เทคโนโลยีพร้อมถ่ายทอด
เป็นการผลิตกระถางต้นไม้จากวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรและพัฒนาดินเทียมเพื่อประดิษฐ์ดอกไม้ตกแต่งกระถาง ซึ่งงานวิจัยนี้แบ่งการทดลองออกเป็นสองตอน ตอนแรกศึกษาตัวแปรที่มีผลต่อเปอร์เซ็นต์ความพรุนของกระถางต้นไม้ ได้แก่ อัตราส่วนของวัตถุดิบ ชนิดตัวประสานและความดัน โดยออกแบบแผนการทดลองแบบลาตินแควร์ ซึ่งทำการศึกษาอัตราส่วนที่เตรียมจากวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร ได้แก่ ใยมะพร้าว ชานอ้อยและขี้เลื่อย ผลการคำนวณทางสถิติ พบว่าเปอร์เซ็นต์ความพรุนของกระถางต้นไม้ขึ้นอยู่กับชนิดของตัวประสานอย่างมีนัยสำคัญซึ่งตัวประสานที่ให้เปอร์เซ็นต์ความพรุนสูงสุด คือ แป้งสาลี
ตอนที่สองศึกษาการผลิตดินเทียมจากชานอ้อย พบว่าดินเทียมที่ได้สามารถนำไปใช้ปั้นชิ้นงานได้ทันทีโดยไม่ต้องเสียเวลานวดดิน เนื้อดินเทียมที่ผลิตขึ้นมีความเหมาะสมมากในการไปทำงานประดิษฐ์ เนื้อดินมีความยืดหยุ่นสูงแต่ยังติดมือ เมื่อแข็งตัวสามารถบิดงอได้ สีของดินเทียมจะเป็นสีของวัตถุดิบหลัก คือ สีของชานอ้อย ประเมินผลดินเทียมโดยใช้กลุ่มผู้ประเมินคือนักศึกษาภายในมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพฯ จำนวน 30 คน ผลการประเมินพบว่าได้รับการยอมรับในด้านเนื้อดินมีความละเอียด ความยืดหยุ่น การบิดงอ ความเหมาะสมที่จะนำไปใช้ในงานประดิษฐ์ ส่วนใหญ่อยู่ในระดับดี
โทรศัพท์ 0-2287-3211 ต่อ 154 , 1177 , 1178
ข้อมูลจากหนังสือ Techno Mart 2006