เทคโนโลยีพร้อมถ่ายทอด
เพื่อแปรรูปมะนาวเพื่อพัฒนากรรมวิธีการผลิตมะนาวผงให้มีประสิทธิภาพและอยู่ในสภาพที่เก็บรักษาได้นานและเป็นที่ยอมรับของผู้บริโภค และสามารถถ่ายทอดการผลิตมะนาวผงในระดับอุตสาหกรรม
การทำน้ำมะนาวทำให้อยู่ในรูปผงแห้งโดยวิธีการทำแห้งแบบพ่นฝอย (Spray drier)เมื่อเวลาใช้ก็นำมาละลายน้ำตามสัดส่วนที่กำหนด จะช่วยให้มีน้ำมะนาวใช้ในราคาถูกตลอดปี จากแนวคิดดังกล่าวจึงเป็นแนวทางหนึ่งในการผลิตน้ำมะนาวในรูปผงแห้งในระดับอุตสาหกรรมต่อไป
วัตถุประสงค์
เพื่อแปรรูปมะนาวเพื่อพัฒนากรรมวิธีการผลิตมะนาวผงให้มีประสิทธิภาพและอยู่ในสภาพที่เก็บรักษาได้นานและเป็นที่ยอมรับของผู้บริโภค และสามารถถ่ายทอดการผลิตมะนาวผงในระดับอุตสาหกรรม
ผลการทดลอง
เนื่องจากมะนาวสดมีราคาตกต่ำในช่วงฤดูฝน ทำให้เกษตรกรผู้ผลิตได้รับความเดือดร้อนมาก จึงได้ทำการแปรรูปน้ำมะนาวให้เป็นมะนาวผง เพื่อให้เก็บรักษาไว้ได้นานโดยยังมีคุณภาพดี ในการทดลองได้ใช้ น้ำมะนาว ผสมกับ glucose syrup DE26 ในอัตราส่วน 100 :30 เพื่อเพิ่มเปอร์เซ็นต์ของแข็งเพราะในน้ำมะนาวมีเปอร์เซ็นต์ของแข็ง (soluble solid) อยู่น้อย และมีการเติมน้ำมันหอมระเหยซึ่ง
ได้จากการกลั่นผิวมะนาวลงไป 0.3% หลังทำแห้ง เพื่อรักษากลิ่นมะนาวไว้ และเติมสาร anticaking (โซเดียม แมกนีเซียม อะลูมิโนซิลิเคท) 0.8% เพื่อป้องกันไม่ให้มะนาวผงเกาะติดกันเป็นก้อน
ในการทดลองทำแห้งโดยการทำแห้งแบบพ่นฝอย (Spray dry) ในการผลิตระดับโรงงานได้ทำการต้มผลมะนาวที่อุณหภูมิ 100 องศาเซลเซียส นาน 1 นาที ก่อนคั้นน้ำมะนาว พบว่าช่วยลดความขมจากสารให้รสขมที่เปลือกหรือผิวมะนาวลงได้ การทำแห้งใช้อุณหภูมิขาเข้าที่ 150-155 องศาเซลเซียส และอุณหภูมิขาออกที่ 90-95 องศาเซลเซียส พบว่ามะนาวผงที่ได้มีคุณภาพดี และผลผลิตในการทำแห้งมะนาวผงคิดเป็น 22 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งมีกำลังการผลิตต่อ 1 ชั่วโมงสามารถผลิตมะนาวผงได้ 1.65 กิโลกรัม ผลิตภัณฑ์มะนาวผงที่ได้ทำการบรรจุในถุงอะลูมิเนียมภายใต้ระบบสูญญากาศ ซึ่งจะทำ
ให้เก็บได้ 6 เดือนถึง 1 ปีอุณหภูมิห้อง โดยยังคงมีคุณภาพดี
แหล่งข้อมูลเพิ่มเติม
ภาควิชาเทคโนโลยีชีวภาพ คณะอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
รายละเอียดผู้รับบริการ
วันที่ถาม : 04/06/2563
คำถาม : รบกวนสอบถาม การทำมะนาวผงค่ะ ถ้าเราไม่มีเครื่อง พ่นฝอย (ไม่มีทุนซื้อเครื่อง) รบกวนขอคำแนะนำหน่อยค่ะ ต้องติดต่อที่ใหนคะ อยากทำขายแบรนตัวเองค่ะ มะนาวเยอะค่ะ|406|M
คำตอบ :
การดำเนินงานจากเครือข่าย
วันที่ถาม : 22/05/2563
