอายุที่แจ้งไว้ข้างขวด
5.อย่าให้วัคซีนถูกความร้อนหรือแสงแดด และให้วัคซีนให้ครบตามขนาดที่กำหนดไว้
6.อย่าให้วัคซีนกับสัตว์ที่กำลังนำไปฆ่าเป็นอาหาร
7.วัคซีนที่เหลือจากการใช้ควรทิ้งเสีย เพื่อหลีกเลี่ยงการปนเปื้อนด้วยเชื้อโรคอื่น ซึ่งทำให้คุณภาพวัคซีนลดลง
8.ขวดบรรจุวัคซีนหรือภาชนะที่ใช้ในการผสมวัคซีนเมื่อใช้แล้วควรต้มหรือเผาทำลายเชื้อก่อนทิ้ง
9.ส่วนมากแล้วสัตว์จะมีความคุ้มโรคหลังจากการให้วัคซีนแล้วประมาณ 15 วัน หากสัตว์ได้รับเชื้อในระยะนี้อาจป่วยเป็นโรคได้
10.ต้องให้วัคซีนซ้ำเมื่อหมดอายุการคุ้มโรคของวัคซีนแต่ละชนิด
11.วัคซีนแบบที่ต้องผสมกับน้ำยาละลาย เมื่อผสมแล้วต้องใช้ให้หมดภายใน 2 ชั่วโมง ระหว่างนั้นต้องเก็บไว้ในกระติกน้ำแข็ง
12.สัตว์บางตัวอาจเกิดอาการแพ้หลังจากการฉีดวัคซีน ดังนั้นควรกักดูอาการสัตว์ โดยไว้ในที่ร่ม ภายหลังฉีดวัคซีนแล้ว ประมาณ 1 ชั่วโมง ถ้าเกิดอาการแพ้ขึ้นให้สัตวแพทย์รักษา
13.วัคซีนที่เสื่อมสภาพ หมดอายุ มีการปนเปื้อน หรือสีวัคซีนที่เปลี่ยนไปห้ามนำมาใช้
14.การฉีดวัคซีนให้ได้ผล ต้องพยายามฉีดให้แก่สัตว์ทุกตัวในหมู่บ้าน ยิ่งปริมาณสัตว์ที่ได้รับวัคซีนมาก ระดับภูมิคุ้มกันโรคในฝูงก็ยิ่งสูง โอกาสที่โรคเข้าไประบาดได้จึงมีน้อย
15.สัตว์ป่วยหลังจากการได้รับเชื้อโรค หรือไม่ขึ้นอยู่กับปริมาณ และความรุนแรงของเชื้อที่เข้าสู่ร่างกายหากเชื้อโรคมีปริมาณและความรุนแรงมากอาจทำให้สัตว์เป็นโรคได้
16.ไม่ควรหวังผลจากการทำวัคซีนแต่เพียงอย่างเดียว การป้องกันการติดโรคจากแหล่งอื่น การจัดการและการสุขาภิบาลที่ดีจะช่วยป้องกันการเกิดโรคได้ดีที่สุด
ฉีดวัคซีนป้องกันโรคตามกำหนด
โรคระบาดสัตว์มีโอกาสเกิดขึ้นได้ตลอดเวลา และสร้างความเสียหายและยุงยากมาก จึงต้องฉีดวัคซีนเพื่อสร้างความต้านทานให้กับสัตว์ไว้เสมอ
ความสำคัญของการทำวัคซีน
บทบาท
1. ป้องกันโรค
2. ควบคุมโรค
3. กำจัดโรค
ผล
1. ไม่เป็นโรค
2. ลดจำนวนสัตว์ติดโรค
3. ปลอดโรคทั้งฟาร์มและพื้นที่นั้นๆทั้งประเทศ
ผลลัพธ์ที่ตามมา
1.ลดการสูญเสียจากการเป็นโรค
2. ป้องกันโรคจากประเทศเพื่อนบ้าน
3. ลดต้นทุนการผลิตปศุสัตว์
4. ลดการสูญเสียจากการเป็นโรค
5. ลดค่าใช้จ่าย
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตสุรินทร์ งานวิจัยและพัฒนา 145 หมู่ 15 ตำบลนอกเมือง อำเภอเมือง จังหวัดสุรินทร์ 32000
โทร.044-153062 ต่อ 140 แฟกซ์ 044-153064
สาเหตุโน้มนำที่ทำให้เกิดโรคในสัตว์
1. สภาพการเลี้ยงดู เช่นเลี้ยงปนกับสัตว์ฝูงอื่น คอกชื้นแฉะ อาหารไม่เหมาะสม อยู่อย่าแออัด คอกสกปรก
2.สิ่งแวดล้อมเช่น อากาศร้อนจัด พื้นที่ลุ่มแฉะ เป็นแหล่งเพาะพันธุ์เชื้อโรค แมลง
3.อายุ เพศและพันธุ์ของสัตว์ บางโรคเป็นกรรมพันธุ์ และโรคเกิดกับลูกสัตว์ได้มากกว่าสัตว์ที่โตเต็มวัย หรืออาจเป็นลักษณะเฉพาะตัวของสัตว์เอง
สิ่งที่ผู้เลี้ยงต้องทรายก่อนการทำวัคซีนให้แก่สัตว์
