เทคโนโลยีพร้อมถ่ายทอด
ภาคเหนือของประเทศไทยที่เป็นแหล่งหลักในการเลี้ยงผึ้งพันธุ (European honey bee; Apis mellifera L.) มีการขยายตัวเติบโตอย่างมาก จาก 200,000 รังในปี 2545 เป็น 350,000 รัง ในปี 2550 ผลิตน้ำผึ้งได้ประมาณ 7000 ตันและผลิตภัณฑ์ผึ้งชนิดอื่น ประมาณ 70 % ของปริมาณน้ำผึ้งและนมผึ้งที่ผลิตได้ถูกส่งออกไปยังต่างประเทศ สร้างมูลค่านับร้อยล้านบาท และผึ้งช่วยผสมเกสรพืช เป็นไปตามมาตรฐานของต่างประเทศที่ได้ปรับระดับสูงขึ้นมากกว่าปัจจุบัน ปริมาณผลผลิตน้ำผึ้งและน้ำผึ้งต่อรังยังต่ำ ผลผลิตน้ำผึ้ง 25-30 กก.ต่อรัง นมผึ้ง 20 กรัมต่อรัง คุณภาพน้ำผึ้งและนมผึ้งที่ผลิตได้ยังต่ำกว่ามาตรฐาน มีสิ่งเจือปน และมีความแปรปรวนในคุณภาพ ปัญหาทั้งหมดมาจากคนเลี้ยงผึ้งที่ยังไม่มีความสามารถทำการผลิตน้ำผึ้งและนมผึ้งที่ได้มาตรฐานที่สูงได้
แนวคิดแก้ไข การถ่ายทอดเทคโนโลยีการเลี้ยงผึ้งเพื่อผลิตน้ำผึ้งและนมผึ้งให้กับผู้เลี้ยงผึ้งอย่างรบวงจร จะช่วยพัฒนาความรู้และความสามารถของผู้เลี้ยงผึ้ง ในการเลี้ยงผึ้งให้สูงขึ้นจะทำให้ปริมาณและคุณภาพน้ำผึ้งและนมผึ้งมากและสูงขึ้น สามารถแข่งขันทางการตลาดเสรีในโลกของการแข่งขันได้ ประสบปัญหาการระบาดของโรคผึ้ง สร้างความเสียหายต่อการเลี้ยงผึ้งเป็นอย่างมาก ทำให้ผึ้ง เติบโตไม่เต็มที่ พิการและตายลง ทำให้ผู้เลี้ยงผึ้งไม่มีผึ้งมากพอที่จะนำไปใช้ประโยชน์ในการเก็บผลิตภัณฑ์ผึ้งชนิดต่างๆได้ บางครั้งมีการระบาดมากทำให้ผู้เลี้ยงผึ้งต้องประสบการขาดทุน
วัตถุประสงค์
1. เพื่อยกระดับปริมาณและคุณภาพน้ำผึ้งและนมผึ้งเพื่อการส่งออก
2. เพื่อพัฒนาความรู้และความสามารถของผู้เลี้ยงผึ้งในการผลิตน้ำผึ้งและนมผึ้ง
3. เพื่อถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิตน้ำผึ้งและนมผึ้งให้กับผู้เลี้ยงผึ้ง
นายพิชัย คงพิทักษ์
สถานที่ติดต่อ ภาควิชากีฏวิทยา คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
โทรศัพท์ 0-5394-4030 โทรสาร 0-5394-4088
E-mail : agipkngp@chiangmai.ac.th