เทคโนโลยีพร้อมถ่ายทอด
ชื่อ
อุปกรณ์ตากแห้งแบบอากาศไหลตามธรรมชาติประสิทธิภาพสูง
ชม 898 ครั้ง
52
เจ้าของ
เอ็มเทค สวทช.
เมล์
-
รายละเอียด
เนื่องจากชุมชนที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ทุรกันดารมักประสบปัญหาความยากจน และขาดความรู้ด้านสุขอนามัย ดังนั้นเพื่อให้คนในชุมชนสามารถสร้างอาชีพ สร้างรายได้ และมีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น ทีมวิจัยเอ็มเทค สวทช. จึงพัฒนาอุปกรณ์ตากแห้งแบบอากาศไหลตามธรรมชาติประสิทธิภาพสูง หรือ SoDry ที่มีคุณสมบัติในการเก็บเกี่ยวแสงแดดเพื่อแปลงเป็นความร้อน ด้วยการออกแบบให้ภายในอุปกรณ์ตากแห้งมีมวลอากาศน้อย ทำให้อากาศจากภายนอกที่ไหลผ่านเข้าไปในอุปกรณ์มีอุณหภูมิเพิ่มขึ้นได้สูงและรวดเร็ว สามารถให้ความร้อนแก่วัตถุที่ต้องการตากแห้งเพิ่มขึ้น และดึงความชื้นออกจากวัตถุที่ตากแห้งได้มาก ส่งผลให้การตากแห้งมีประสิทธิภาพสูงนอกจากนี้ SoDry ยังสามารถใช้งานได้ทุกฤดูแม้กระทั่งฤดูฝนหรือในช่วงเวลาที่มีแสงแดดน้อย รวมทั้ง เคลื่อนย้ายได้ง่าย ป้องกันฝุ่นละออง และแมลงวันรบกวนได้ SoDry สามารถพัฒนาคุณภาพชีวิตและแรงงานของชุมชน และยังสามารถสร้างอาชีพให้กับชุมชนได้ เห็นได้จากการถ่ายทอดเทคโนโลยีการสร้างต้นแบบ SoDry ให้แก่ โรงเรียนบ้านสันกอง อำเภอแม่จัน จังหวัดเชียงราย
โดยโรงเรียนสามารถนำต้นแบบไปใช้งานและผลิตอุปกรณ์ตากแห้งเพิ่มเติม สำหรับใช้ตากปลาดุกที่เลี้ยงเพื่อใช้บริโภคภายในโรงเรียน และยังสามารถนำวัตถุดิบดังกล่าวไปขายภายในชุมชน เป็นการสร้างรายได้/สร้างอาชีพให้แก่นักเรียนอีกด้วย ด้านชุมชนทีมวิจัยได้นำเทคโนโลยีการสร้าง SoDry ไปถ่ายทอดให้แก่ชุมชนของมูลนิธิพัฒนรักษ์ และมูลนิธิดาด้า ในจังหวัดกาญจนบุรีทำให้คนในชุมชนสามารถสร้างอุปกรณ์ตากแห้ง เพื่อใช้ตากวัตถุดิบที่เหลือจากการเกษตร เพื่อเก็บกักเป็นอาหารสำหรับรับประทานได้ในครัวเรือนอย่างถูกหลักสุขลักษณะส่งผลให้คนในชุมชนสุขภาพอนามัยที่ดีขึ้นนอกจากการถ่ายทอดเทคโนโลยีการสร้างอุปกรณ์และวิธีใช้งาน SoDry ภายในประเทศแล้ว ยังถ่ายทอดเทคโนโลยีให้กับประเทศเพื่อนบ้านผ่านมูลนิธิพัฒนรักษ์ ได้แก่ หน่วยงาน Mon Area Community Development Organization (MacDo) และหน่วยงาน TF Group ของสาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมา ซึ่งเป็นหน่วยงานที่มีแนวคิดการพัฒนาคุณภาพชีวิตความเป็นอย่ขู องบุคลากรในชุมชนให้ดีขึ้น จากการดำเนินงานดังกล่าวทำให้คนในชุมชนสามารถนำความรู้ที่ได้รับไปถ่ายทอดต่อภายในชุมชน และมีการสร้างอุปกรณ์ต้นแบบเพิ่มเติมเพื่อใช้งาน
สำหรับการถนอมอาหารในแต่ละครัวเรือนอีกด้วย
โดยโรงเรียนสามารถนำต้นแบบไปใช้งานและผลิตอุปกรณ์ตากแห้งเพิ่มเติม สำหรับใช้ตากปลาดุกที่เลี้ยงเพื่อใช้บริโภคภายในโรงเรียน และยังสามารถนำวัตถุดิบดังกล่าวไปขายภายในชุมชน เป็นการสร้างรายได้/สร้างอาชีพให้แก่นักเรียนอีกด้วย ด้านชุมชนทีมวิจัยได้นำเทคโนโลยีการสร้าง SoDry ไปถ่ายทอดให้แก่ชุมชนของมูลนิธิพัฒนรักษ์ และมูลนิธิดาด้า ในจังหวัดกาญจนบุรีทำให้คนในชุมชนสามารถสร้างอุปกรณ์ตากแห้ง เพื่อใช้ตากวัตถุดิบที่เหลือจากการเกษตร เพื่อเก็บกักเป็นอาหารสำหรับรับประทานได้ในครัวเรือนอย่างถูกหลักสุขลักษณะส่งผลให้คนในชุมชนสุขภาพอนามัยที่ดีขึ้นนอกจากการถ่ายทอดเทคโนโลยีการสร้างอุปกรณ์และวิธีใช้งาน SoDry ภายในประเทศแล้ว ยังถ่ายทอดเทคโนโลยีให้กับประเทศเพื่อนบ้านผ่านมูลนิธิพัฒนรักษ์ ได้แก่ หน่วยงาน Mon Area Community Development Organization (MacDo) และหน่วยงาน TF Group ของสาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมา ซึ่งเป็นหน่วยงานที่มีแนวคิดการพัฒนาคุณภาพชีวิตความเป็นอย่ขู องบุคลากรในชุมชนให้ดีขึ้น จากการดำเนินงานดังกล่าวทำให้คนในชุมชนสามารถนำความรู้ที่ได้รับไปถ่ายทอดต่อภายในชุมชน และมีการสร้างอุปกรณ์ต้นแบบเพิ่มเติมเพื่อใช้งาน
สำหรับการถนอมอาหารในแต่ละครัวเรือนอีกด้วย
บันทึกโดย