1.ฉีดวัคซีนให้แก่สัตว์ที่มีสุขภาพสมบูรณ์แข็งแรง และไม่เป็นโรคเท่านั้น เพื่อความสะดวกควรร่วมกันจัดทำซองฉีดวัคซีนประจำคอกหรือประจำหมู่บ้านเตรียมไว้
2.ศึกษารายละเอียดเกี่ยวกับการักษา และการให้วัคซีนตามคำแนะนำ เฉพาะวัคซีนแต่ละชนิด เพื่อให้วัคซีนมีประสิทธิภาพมากที่สุด
3.ใช้วัคซีนตามคำแนะนำของสัตวแพทย์เท่านั้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกรณีมีการเกิดโรคระบาดขึ้นแล้ว หรือเกิดโรคระบาดในบริเวณใกล้เคียง
4.ต้องใช้วัคซีน ก่อนวันหมดอายุที่แจ้งไว้ข้างขวด
5.อย่าให้วัคซีนถูกความร้อนหรือแสงแดด และให้วัคซีนให้ครบตามขนาดที่กำหนดไว้
6.อย่าให้วัคซีนกับสัตว์ที่กำลังนำไปฆ่าเป็นอาหาร
7.วัคซีนที่เหลือจากการใช้ควรทิ้งเสีย เพื่อหลีกเลี่ยงการปนเปื้อนด้วยเชื้อโรคอื่น ซึ่งทำให้คุณภาพวัคซีนลดลง
8.ขวดบรรจุวัคซีนหรือภาชนะที่ใช้ในการผสมวัคซีนเมื่อใช้แล้วควรต้มหรือเผาทำลายเชื้อก่อนทิ้ง
9.ส่วนมากแล้วสัตว์จะมีความคุ้มโรคหลังจากการให้วัคซีนแล้วประมาณ 15 วัน หากสัตว์ได้รับเชื้อในระยะนี้อาจป่วยเป็นโรคได้
10.ต้องให้วัคซีนซ้ำเมื่อหมดอายุการคุ้มโรคของวัคซีนแต่ละชนิด
11.วัคซีนแบบที่ต้องผสมกับน้ำยาละลาย เมื่อผสมแล้วต้องใช้ให้หมดภายใน 2 ชั่วโมง ระหว่างนั้นต้องเก็บไว้ในกระติกน้ำแข็ง
12.สัตว์บางตัวอาจเกิดอาการแพ้หลังจากการฉีดวัคซีน ดังนั้นควรกักดูอาการสัตว์ โดยไว้ในที่ร่ม ภายหลังฉีดวัคซีนแล้ว ประมาณ 1 ชั่วโมง ถ้าเกิดอาการแพ้ขึ้นให้สัตวแพทย์รักษา
13.วัคซีนที่เสื่อมสภาพ หมดอายุ มีการปนเปื้อน หรือสีวัคซีนที่เปลี่ยนไปห้ามนำมาใช้
14.การฉีดวัคซีนให้ได้ผล ต้องพยายามฉีดให้แก่สัตว์ทุกตัวในหมู่บ้าน ยิ่งปริมาณสัตว์ที่ได้รับวัคซีนมาก ระดับภูมิคุ้มกันโรคในฝูงก็ยิ่งสูง โอกาสที่โรคเข้าไประบาดได้จึงมีน้อย
15.สัตว์ป่วยหลังจากการได้รับเชื้อโรค หรือไม่ขึ้นอยู่กับปริมาณ และความรุนแรงของเชื้อที่เข้าสู่ร่างกายหากเชื้อโรคมีปริมาณและความรุนแรงมากอาจทำให้สัตว์เป็นโรคได้
16.ไม่ควรหวังผลจากการทำวัคซีนแต่เพียงอย่างเดียว การป้องกันการติดโรคจากแหล่งอื่น การจัดการและการสุขาภิบาลที่ดีจะช่วยป้องกันการเกิดโรคได้ดีที่สุด
ฉีดวัคซีนป้องกันโรคตามกำหนด
โรคระบาดสัตว์มีโอกาสเกิดขึ้นได้ตลอดเวลา และสร้างความเสียหายและยุงยากมาก จึงต้องฉีดวัคซีนเพื่อสร้างความต้านทานให้กับสัตว์ไว้เสมอ
ความสำคัญของการทำวัคซีน
บทบาท
1. ป้องกันโรค
2. ควบคุมโรค
3. กำจัดโรค
ผล
1. ไม่เป็นโรค
2. ลดจำนวนสัตว์ติดโรค
3. ปลอดโรคทั้งฟาร์มและพื้นที่นั้นๆทั้งประเทศ
ผลลัพธ์ที่ตามมา
1.ลดการสูญเสียจากการเป็นโรค
2. ป้องกันโรคจากประเทศเพื่อนบ้าน
3. ลดต้นทุนการผลิตปศุสัตว์
4. ลดการสูญเสียจากการเป็นโรค
5. ลดค่าใช้จ่าย
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตสุรินทร์ งานวิจัยและพัฒนา 145 หมู่ 15 ตำบลนอกเมือง อำเภอเมือง จังหวัดสุรินทร์ 32000
โทร.044-153062 ต่อ 140 แฟกซ์ 044-153064
บันทึกโดย