เทคโนโลยีพร้อมถ่ายทอด
ชื่อ
ตะบันน้ำ เทคโนโลยีการสูบน้ำอัตโนมัติ
ชม 887 ครั้ง
55
เจ้าของ
ดร.จิระกานต์ ศิริวิชญ์ไมตรี
เมล์
-
รายละเอียด
ตะบันน้ำ หรือ ไฮดรอลิคแรม (Hydraulic Ram) เป็นเทคโนโลยีการสูบน้ำอัตโนมัติที่ทำงานได้ตลอด 24 ชั่วโมง โดยไม่อาศัยเชื้อเพลิงหรือไฟฟ้า เพียงแค่ใช้พลังงานจากน้ำเป็นตัวขับเคลื่อนระบบ ก็สามารถสูบน้ำไปใช้ได้แล้ว ทั้งยังประยุกต์ใช้งานได้หลากหลายรูปแบบตามความต้องการอีกด้วย
อ.ดร.จิระกานต์ ศิริวิชญ์ไมตรี ภาควิชา วิศวกรรมชลประทาน มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน ให้ข้อมูลว่าเครื่องตะบันน้ำเป็นเทคโนโลยีการสูบน้ำที่เป็นประโยชน์มาก เนื่องจากไม่ต้องใช้พลังงานเชื้อเพลิงหรือไฟฟ้าให้สิ้นเปลือง ซึ่งในต่างประเทศใช้กันมากว่า 200 ปีแล้ว แต่สำหรับประเทศไทยยังไม่เป็นที่แพร่หลายนัก ส่วนหนึ่งเป็นเพราะว่าการติดตั้งอุปกรณ์ดังกล่าวค่อนข้างยุ่งยาก และประสิทธิภาพการสูบน้ำค่อนข้างต่ำเมื่อเทียบกับเครื่องสูบน้ำที่ใช้เครื่องยนต์หรือมอเตอร์ แต่เชื่อว่าในอนาคตเครื่องตะบันน้ำจะเป็นที่รู้จักและได้รับความนิยมมากขึ้นแน่นอนสำหรับหลักการทำงานของเครื่องตะบันน้ำ อ.ดร.จิระกานต์ อธิบายว่า เริ่มจากน้ำจากแหล่งน้ำไหลเข้าสู่ท่อรับน้ำไปยังเครื่อง ผ่านวาล์วทิ้งน้ำจนความเร็วของการไหลเพิ่มสูงขึ้นทำให้เกิดแรงยกวาล์วทิ้งน้ำให้ปิด ซึ่งการปิดวาล์วทิ้งน้ำทำให้เกิดความดันจำนวนมากในตัวเครื่อง เรียกว่า ปรากฏการณ์ Water Hammer ทำให้วาล์วกันน้ำกลับถูกยกขึ้น น้ำส่วนหนึ่งจะถูกอัดเข้าไปเก็บในถังแรงดันและเข้าสู่ท่อจ่ายน้ำขึ้นไปยังถังพักน้ำ ขณะเดียวกันความดันในตัวเครื่องจะลดลงทำให้วาล์วกันน้ำกลับปิดและวาล์วน้ำทิ้งเปิด ตะบันน้ำก็เริ่มทำงานรอบใหม่อีกครั้ง
ทั้งนี้จุดที่ติดตั้งเครื่องตะบันน้ำต้องอยู่ต่ำกว่าผิวน้ำอย่างน้อย 1.5 เมตร แต่ถ้าให้ดีควรต่ำกว่าประมาณ 2-3 เมตร และท่อส่งน้ำมายังเครื่องต้องมีความยาวไม่น้อยกว่า 15 เมตร แรงดันน้ำถึงจะเพียงพอทำให้ระบบดำเนินไปได้อย่างสมบูรณ์ ซึ่งปัจจุบันเครื่องตะบันน้ำที่พัฒนาขึ้นมาสามารถสูบน้ำได้มากกว่าระดับแรงดันตั้งต้นถึง 10 เท่า เช่น ถ้าแรงดันน้ำเริ่มต้นที่ 2 เมตร (ความสูงจากผิวน้ำมาที่ตัวเครื่องตะบันน้ำ) จะสูบน้ำไปใช้ในพื้นที่ที่สูงกว่าถึง 20 เมตรเลยทีเดียว
