เทคโนโลยีพร้อมถ่ายทอด
เป็นขนมอบที่ใช้แป้งจากกล้วยน้ำว้าทดแทนแป้งสาลีบางส่วนในผลิตภัณฑ์ขนมอบ โดยสามารถใช้แป้งกล้วยทดแทนได้ร้อยละ 10-50 ตามลักษณะเฉพาะของผลิตภัณฑ์แต่ละชนิด เป็นการส่งเสริมสนับสนุนให้มีการใช้วัตถุดิบท้องถิ่นให้มีบทบาทในการพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหาร ขนมอบดังกล่าวนี้ ได้แก่ คุกกี้เนยสด คุกกี้กล้วยกรอบ คุกกี้กล้วยตาก บราวนี่ เค้กเนยสด เค้กกล้วยหอม เค้กกล้วยน้ำว้า เค้กกล้วยตาก ขนมปังแซนด์วิช ขนมปังปอนด์ ขนมปังขาไก่ ขนมปังซอฟต์บันน์ ทาร์ตกล้วย ขนมเปี๊ยะกุหลาบ ขนมเปี๊ยะทานตะวัน ขนมไหว้พระจันทร์ เอแคลร์ครีมกล้วย แครกเกอร์ชนิดทอดและแครกเกอร์ชนิดอบ มีการพัฒนาบรรจุภัณฑ์ จัดทำเอกสารแบบเรียนรู้ด้วยตนเองเรื่องขนมอบจากแป้งกล้วย และสื่อวีดิทัศน์เรื่องแป้งกล้วยและผลิตภัณฑ์อาหาร มีการบูรณาการไปสู่งานบริการสังคมโดยถ่ายทอดเทคโนโลยีแก่ชุมชนในโครงการคลินิกเทคโนโลยีและใช้ประโยชน์ในการผลิตจำหน่ายในร้านค้ามหาวิทยาลัยและงานนิทรรศการต่างๆ
รายละเอียดผู้รับบริการ
วันที่ถาม : 24/08/2564
คำถาม : อยากได้สูตรขนมจากแป้งกล้วยค่ะ|533|M
คำตอบ : ความรู้ทั่วไป แป้งกล้วยเป็นผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการนำกล้วยดิบมาแปรรูปเป็นแป้ง เพื่อเป็นการถนอมอาหาร และสามารถนำไปเป็นส่วนประกอบในผลิตภัณฑ์อาหารต่าง ๆ ได้แก่ ผลิตภัณฑ์ขนมอบ และผลิตภัณฑ์ขนมไทย กล้วยดิบมีคุณค่าทางโภชนาการสูง ประกอบด้วย น้ำ แป้ง โปรตีน ไขมัน เส้นใย วิตามิน เกลือแร่ต่าง ๆ โดยมีปริมาณแป้ง แคลเซียม เหล็ก และโปแตสเซียม สูงกว่าแป้งหลายชนิด เช่น แป้งข้าวโพด แป้งมันสำปะหลัง เป็นต้น นอกจากนี้ ยังมีสารอื่น ๆ ได้แก่ เอนไซม์ เพคติน แทนนิน ฯลฯ มีการใช้กล้วยดิบเพื่อเป็นยา โดยทำให้แห้งแล้วบดผสมกับน้ำหรือน้ำผึ้งเพื่อป้องกันและรักษาแผลในกระเพาะอาหาร แก้ท้องเสีย นอกจากนี้ กล้วยดิบยังมีฤทธิ์ป้องกันเชื้อราและแบคทีเรียอีกด้วย แป้งกล้วยจะมีกลิ่นเฉพาะตัว มีคุณสมบัติทางกายภาพที่ดีรวมตัวกับน้ำได้ดี คือ เมื่อได้รับความร้อนจะพองตัวใส เมื่อปล่อยให้เย็นจะลักษณะคล้ายวุ้น เนื่องจากเป็นแป้งที่มีอะไมโลสสูง