เทคโนโลยีพร้อมถ่ายทอด
ชื่อ
ระบบผลิตไบโอดีเซลจากกรดไขปาล์ม แบบต่อเนื่องด้วยเครื่องปฏิกรณ์ท่อผสม แบบสถิตร่วมกับคลื่นเสียงอัลตราโซนิก
ชม 245 ครั้ง
52
เจ้าของ
ผศ.ดร.กฤช สมนึก และคณะ ศูนย์วิจัยเทคโนโลยีพลังงาน คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
เมล์
-
รายละเอียด
คุณลักษณะของผลงาน / จุดเด่น
เทคโนโลยีนี้เป็นเครื่องต้นแบบทางวิศวกรรมเพื่อนำไปสู่ข้อมูลพื้นฐานของการผลิตไบโอดีเซลจากน้ำมันกรดไขมันอิสระต่ำไปจนถึงระดับสูงมากด้วยท่อผสมแบบสถิตร่วมกับการใช้คลื่นอัลตราโซนิก ซึ่งเทคโนโลยีดังกล่าวจะทำให้ของเหลวผสมกันได้ดีในระดับโมเลกุลด้วยปรากฏการณ์แคปวิเตชัน (cavitation) ช่วยเร่งปฏิกิริยาได้เร็วกว่าใบกวน ช่วยลดพื้นที่ในการติดตั้งระบบ ช่วยลด
ปริมาณสารเคมีในการทำปฏิกิริยา ด้วยเหตุผลทั้งหมดนี้จะช่วยลดต้นทุนในการผลิตไบโอดีเซล และผลงานวิจัยนี้
ได้รับตีพิมพ์ผลงานทางวิชาการ ในวารสารระดับนานาชาติ11 บทความ ตีพิมพ์ผลงานวารสารระดับชาติ 2 บทความนำเสนอผลงานในการประชุมวิชาการระดับชาติ 5 บทความอนุสิทธิบัตรไทย 3 เรื่อง และได้รับรางวัลระดับนานาชาติ 3 รางวัล รางวัลระดับชาติ 5 รางวัล ซึ่งทั้งหมดเป็นองค์ความรู้ที่ได้จากการทำวิจัยจากวัตถุดิบ วัสดุ และอุปกรณ์ที่หาได้
ภายในประเทศ ซึ่งประเทศสามารถจะนำความรู้นี้มาใช้งานได้ทันทีเมื่อมีความต้องการ อีกทั้งผลงานตีพิมพ์ต่างๆ มี
ผลกระทบเชิงบวกทางด้านวิชาการทำให้ทราบว่าวารสารชั้นนำในหลายประเทศ ยอมรับในองค์ความรู้ที่ได้จากงานวิจัยนี้ซึ่งจะมีผลทางอ้อมและทางตรงต่อภาพลักษณ์คุณภาพของงานวิจัยของประเทศไทย
การนำไปใช้ประโยชน์
ปัจจุบันระบบผลิตไบโอดีเซลจากกรดไขปาล์มแบบต่อเนื่องด้วยเครื่องปฏิกรณ์ท่อผสมแบบสถิตร่วมกับคลื่นเสียงอัลตราโซนิก ได้เผยแพร่ในรูปแบบการจัดอบรม การตีพิมพ์ในวารสารและการประชุมวิชาการ โดยระบบได้ออกแบบไว้ทั้งผลิตไบโอดีเซลได้ทั้ง น้ำมันที่มีกรดไขมันอิสระต่ำจนถึงสูงได้ เช่น น้ำมันพืช
ใช้แล้ว น้ำมันปาล์มดิบ ส่วนกลั่นกรดไขปาล์มซึ่งผู้วิจัยเสนอแนะว่าการใช้ท่อผสมแบบสถิตจะเหมาะสมกับชุมชนมากกว่า เนื่องจากต้นทุนของเทคโนโลยีชนิดนี้ไม่สูงมากนัก แต่ต้นทุนด้านสารเคมีจะสูงกว่าเครื่องปฏิกรณ์คลื่นเสียงอัลตราโซนิกชนิดแคลมป์ท่อ อีกทั้งกระบวนการนี้มีเครื่องต้นแบบแล้วสามารถสร้างระบบขนาดใหญ่ได้
บันทึกโดย