เทคโนโลยีพร้อมถ่ายทอด
ปัจจุบันหน้ากากอนามัยกลายเป็นสิ่งของจำเป็นสำหรับวิถีชีวิตใหม่ “New normal” หลังเกิดสถานะการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า2019 จึงเป็นจุดเริ่มต้นไอเดียของ อาจารย์ที่ปรึกษา ผศ.ดร. เขมฤทัย ถามะพัฒน์ และนักศึกษามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี ที่ต้องการทำสารเคลือบหน้ากากผ้า จากของเหลือทิ้งภาคเกษตร เพื่อลดปัญหาขยะ ที่เรียกว่า “สเปรย์สะท้อนน้ำ” โดยสารนี้สามารถใช้ฉีดพ้นเคลือบบนผ้าทุกชนิดเพื่อป้องกันละอองน้ำลายหรือสารคัดหลั่งจากเชื้อ ไวรัส Covid 19 ซึ่งหน้ากากผ้าหลังจากฉีดพ่นสารเคลือบนี้สามารถซักและนำมาใช้ซ้ำได้หลายครั้ง เพราะปกติผ้าทั่วไปจะมีรูขนาด 20 ไมโครเมตร ซึ่งรูมีขนาดใหญ่กว่าหน้ากากอนามัย ขณะที่เชื้อไวรัสนั้นมีขนาดที่เล็กมากๆประมาณ 0.05-0.2 ไมโครเมตรถึงจะแม้จะอยู่บนละอองน้ำลายที่มีขนาดประมาณ 50-100 ไมโครเมตร
ซึ่งของเหลือทิ้งจากภาคเกษตรเองก็มีอยู่หลายอย่าง อาทิ เช่น แกลบ อ้อย ซังข้าวโพด ฯลฯ แต่ที่เลือกแกลบเพราะประเทศไทยปลูกข้าวกันเยอะแล้วแกลบส่วนใหญ่ที่เห็นก็จะเอาไปทำปุ๋ยหรือเผาทิ้ง ทำให้เกิดฝุ่นละอองกลายเป็นมลพิษ จึงนำแกลบบมาสกัดเอาสารที่ต้องการแล้วลดขนาดของสารนั้นลงให้อยู่ในระดับนาโนเมตร จากนั้นปรับสภาพพื้นผิวโครงสร้างให้กลายเป็นสิ่งที่ไม่ชอบน้ำแล้วนำไปผสมให้กลายเป็นสารแขวนลอยเพื่อนำมาใช้เสปรย์พ่นลงผ้า หลังจากนั้นจึงนำไปผ่านกระบวนการยึดติดตรึง เพื่อให้สารติดบนเส้นใยของผ้าแน่นขึ้น
ผลการทดลอง เบื้องต้นใช้แกลบ 1 กิโลกรัมผลิตสารพ่นได้ประมาณ 2 กรัม นำมาทดสอบฉีดพ่นทั่วพื้นผ้าสาลู หรือผ้าอ้อมเด็กซึ่งปริมาณสารที่ใช้น้อยมาก ผลการทดลองพบว่า จากผ้าอ้อมที่มีรูระบายค่อนข้างใหญ่ หลังพ่นสารเข้าไปเคลือบบนผ้าอ้อมทำให้เนื้อผ้ายึดติดกันแน่น รูตารางของเนื้อผ้าถี่ขึ้น เมื่อทดลองหยดน้ำหรือเทน้ำลงบนผ้าที่เคลือบสาร ก็พบว่าน้ำกลิ้งไปมาบนผ้า น้ำไม่ซึมเข้าในเนื้อผ้าแต่อย่างใด นอกจากนี้ยังทดสอบด้วยการซักถึง 30 ครั้ง แต่ผ้าที่เคลือบสารก็ยังคงมีคุณสมบัติในการกันน้ำหรือสะท้อนน้ำแม้จะนำมาใช้ซ้ำๆ หลายรอบผ้าก็ไม่เปียกน้ำ
