เทคโนโลยีพร้อมถ่ายทอด
ชื่อ
การผลิตเชื้อราบิวเวอเรียโดยใช้ข้าวสารเป็นสารตั้งต้น
ชม 826 ครั้ง
59
เจ้าของ
ไบโอเทค สวทช.
เมล์
-
รายละเอียด
บ้านนาคู อำเภอผักไห่ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา มีลักษณะเป็นพื้นที่ราบลุ่มสลับกับพื้นที่ลุ่มมาก พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นพื้นที่นา ประชากรในหมู่บ้านส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรม โดยจะทำนาเป็นหลักแบบต่อเนื่องระยะยาว ไม่มีการตัดวงจรการเข้าทำลายของแมลงศัตรูพืชทำให้เกิดการระบาดของเพลี้ยกระโดดสีนำตาลมากขึ้น การใช้สารชีวภัณฑ์เพื่อกำจัดศัตรูพืชแทนการใช้สารเคมีเป็นกระแสการยอมรับของสังคมและช่วยลดต้นทุนด้านปัจจัยการผลิต ดังนั้นการใช้เชื้อราบิวเวอเรียป้องกันกำจัดเพลี้ยกระโดดสีนำตาลจึงเป็นอีกทางเลือกหนึ่ง ที่จะช่วยลดความเสียหายของผลผลิตข้าวได้ ซึ่งเกษตรกรในพื้นที่นาคูบางส่วนทำการผลิตเชื้อราบิวเวอเรียเพื่อป้องกันเพลี้ยกระโดดสีนำตาลในนาข้าวโดยเลี้ยงเชื้อราในถุงพลาสติกระบบปิดโดยใช้ข้าวโพดเป็นวัสดุเพาะเลี้ยงในการผลิตดังกล่าวยังไม่มีระบบตรวจสอบมาตรฐาน จึงทำให้การใช้เชื้อราบิวเวอเรียป้องกันกำจัดเพลี้ยกระโดดมีประสิทธิภาพไม่สูงมากนักด้วยเหตุนี้ ไบโอเทค สวทช. จึงถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิตเชื้อราบิวเวอเรียโดยใช้ข้าวสารเป็นสารตั้งต้น ซึ่งจากผลการศึกษาวิจัยพบว่าการใช้ข้าวสารเป็นวัสดุเพาะเลี้ยงให้ผลดีที่สุด ทำให้เกษตรกรมีความรู้ความเข้าใจในการผลิตเชื้อราบิวเวอเรียโดยใช้ข้าวสารเป็นสารตั้งต้นและสามารถผลิตก้อนเชื้อราบิวเวอเรียไม่น้อยกว่า 100 ก้อน เพื่อใช้ในการป้องกันกำจัดเพลี้ยกระโดดสีนำตาลแทนการใช้ข้าวโพดเป็นสารตั้งต้น ทำให้เกษตรกรลดค่าใช้จ่ายในการซื้อข้าวโพดมาเป็นวัตถุดิบโดยใช้ข้าวสารที่เกษตรกรสามารถผลิตได้ทดแทน จากการถ่ายทอดเทคโนโลยีทำให้เกษตรกรมีความรู้และความเข้าใจในการใช้และผลิตเชื้อราบิวเวอเรียเพิ่มมากขึ้น เกษตรกรส่วนใหญ่มีความพอใจและสามารถทำการถ่ายเชื้อลงในถุงข้าวสารได้ นอกจากนี้ เกษตรกรสามารถลดภาระการผลิตและค่าใช้จ่ายเนื่องจากการผลิตราบิววาเรียโดย
ใช้ข้าวเป็นสารตั้งตั้นจะช่วยลดอัตราการใช้เชื้อราจาก 2 ถุง ต่อพื้นที่ 1 ไร่ เป็น 1 ถุงต่อพื้นที่ 10 ไร่ อีกทั้ง ยังเป็นการใช้วัตถุดิบที่มีอยู่แล้วให้เกิดประโยชน์อย่างสูงสุดและช่วยลดการใช้สารเคมี ส่งผลให้เกษตรกรและชุมชนมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น
ใช้ข้าวเป็นสารตั้งตั้นจะช่วยลดอัตราการใช้เชื้อราจาก 2 ถุง ต่อพื้นที่ 1 ไร่ เป็น 1 ถุงต่อพื้นที่ 10 ไร่ อีกทั้ง ยังเป็นการใช้วัตถุดิบที่มีอยู่แล้วให้เกิดประโยชน์อย่างสูงสุดและช่วยลดการใช้สารเคมี ส่งผลให้เกษตรกรและชุมชนมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น
บันทึกโดย