เทคโนโลยีพร้อมถ่ายทอด
การใช้น้ำส้มควันไม้ร่วมกับไคโตซานหรือเรียกว่า “ควันไม้ไคโตซาน” สำหรับการเกษตรมีส่วนประกอบและคุณสมบัติ ดังนี้
1. น้ำส้มควันไม้ (wood vinegar/ Pyroligneous acid) คือ สารประกอบทางธรรมชาติที่ได้จากการควบแน่นควันไม้ที่เกิดขึ้นในระหว่างการเผาถ่านไม้ในขณะที่ไม้กำลังกลายสภาพเป็นถ่าน (pyrolysis) เป็นของเหลวสีน้ำตาลปนแดง มีกลิ่นควันไฟ มีฤทธิ์เป็นกรด (pH ประมาณ 2.5-3.0) มีสารประกอบทางเคมีมากกว่า 200 ชนิด
1.1 สารประกอบที่สำคัญในน้ำส้มควันไม้
1. กรดอะซิติก (acitic acid) เป็นสารกลุ่มออกฤทธิ์ฆ่าเชื้อโรค เชื้อรา แบคทีเรีย และไวรัส
2. สารประกอบฟีนอล (phenol) เป็นสารในกลุ่มการควบคุมการเจริญเติบโตของพืช
3. ฟอร์มาลดีไฮด์ (formaldehyde) เป็นสารในกลุ่มออกฤทธิ์ฆ่าเชื้อโรค และแมลงศัตรูพืช
4. เอธิล เอ็น วาเลอเรด (ethyl-n-valerate) เป็น สารในกลุ่มเร่งการเจริญเติบโตของพืช
5. เมธานอล (methanal) เป็นสารในกลุ่มออกฤทธิ์ฆ่าเชื้อโรค เชื้อรา แบคทีเรีย และไวรัส
6. น้ำมันทาร์ (tar) เป็นสารจับใบลดการใช้สารเคมี
1.2 คุณสมบัติของน้ำส้มควันไม้
1. ช่วยป้องกันและกำจัดศัตรูพืช
2. เร่งการเจริญเติบโตของรากพืช
3. ช่วยฟื้นฟูและปรับสภาพดินให้ร่วนซุย
4. ช่วยให้พืชออกดอกและติดผลง่ายขึ้น
5. ช่วยสร้างความสมบูรณ์แข็งแรงต้านทานโรค
2. ไคโตซาน (chitosan) เป็นสารเกษตรอินทรีย์ที่ไม่มีความเป็นพิษ สามารถย่อยสลายได้ตามธรรมชาติ สามารถนำไปใช้ประโยชน์ในด้านการเกษตรแทนการใช้สารเคมีที่เป็นอันตราย ได้แก่
- ใช้เคลือบผิวผลผลิตทางการเกษตรเพื่อยืดอายุการเก็บรักษา
- ช่วยแก้ปัญหาการสูญเสียของผลิตผลหลังการเก็บเกี่ยว
- ใช้เป็นสารต่อต้านเชื้อรา ไวรัส และแบคทีเรียบางชนิด เช่น ยับยั้งโรคโคนเน่าจากเชื้อรา โรคแอนแทรกโนส และโรคอื่นๆ
- ใช้ผสมกับอาหารสัตว์เพื่อลดไขมันในสัตว์เศรษฐกิจ เช่น สุกร นำไปใช้ในอุตสาหกรรมยาและเภสัชกรรม หรือนำไปใช้ในอุตสาหกรรมอาหารเป็นสารยับยั้งจุลินทรีย์
อ่านข้อมูลเพิ่มเติมในเอกสารแนบ..