เทคโนโลยีพร้อมถ่ายทอด
การสร้างระบบการรีไซเคิลน้ำล้างรถจากสถานบริการล้างรถ โดยใช้ระบบบำบัดนำเสียแบบผสมระบบพื้นที่ชุ่มน้ำประดิษฐ์แบบไหลผ่านผิวดิน และระบบบำบัดน้ำเสียระบบพื้นที่ชุ่มน้ำประดิษฐ์แบบไหลใต้ผิวตัวกลาง โดยใช้ผักกูด (Diplazium Esculentum) เป็นพืชช่วยในการบำบัดน้ำเสีย และใช้อิฐบล็อกเป็นตัวกลางเพิ่มประสิทธิภาพในการบำบัด พบว่า เมื่อน้ำเสียผ่านระบบบำบัดมีคุณภาพดีขึ้น น้ำมีสีใสขึ้น ไม่มีกลิ่นเหม็น และไม่มีคราบไขมัน โดยถังบำบัดที่ 1 เป็นระบบบำบัดน้ำเสียระบบพื้นที่ชุ่มน้ำประดิษฐ์แบบไหลผ่านผิวดิน มีอัตราการไหล 0.126 ลูกบาศก์เมตรต่อวัน ถังบำบัดที่ 2 และ 3 เป็นระบบบำบัดน้ำเสียระบบพื้นที่ชุ่มน้ำประดิษฐ์แบบไหลใต้ผิวตัวกลาง มีอัตราการไหลถังละ 0.066 ลูกบาศก์เมตรต่อวัน เฉลี่ยอัตราการไหล 0.258 ลูกบาศก์เมตรต่อวัน โดยใช้ระยะเวลาเฉลี่ย 6 วัน ในการเดินระบบ โดยที่ไม่มีผลต่อการเจริญเติบโตของผักกูด เก็บข้อมูลจากราก ใบ และลำต้น นอกจากนี้ระบบยังมีประสิทธิภาพในการบำบัด ค่ากรด - ด่าง (pH Value) อยู่ในช่วง 6.6 มีประสิทธิภาพค่าบีโอดี (Biochemical Oxygen Demand : BOD) 98% , มีประสิทธิภาพค่าซีโอดี (Chemical Oxygen Demand : COD) 93.3% , มีประสิทธิภาพค่าสารแขวนลอย (Suspended Solids : SS) 98.4% , มีประสิทธิภาพค่าทีดีเอส (TDS หรือ Total Dissolved Solids) 98.3% , มีประสิทธิภาพค่าทีเคเอ็น (Total Kjeldahl Nitrogen: TKN) 94.6% และมีประสิทธิภาพค่าน้ำมันและไขมัน (Fat , Oil and Grease) 99.2%