จึงทำให้มีคุณสมบัติพิเศษเหมาะที่จะนำมาทดแทนแป้งสาลีในผลิตภัณฑ์ขนมอบได้ดี บางชนิดของผลิตภัณฑ์สามารถทดแทนได้สูงถึง ร้อยละ 50 คุณภาพของแป้งกล้วย จะขึ้นอยู่กับกรรมวิธีการผลิต ความสะอาด และความสุกของกล้วยเป็นสำคัญ กล้วยดิบจะมีปริมาณแป้งและแทนนินสูง ปริมาณน้ำตาลน้อย การสุกของกล้วยทำให้คุณค่าทางอาหารเปลี่ยนไป โดยเฉพาะแป้ง จะลดลงเปลี่ยนเป็นน้ำตาลมากขึ้น ทำให้กล้วยมีรสหวาน โดยเฉพาะกล้วยหอม กล้วยไข่ แป้งจะลดลงอย่างมาก เมื่อกล้วยสุก และปริมาณกรดค่อนข้างต่ำ แต่กล้วยน้ำว้า กล้วยหักมุก มักมีแป้งมากเมื่อดิบ เมื่อสุกปริมาณแป้งก็ยังมากอยู่ จึงทำให้กล้วยมีลักษณะเหนียว และมีรสเปรี้ยวเล็กน้อย ค่าความเป็นกรด ด่าง (pH) ของเนื้อผลดิบ จะอยู่ 5.0-5.8 คือ เนื้อผลจะมีปริมาณกรดสูงสุดและจะลดลงเมื่อผลใกล้สุกหรือกำลังสุก ค่าความเป็นกรดของผลสุกอยู่ระหว่าง 4.2-4.8 กรดที่พบมากที่สุดในผลดิบ คือกรดออกซาลิก รองลงมาคือมาลิก และซิตริก แต่เมื่อผลสุก จะมีปริมาณกรดออกซาลิกลดลง ทำให้ปริมาณกรดมาลิกสูงที่สุด กล้วยดิบที่มีคุณสมบัติเหมาะสมที่จะนำมาผลิตแป้งจะต้องมีเปอร์เซ็นต์ความสุกอยู่ในช่วง 70 - 80 % ถ้าใช้กล้วยดิบมากเกินไปจะมีปริมาณแทนนินสูง เมื่อนำแป้งกล้วยไปผสมในผลิตภัณฑ์จะทำให้มีรสฝาด ในกรณีที่กล้วยสุกมากเกินไป ปริมาณน้ำตาลสูง จะมีผลต่อกระบวนการผลิตแป้ง และมีผลต่อกลิ่น รสชาติของผลิตภัณฑ์ ส่วนน้ำตาลที่พบในผลสุกส่วนใหญ่จะเป้นน้ำตาลกลูโคส รองลงมาเป็นฟรุกโทส และซูโครส ตามลำดับ วิธีสังเกตความสุกของกล้วย การสังเกตว่ากล้วยมีความสุกร้อยละ 70-80 นั้น คือ 1) เหลี่ยมของผลกล้วย กล้วยที่มีความสุกประมาณ 70-80% นั้น เป็นกล้วยที่ยังสุกไม่เต็มที่ ผลกล้วยยังมีเหลี่ยม แต่การดูเหลี่ยมนี้ ใช้ได้เฉพาะกล้วยน้ำว้า กล้วยหอม กล้วยไข่ เท่านั้น 2) สีผิวของผลและอายุเป็นเกณฑ์ กล้วยบางชนิด เช่น กล้วยหักมุก กล้วยกล้าย สังเกตความสุกจากเหลี่ยมไม่ได้ เพราะกล้วยเหล่านี ถึงแม้สุกเต็มที่แล้ว ผลกล้วยก็ยังมีเหลี่ยมชัดเจน จึงต้องดูที่สีผิวของผลกล้วยและอายุเป็นเกณฑ์ โดยนับจำนวนวันตั้งแต่กล้วยแทงช่อดอกหรือแทงปลีออกมาจนถึงวันที่เก็บเกี่ยวมาทำเป็นวัตถุดิบ ซึ่งจะแตกต่างกันไป เช่น กล้วยน้ำว้า