คำถาม : สอบถามราคา จักรยานปั้ม|12|M
คำตอบ :
การดำเนินงานจากเครือข่าย
วันที่ถาม : 28/05/2561
คำถาม : ขอข้อมูลเพื่อใช้ประกอบการฝึกอบรมเกษตรกรการผลิตน้ำส้มสายชูจากสับปะรด หากท่านยินดีมาเป็นวิทยากรก็จะดีมากค่ะ
คำตอบ :
ทางสถาบันวิจัยและพัฒนา ยินดีให้ข้อมูลครับ จะรบกวนติดต่อนักวิจัยที่ดูแล คุณพรพิมล ควรรณสุ อีเมลล์ pornpimon.kavan@gmail.com หมายเลขโทรศัพท์ 089-7157632
การดำเนินงานจากเครือข่าย
วันที่ถาม : 28/02/2561
คำถาม : เครื่องอัดถ่านแท่ง(ราคาย่อมเยา) สามารถหาซื้อได้ที่ไหนบ้างคะ หรือพอจะกรุณาแนะนำแบบของเครื่องอัดถ่านให้ได้ไหมคะ(จะให้ช่างแถวบ้านทำให้) ขอขอบพระคุณล่วงหน้าค่ะ|274|M
คำตอบ :
สวัสดีคะคุณสุาภรณื ดิฉันขอให้รายละเอียดเบื้องต้นดังนี้นะคะ
คุณสมบัติของถ่านอัดแท่ง
- ให้ความร้อนสูง เนื่องจากเป็นถ่านที่ได้รับการเผาไหม้เต็มที่
- ปลอดภัยไม่มีสารตกค้างและไม่ทำลายสุขภาพ เพราะถ่านได้ถูกเผาไหม้ด้วยอุณหภูมิเกิน 800 องศา
- ทนทานสามารถใช้งานได้นานกว่าถ่านไม้ธรรมดาถึง 2.5 – 3 เท่า
- ประหยัดเพราะใช้ได้นาน ไม่แตก และไม่ดับเมื่อติดแล้ว ทำให้ไม่มีการเสียเปล่า เนื่องจากถ่านจะเผาไหม้จนกว่าจะกลายเป็นขี้เถ้า
- ไม่แตกประทุอย่างถ่านไม้ทั่วไป
- ไม่มีควัน เนื่องจากความชื้นน้อยมาก
- ไม่มีกลิ่น เพราะผลิตจากวัสดุธรรมชาติ 100% ไม่ผสมสารเคมีใดๆ
- ไม่ดับกลางคัน แม้ว่าจะใช้ในที่ที่อากาศถ่ายเทน้อย ทำให้ไม่ต้องเปลี่ยนถ่านบ่อยๆ
- ให้ความร้อนสูงสม่ำเสมอ ไม่วูบวาบเนื่องจากความหนาแน่นของถ่านไม่เท่ากันทุกส่วน
ราคาของถ่านอัดแท่ง
ราคาของถ่านอัดแท่งจะขึ้นอยู่กับชนิดของวัสดุที่ใช้ผลิตถ่านอัดแท่ง ราคาโดยทั่วไปจะอยู่ประมาณกิโลกรัมละ 15 – 20 บาท ซึ่งจะดูแพงกว่าถ่านไม้ แต่ถ้าเปรียบเทียบคุณภาพและระยะเวลาการเผาไหม้ ถือว่าคุ้มค่ากว่าถ่านไม้
จากผลการวิจัย สรุปได้ว่า การนำดินเหนียวที่ร่อนผ่านตะแกรงเบอร์ 50 มาผสมแทนแป้งมัน ไม่มีผลต่อคุณภาพแท่งถ่านมากนัก ซึ่งถือว่าเป็นการลดต้นทุนการผลิตลงได้มาก และอัตราส่วนที่เหมาะสมจะอยู่ประมาณ 10% ของปริมาณผงถ่าน
การพัฒนาส่วนผสมเพื่อลดต้นทุนการผลิต
ถึงแม้ว่า ถ่านอัดแท่งในปัจจุบัน อาจยังมองเป็นเรื่องไกลตัวสำหรับหลายคน เพราะส่วนใหญ่นิยมใช้แก๊สหุงต้ม แต่ในอนาคตไม่ไกลข้างหน้า ถ้าวันหนึ่งไม้หมดหรือไม่เพียงพอ ปัญหาจะตามมาอย่างแน่นอน ดังนั้นเพื่อเป็นการนำวัสดุที่เหลือใช้ให้กลับมามีประโยชน์และคุณค่าอีกครั้ง และเพื่อนำเสนอใต้เบื้องพระยุคลบาทของพระองค์ท่าน เราควรตระหนักในการใช้ทรัพยากรอย่างรู้คุณค่า และหาพลังงานทางเลือกเพื่อทดแทนพลังงานหลักที่มีราคาสูง