ผู้สนใจเครื่องตะบันน้ำ ติดต่อสอบถามได้ที่ภาควิชาวิศวกรรมชลประทาน มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน โทร. 0-3435-1897 ต่อ 7201 หรือ 09-1278-9800 ได้ตลอดเวลา
อ.ดร.จิระกานต์ ศิริวิชญ์ไมตรี ภาควิชา วิศวกรรมชลประทาน มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน ให้ข้อมูลว่าเครื่องตะบันน้ำเป็นเทคโนโลยีการสูบน้ำที่เป็นประโยชน์มาก เนื่องจากไม่ต้องใช้พลังงานเชื้อเพลิงหรือไฟฟ้าให้สิ้นเปลือง ซึ่งในต่างประเทศใช้กันมากว่า 200 ปีแล้ว แต่สำหรับประเทศไทยยังไม่เป็นที่แพร่หลายนัก ส่วนหนึ่งเป็นเพราะว่าการติดตั้งอุปกรณ์ดังกล่าวค่อนข้างยุ่งยาก และประสิทธิภาพการสูบน้ำค่อนข้างต่ำเมื่อเทียบกับเครื่องสูบน้ำที่ใช้เครื่องยนต์หรือมอเตอร์ แต่เชื่อว่าในอนาคตเครื่องตะบันน้ำจะเป็นที่รู้จักและได้รับความนิยมมากขึ้นแน่นอนสำหรับหลักการทำงานของเครื่องตะบันน้ำ อ.ดร.จิระกานต์ อธิบายว่า เริ่มจากน้ำจากแหล่งน้ำไหลเข้าสู่ท่อรับน้ำไปยังเครื่อง ผ่านวาล์วทิ้งน้ำจนความเร็วของการไหลเพิ่มสูงขึ้นทำให้เกิดแรงยกวาล์วทิ้งน้ำให้ปิด ซึ่งการปิดวาล์วทิ้งน้ำทำให้เกิดความดันจำนวนมากในตัวเครื่อง เรียกว่า ปรากฏการณ์ Water Hammer ทำให้วาล์วกันน้ำกลับถูกยกขึ้น น้ำส่วนหนึ่งจะถูกอัดเข้าไปเก็บในถังแรงดันและเข้าสู่ท่อจ่ายน้ำขึ้นไปยังถังพักน้ำ ขณะเดียวกันความดันในตัวเครื่องจะลดลงทำให้วาล์วกันน้ำกลับปิดและวาล์วน้ำทิ้งเปิด ตะบันน้ำก็เริ่มทำงานรอบใหม่อีกครั้ง
ทั้งนี้จุดที่ติดตั้งเครื่องตะบันน้ำต้องอยู่ต่ำกว่าผิวน้ำอย่างน้อย 1.5 เมตร แต่ถ้าให้ดีควรต่ำกว่าประมาณ 2-3 เมตร และท่อส่งน้ำมายังเครื่องต้องมีความยาวไม่น้อยกว่า 15 เมตร แรงดันน้ำถึงจะเพียงพอทำให้ระบบดำเนินไปได้อย่างสมบูรณ์ ซึ่งปัจจุบันเครื่องตะบันน้ำที่พัฒนาขึ้นมาสามารถสูบน้ำได้มากกว่าระดับแรงดันตั้งต้นถึง 10 เท่า เช่น ถ้าแรงดันน้ำเริ่มต้นที่ 2 เมตร (ความสูงจากผิวน้ำมาที่ตัวเครื่องตะบันน้ำ) จะสูบน้ำไปใช้ในพื้นที่ที่สูงกว่าถึง 20 เมตรเลยทีเดียว
ผู้สนใจเครื่องตะบันน้ำ ติดต่อสอบถามได้ที่ภาควิชาวิศวกรรมชลประทาน มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน โทร. 0-3435-1897 ต่อ 7201 หรือ 09-1278-9800 ได้ตลอดเวลา
คำสำคัญ
บันทึกโดย