และกล้วยหักมุกมีอายุ 14-16 สัปดาห์ กล้วยหอม 13-15 สัปดาห์ กล้วยไข่ 6-8 สัปดาห์ การเกิดสีน้ำตาลในแป้งกล้วย เกิดจากปฏิกิริยาการเติมออกซิเจนของสารจำพวก ฟีนอล หรือ โพลีฟินอล โดยมีเอนไซม์ ฟีนอลออกซิเดส ฟีนอลเลส โพลีฟีนอลออกซิเดส และโพลีฟีนอลเลส เป็นตัวเร่งปฏิกิริยา เมื่อปอกเปลือกหรือหั่นกล้วยทิ้งไว้สักครู่จะเกิดสีน้ำตาลหรือสีคล้ำขึ้น ซึ่งสามารถป้องกันไม่ให้สัมผัสกับอากาศ ใช้สารเคมีทำลายเอนไซม์ปรับค่าความเป็นกรดด่าง (pH) ให้เป็นกรด เป็นต้น ซึ่งในกระบวนการผลิตแป้งกล้วยใช้สารเคมีเพราะเป็นวิธีที่สะดวก ราคาถูก และไม่มีผลกระทบต่อคุณภาพของแป้งกล้วย สารเคมีที่ใช้เพื่อป้องกันการเกิดสีน้ำตาลในแป้งกล้วย คือ สารละลาย โซเดียมเมตาไบซัลไฟต์หรือสารละลายโปแตสเซียมเมตาไบซัลไฟต์ ความเข้มข้นร้อยละ 0.1 แป้งกล้วยที่ผลิตโดยกรรมวิธีอบแห้ง หรือตากแดดจนแห้งที่อุณหภูมิ 55-60 องศาเซลเซียส แป้งที่ได้สีจะไม่ขาวเหมือนแป้งจากธัญพืชประเภทหัว เนื่องจากไม่ได้ผ่านกระบวนการฟอกสี เมื่อนำไปเป็นส่วนผสมในผลิตภัณฑ์ขนมอบกรอบ หรือขนมไทยผลิตภัณฑ์อาหารที่ได้มีลักษณะทางกายภาพดีจัดเป็นอาหารสุขภาพ นอกจากนี้ แป้งกล้วยมีคุณสมบัติ ช่วยยืดอายุการเก็บของผลิตภัณฑ์อาหารได้นานกว่าใช้แป้งสาลีหรือแป้งข้าวจ้าวอย่างเดียว เนื่องจากแป้งกล้วยดิบมีฤทธิ์ต้านเชื้อราและแบคทีเรีย การวิเคราะห์องค์ประกอบทางเคมีของแป้งกล้วย (กล้วยน้ำว้า) แป้ง ร้อยละ 84.87 โปรตีน ร้อยละ 2.24 ไขมัน ร้อยละ 0.22 เยื่อใย ร้อยละ 0.21 เถ้า ร้อยละ 2.08 ความชื้น ร้อยละ 10.38 กระบวนการทำแป้งกล้วย เริ่มจากการนำกล้วยน้ำว้ามาล้างทำความสะอาด จากนั้นนำไปลวกในน้ำเดือด เป็นเวลา 45 วินาที จากนั้นนำมาแช่ในน้ำเย็น ปอกเปลือกและหั่นเป็นชิ้นบาง ๆ และนำไปแช่ในสารละลายโซเดียมเมตาไบซัลไฟต์ 0.1% เป็นเวลา 30 นาที จากนั้นนำไปผึ่งให้สะเด็ดน้ำ เป็นเวลา 30 นาที ก่อนจะนำไปอบที่อุณหภูมิ 55-60 องศาเซลเซียส หรือตากแดดจนแห้งสนิท จากนั้นจึงนำไปบดให้เป็นผง ร่อนผ่านตะแกรงร่อนชนิดตาถี่ และบรรจุลงในภาชนะที่มีฝาปิดสนิท
การดำเนินงานจากเครือข่าย
วันที่ถาม : 12/05/2563
คำถาม : น้ำส้มควันไม้
คำตอบ :
การดำเนินงานจากเครือข่าย