“ถ่านอัดแท่ง” จึงน่าจะเป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่ไม่ควรมองข้าม ถึงแม้เครื่องจักรจะมีราคาสูง แต่ในปัจจุบันมีงานวิจัยและพัฒนาด้านเครื่องอัดถ่านสำหรับชุมชน รวมทั้งพัฒนาด้านส่วนผสมในการลดต้นทุน ซึ่งก็น่าจะทำให้ถ่านอัดแท่งกลับมามีความน่าสนใจในการประกอบอาชีพอยู่ไม่น้อย ขึ้นอยู่ที่ว่าใครจะลงมือทำก่อนเท่านั้นเอง
ต้องการข้อมูลเพิ่มเติม โปรดติดต่อที่
อ.อุกฤษฏ์ โข่ศรี 08-3140-7086 ,E-mail : maiolto:khosree@hotmail.com
หรือ คลินิกเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตสกลนคร นะคะ ขอบคุณค่ะ
การดำเนินงานจากเครือข่าย
วันที่ถาม : 06/12/2560
คำถาม : 1.สนใจจะเข้าการสอนอบรมเรื่องกระดาษสากันน้ำ ไม่ทราบว่ายังเปิดให้เข้าอบรมอยุ่ไหมคะ? (ถ้ายังเปิดให้เข้าร่วมอบรมได้อยุ่ สามารถเข้าร่วมอบรมได้วันไหน เวลาไหนบ้างคะ?) (ถ้าปิดการสอนอบรมแล้ว ไม่ทราบว่าจะเปิดให้เข้าอบรมได้อีกทีเมื่อไหร่คะ?) 2.ในการเข้าร่วมอบรมเรื่องกระดาษสากันน้ำสามารถเข้าร่วมได้กี่คนคะ? หรือว่าต้องเป็นคณะ? 3.การเข้าอบรมมีค่าใช้จ่ายอะไรเพิ่มเติมรึเปล่าคะ?|1185|M
คำตอบ :
สวัสดีคะคุณพจนารถ ดิฉันแนะนำให้ติดต่อที่เจ้าหน้าที่คลินิกเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ คุณคติวัฒน์ 053-943615 ค่ะ ขอบคุณค่ะ
การดำเนินงานจากเครือข่าย
วันที่ถาม : 29/07/2560
คำถาม : สนใจเครื่องคั้นน้ำมะนาว อยากทราบราคาเครื่องละเท่าไหร่และถ้าสั่งใช้เวลากี่วันถึงจะได้รับครื่องค่ะ|144|M
คำตอบ :
เครื่องคั้นมะนาวและส้ม เป็นผลงานของ สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.) โดยฝ่ายวิศวกรรม ได้พัฒนาเครื่องคั้นมะนาวและส้ม เพื่อใช้สำหรับมะนาวขนาดเบอร์ 500-600 ส้มขนาดเบอร์ 3 มีประสิทธิภาพสามารถคั้นมะนาวและส้มได้ถึง 1,500 ผลต่อ 1 ชั่วโมง น้ำมะนาวและส้มที่ได้มาไม่มีปัญหาเรื่องความขมที่เกิดจากเปลือก ตัวเครื่องมีแผ่นตะแกรงเพื่อกรองกากและเมล็ดทำด้วยสแตนเลส อย่างดี ไม่เป็นสนิม
สวัสดีคะคุณดวงกลม ดิฉันขอให้ข้อมูลเ้บื้องต้นนะคะ
ขนาดเครื่อง(กว้าง x ยาว x สูง) 50 x 70 x 120 เซ็นติเมตร ใช้กำลังไฟ 220 โวลต์ 50 เฮิร์ต ราคาจำหน่ายเพื่อทดสอบประสิทธิภาพ 65,000 บาท/เครื่อง (รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม)
*หมายเหตุ ราคาอาจมีการเปลี่ยนแปลงได้ตามความเหมาะสม
ติดต่อเจ้าของผลงานได้ที่
ฝ่ายวิศวกรรม นายยุทธนา ตันติวิวัฒน์
สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.) จ.ปทุมธานี 12120
โทรศัพท์ : 02-577 9000 ค่ะ ขอบคุณค่ะ
การดำเนินงานจากเครือข่าย