เทคโนโลยีพร้อมถ่ายทอด
ชื่อ
เอนไซม์สำหรับย่อยวัตถุดิบจากมันสำปะหลังเป็นน้ำตาลโดยไม่ใช้ความร้อน
ชม 1,654 ครั้ง
64
เจ้าของ
คุณปณิธาน ลีละธนาวิทย์
เมล์
panitan@biotec.or.th
รายละเอียด
มัลติเอนไซม์ที่พัฒนาขึ้นประกอบด้วยกิจกรรมของเอนไซม์ในกลุ่มเซลลูเลส เพคติเนส และเฮมิเซลลูเลสที่ทำงานร่วมกันในการย่อยสลายองค์ประกอบของผนังเซลล์เพื่อปลดปล่อยเม็ดแป้งออกมา ซึ่งสามารถถูกย่อยต่อเป็นน้ำตาลได้โดยเอนไซม์ย่อยแป้งดิบ เอนไซม์องค์ประกอบนี้จะทำงานร่วมกันในการย่อยแป้งรวมถึงเซลลูโดลสและเฮมิเซลลูโลสในวัตถุดิบจากมันสำปะหลังประเภทต่างๆเป็นน้ำตาลในขั้นตอนเดียวได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยไม่ต้องอาศัยความร้อนในการเจลาติไนซ์แป้ง ซึ่งน้ำตาลที่ได้สามารถนำไปใช้ในการผลิตเชื้อเพลิงชีวภาพและสารเคมีต่างๆในชั้นตอนต่อไป
จุดเด่นของเทคโนโลยี
มัลติเอนไซม์ที่พัฒนาขึ้นสามารถย่อยวัตถุดิบจากมันสำปะหลังทุกประเภทเป็นน้ำตาลได้อย่างมีประสิทธิภาพโดยได้ปริมาณน้ำตาล > 80% (>800 mg ของน้ำตาลรีดิวซ์/กรัมของวัตถุดิบโดยน้ำหนักแห้ง) ของค่าที่ได้ทางทฤษฎีภายในเวลา 48 ชั่วโมงภายใต้สภาวะที่เหมาะสม
ไม่ต้องใช้ความร้อนในการเจลาติไนซ์แป้งในวัตถุดิบก่อน จึงเป็นการช่วยลดพลังงานที่ต้องใช้ในกระบวนการผลิต และไม่เกิดสารยับยั้งประเภท dehydration product
สามารถทำงานได้ดีในช่วงอุณหภูมิ 35-50 oC และ pH 4-5 ซึ่งเหมาะสมกับในพัฒนากระบวนการหมักแบบขั้นตอนเดียวร่วมกับจุลินทรีย์ต่างๆ
การย่อยแป้งดิบสามารถเกิดได้อย่างมีประสิทธิภาพ ร่วมกับการย่อยเฮมิเซลลูโลสและเซลลูโลสบางส่วนทำให้ได้ทั้งน้ำตาลกลูโคสและไซโลส
มีผลในการช่วยลดความหนืด (viscosity) ของวัตถุดิบในระบบการหมัก ทำให้สามารถใช้ได้กับระบบที่ใช้ปริมาณวัตถุดิบสูงได้ (high solid loading fermentation)
ติดต่อเจ้าของผลงานได้ที่
คุณปณิธาน ลีละธนาวิทย์
สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ
111 อุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย ถนนพหลโยธิน ตำบลคลองหนึ่ง
อำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี 12120
โทรศัพท์ 02-564-6700 ต่อ 3128 โทรสาร 0-2564-6985
จุดเด่นของเทคโนโลยี
มัลติเอนไซม์ที่พัฒนาขึ้นสามารถย่อยวัตถุดิบจากมันสำปะหลังทุกประเภทเป็นน้ำตาลได้อย่างมีประสิทธิภาพโดยได้ปริมาณน้ำตาล > 80% (>800 mg ของน้ำตาลรีดิวซ์/กรัมของวัตถุดิบโดยน้ำหนักแห้ง) ของค่าที่ได้ทางทฤษฎีภายในเวลา 48 ชั่วโมงภายใต้สภาวะที่เหมาะสม
ไม่ต้องใช้ความร้อนในการเจลาติไนซ์แป้งในวัตถุดิบก่อน จึงเป็นการช่วยลดพลังงานที่ต้องใช้ในกระบวนการผลิต และไม่เกิดสารยับยั้งประเภท dehydration product
สามารถทำงานได้ดีในช่วงอุณหภูมิ 35-50 oC และ pH 4-5 ซึ่งเหมาะสมกับในพัฒนากระบวนการหมักแบบขั้นตอนเดียวร่วมกับจุลินทรีย์ต่างๆ
การย่อยแป้งดิบสามารถเกิดได้อย่างมีประสิทธิภาพ ร่วมกับการย่อยเฮมิเซลลูโลสและเซลลูโลสบางส่วนทำให้ได้ทั้งน้ำตาลกลูโคสและไซโลส
มีผลในการช่วยลดความหนืด (viscosity) ของวัตถุดิบในระบบการหมัก ทำให้สามารถใช้ได้กับระบบที่ใช้ปริมาณวัตถุดิบสูงได้ (high solid loading fermentation)
ติดต่อเจ้าของผลงานได้ที่
คุณปณิธาน ลีละธนาวิทย์
สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ
111 อุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย ถนนพหลโยธิน ตำบลคลองหนึ่ง
อำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี 12120
โทรศัพท์ 02-564-6700 ต่อ 3128 โทรสาร 0-2564-6985
คำสำคัญ
บันทึกโดย
