เทคโนโลยีพร้อมถ่ายทอด
ระบบก๊าซชีวภาพแบบฝาคลอบลอย
ระบบบ่อหมักก๊าซแบบฝาลอย เป็นถังหมักแบบอินเดีย ตัวถังทำจากวงบ่อซีเมนต์ ด้านข้างจะเป็นช่องเติมมูลละช่องมูลล้น
ด้านบนที่เป็นฝาลอยทำจากโลหะ ซึ่งเป็นที่สำหรับเก็บก๊าซสามารถลอยตัวขึ้นได้-ลงได้ ขึ้นอยู่กับความดันของก๊าซที่เกิดขึ้น
ซึ่งความดันภายในถังหมักสามารถเปลี่ยนแปลงได้โดยบกเพิ่มหรือลดน้ำหนัดที่ฝาลอยนี้
จากการทดสอบการใช้จริง ก๊าซชีวภาพจากฝาครอบลอยชนิดใส่มูลสัตวฺและชนิดใส่เศษอาหาร (ผสมมูลสัตว์ในการหมักครั้งแรกประมาณ 40 ถังสี) เมื่อเติครบจำนวนแล้วประมาณ 20-30 วัน
จะเริ่มเกิดก๊าซชีวภาพ ความสามารถในการผลิตก๊าซชีวภาพ เฉลี่ยต่อวัน
ชนิดมูลสัตว์จะผลิตก๊าซชีวภาพ ได้ 1.67 ลบ.ม. ทดแทนแก๊สหุงต้นได้ 0.77 กก.
ชนิดเศษอาหารจะผลิตก๊าซชีวภาพได้ 1.13 ลบ.ม. ทดแทนแก๊สหุงต้ม(LPG) ได้ 0.52 กก. เพียงพอต่อการทดแทน LPG ในครัวเรือนได้ 100%
คิดเป็นมูลค่าปีละ 1,600 - 2,400 บาท ต่อปี