เทคโนโลยีพร้อมถ่ายทอด
ประเทศไทยเป็นประเทศเกษตรกรม ผลิตผลที่ได้จากการเกษตรนอกจากใช้บริโภคในประเทศแล้ว ยังส่งชายไปตางประเทศ นำเงินตราเข้าประเทศปีละหลายแสนล้านบาท ความเสียหายของผลิตผลทางการเกษตรส่วนใหญ่เกิดจากแมลงศัตรูพืช ซึ่งก็มีวิธีกำจัดหลายวิธี วิธีที่เกหษตรกรใช้ปรจำคือการใช้สารเคมี ซึ่งจะมีผลข้างเคียงต่อสิ่งแวดล้อมและสุขภาพทั้งของผู้ปลูกและผู้ยริโภค แต่ก็มีเทคนิคใหม่ที่น่าสนใจอย่างมาก และเป็นเทคโนโลยีที่สะอาด คือ เทคนิคการใช้แมลงที่เป็นหมัน(Sterile Insect Technique, STI) ที่ใช้กันทั่วโลก
เทคนิคการใช้แมลงที่เป็นหมัน เป็นการใช้แมลงชนิดเดียวกันควบคุมแมลงชนิดเดียวกัน ไม่ให้มีจำนวนประชากรของแมลงมากจนเป็นอันตรายต่อพืชผลทางการเกษตร ขั้นตอนของเทคนิคการใช้แมลงที่เป็นหมัน ประกอบด้วย
1. การเลี้ยงแมลงในโรงเพาะเลี้ยงแมลงจำนวนมาก
2. การทำหมันแมลงที่เลี้ยงด้วยการฉายรังสี
3. การปล่อยแมลงที่ทำหมันออกไปแข่งขันผสมพันธ์กับแมลงที่มีอยู่ในธรรมชาติ
ผลของการใช้ เทคนิคการใช้แมลงที่เป็นหมัน ทำให้ตัวเมียวางไข่ที่ไม่สามารถฟักออกเป็นตัวหนอน(ไม่มีลูก) แต่ต้องปล่อยแมลงที่เป็นหมันให้มากกว่าแมลงที่มีอยู่ในธรรมชาติ นอกจากนี้เพื่อให้ได้ผลที่มีประสิทธิภาพ ควรใช้เทคนิคการใช้แมลงที่เป็นหมัน ร่วมกับวิธีทางธรรมชาติอื่น ๆ เช่น การใช้ตัวห้ำ ตัวเบียน(parasite and predator) การใช้กับดักพืชอาศัย(trap crop) การใช้พืชต้านทาน(host plant resistance) การยับยั้งการผสมพันธุ์ของแมลง(mating inhibitor) และการใช้วิธีทางฟิสิกส์
การควบคุมแมลงในพื้นที่กว้างด้วยเทคนิคการใช้แมลงที่เป็นหมัน ต้องการความรู้เฉพาะ และต้องได้รับความร่วมมือจากผู้มีส่วนได้เสีย(Stakeholder) ทั้งหมด เช่น ผู้ผลิต เกษตรกร พ่อค้า ผู้ส่งออก นักวิทยาศาสตร์ นักส่งเสริมการเกษตร นักสิ่งแวดล้อม นักเศรษฐศาสตร์ นักการเมือง จึงจะทำให้การดำเนินงานมีประสิทธิภาสูงสุด
ญหาความเสียหายของผลิตผลการเกษตรในระหว่างการเก็บรักษา ส่วนใหญ่เกิดจากการทำลายของแมลง การกำจัดแมลงโดยใช้สารฆ่าแมลง ทำให้แมลงสร้างความต้านทาน นอกจากนี้ ยังเกิดปัญหาพิษตกค้างในผลิตผลการเกษตรและสิ่งแวดล้อม การใช้รังสีกำจัดแมลง เป็นวิธีที่มีประสิทธิภาพ และได้ดำเนินงานวิจัยทั่วโลกประมาณ 50 ปีแล้ว สำหรับประเทศไทย ได้มีงานวิจัยมากว่า 30 ปี การฉายรังสี มีผลทำให้แมลงไม่มารถมีชีวิตรอดและแพร่พันธุ์ได้ ไม่มีพิษตกค้าง คุณภาพของผลิตผลเหมือนเดิม สำหรับพืชผัก ผลไม้ จะสุกช้าลง และวิธีการนี้ ยังสามารถใช้ร่วมกับวิธีการอื่น เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการกำจัดแมลงได้ด้วย
แมลงวันผลไม้ ทำลายผลไม้ต่าง ๆ เช่น มะละกอ มะม่วง ชมพู่ ฝรั่ง กระท้อน
มอดฟันเลื่อย ทำลายเมล็ดธัญพืช และสมุนไพร
มอดแป้ง ทำลายเมล็ดธัญพืช และผลิตภัณฑ์แป้ง
มอดยาสูบ ทำลายสมุนไพร และผลไม้
ผีเสื้อข้าวสาร ทำลายข้าวสาร
ผลิตผลการเกษตรที่ถูกแมลงทำลาย แบ่งเป็น
แมลงศัตรูผลิตผลการเกษตร แบ่งเป็น
ความปลอดภัยของผลิตผลการเกษตรฉายรังสี
ผลิตผลการเกษตรที่อนุญาตให้ฉายรังสี เพื่อควบคุมการแพร่พันธุ์ของแมลง ระหว่างการเก็บรักษา ตามประกาศของกระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่ 103 (พ.ศ. 2529) ได้แก่ เมล็ดโกโก้ พุทราแห้ง มะละกอ ถั่ว ข้าว เครื่องเทศ ปลาและผลิตภัณฑ์ปลา ข้าวสาลีและผลิตภัณฑ์ข้าวสาลี โดยปริมาณรังสีสูงสุดที่อนุญาตคือ 1 กิโลเกรย์ ทั้งนี้ จะต้องแสดงฉลากเครื่องหมายอาหารฉายรังสี ให้ผู้บริโภคทราบ ในสหรัฐอเมริกา สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (USFDA) ได้ประกาศรับรองเรื่องความปลอดภัยของอาหารฉายรังสี และยอมให้จำหน่ายแก่ประชาชนบริโภคได้ในปี พ.ศ. 2529
เรื่องเล่าความสำเร็จ สามารถเข้าไปดูได้ที่ หมู่บ้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี หมู่บ้านมังคุดเพื่อการส่งออก ต.ตรอกนอง อ.ขลุง จ.จันทบุรี
สนใจติดต่อขอข้อมูลการฉายรังสีผลิตผลการเกษตรเพื่อกำจัดแมลงได้ที่..
คุณสุชาดา เสกสรรค์วิริยะ คุณวณิช ลิ่มโอภาสมณี และคุณประพนธ์ ปราณโสภณ
โทร.: 02 5795230 ต่อ 2423
อีเมล: suchadas@oaep.go.th
http://www.tint.or.th