เทคโนโลยีพร้อมถ่ายทอด
ผลิตภัณฑ์ชุมชน ตราเคียงเลย
1. การใช้ประโยชน์ในเชิงสาธารณะ
1.1 งานวิจัยสร้างองค์ความรู้แก่สาธารณชนในเรื่ององค์ความรู้ด้านการแปรรูปผลิตภัณฑ์ผ่านสื่อออนไลน์ https://www.youtube.com/watch?v=TkjtXIuK8QU องค์ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการผลิต
1.2 การนำองค์ความรู้ไปพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนให้ดีขึ้น โดยเฉพาะมิติทางสังคม เป็นการสนับสนุนเกษตรกรเพื่อสร้างอาชีพ เสริมคุณภาพชีวิต ใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ เช่น เกิดการดำเนินกิจกรรมของกลุ่มอย่างต่อเนื่องโดยมีการเชื่อมโยงกับการท่องเที่ยว และเป็นศูนย์การเรียนรู้แหล่งผลิตสินค้าชุมชนที่ได้รับมาตรฐาน
2. การใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์
2.1 งานวิจัยนำไปสู่การพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ และต่อยอดผลิตภัณฑ์
โดยใช้สีสกัดจากธรรมชาติ ได้แก่ สีขาว จากเนื้อมะพร้าว สีชมพู จากแก้วมังกร สีม่วง จากดอกอัญชัญ สีเหลือง จากขมิ้น และสีเขียว จากใบเตย
3. งานวิจัยนำไปสู่การพัฒนาผลิตภัณฑ์ซึ่งก่อให้เกิดรายได้
ปี พ.ศ. 2545 มะพร้าวอ่อนแก้ว 1 กก./120 บาท ยอดจำหน่ายต่อปี(บาท)2,000-3,000ช่องทางการตลาดภายในแหล่งท่องเที่ยว (แก่งคุดคู้) ปี พ.ศ. 2551 มะพร้าวอ่อนแก้ว 1 กก./120 บาท ยอดจำหน่ายต่อปี(บาท)10,000ช่องทางการตลาดภายในจังหวัดเลย/ต่างจังหวัด/งานแสดงสินค้าของหน่วยงาน ปี พ.ศ. 2555 ถึงปัจจุบัน มะพร้าวแก้วเบญจรงค์ 1 กก./500 บาท - มะพร้าวแก้วเบญจรงค์ (แต่ละสี) 50 กรัม/ 65 บาท ยอดจำหน่ายต่อปี(บาท)50,000ช่องทางการตลาดภายในจังหวัดเลย/ต่างจังหวัด/งานแสดงสินค้าของหน่วยงาน/ต่างประเทศ