เทคโนโลยีพร้อมถ่ายทอด
ประเทศไทยมีศักยภาพในการเพาะเลี้ยงไข่มุกน้ำจืด เนื่องจากมีความเหมาะสมในหลาย ๆ ด้าน ไม่ว่าจะเป็นแหล่งน้ำ สภาพภูมิอากาศ และทรัพยากรหอยกาบน้ำจืด ซึ่งขณะนี้ พบว่ามีการนำหอยกาบน้ำจืดวงศ์ Amblemidae มาเพาะเลี้ยงไข่มุกน้ำจืดในประเทศไทย จำนวน 5 ชนิด ทั้งนี้ หอยในวงศ์ดังกล่าวมีหลายชนิดทั้งที่มีขนาดใหญ่มีความแวววาวเป็นมุกและกระจายอยู่ทุกภาคของประเทศไทยในลุ่มน้ำต่าง ๆ จึงมีการสำรวจหอยกาบน้ำจืดในแต่ละลุ่มน้ำ เพื่อคัดเลือกมาเพาะเลี้ยงไข่มุกน้ำจืด เพื่อจะได้ทราบชนิดของหอยที่มีความสามารถในการผลิตไข่มุก พร้อมทั้งวิเคราะห์องค์ประกอบทางเคมีของเปลือกหอยและไข่มุกน้ำจืดที่ได้จากการเพาะเลี้ยง เพื่อเป็นแหล่งข้อมูลพื้นฐานทางการศึกษาชีววิทยา นิเวศวิทยาเพื่อพัฒนาส่งเสริมการเพาะเลี้ยงขยายพันธ์หอยกาบน้ำจืด ซึ่งจะเป็นแนวทางในอุตสาหกรรมการผลิตยาและเครื่องสำอาง เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มและเกิดการสร้างอาชีพ รวมทั้งการส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงเกษตรต่อไป
คุณสมบัติเด่น
- ทำให้ทราบแหล่งหอยกาบน้ำจืดที่จะนำมาเป็นพ่อพันธุ์และแม่พันธุ์
- ทำให้ทราบวิธีการเลี้ยงและสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมของหอยกาบน้ำจืด เพื่อนำไปพัฒนาเลี้ยงในเชิงพาณิชย์
- ทำให้ทราบชนิดของหอยที่มีความเหมาะสมต่อการเพาะเลี้ยงไข่มุก
- ทำให้ทราบองค์ประกอบสำคัญของเปลือกหอยและไข่มุกเพื่อนำไปพัฒนาในอุตสาหกรรมยา และเครื่องสำอาง
ตลาดเป้าหมาย
- กลุ่มเกษตรกร นักเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ เกษตรกรชาวประมงพื้นบ้าน และประชาชนทั่วไป
- บริษัท / กลุ่มธุรกิจเอกชน / วิสาหกิจชุมชน เพื่อพัฒนากิจการเกี่ยวเนื่องต่าง ๆ
ติอต่อสอบถาม
ภาควิชาสัตววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
ถนนพหลโยธิน ลาดยาว จตุจักร กรุงเทพฯ 10900
โทรศัพท์ 02-579-1022 ต่อ 110 โทรสาร 02-942-8695