เทคโนโลยีพร้อมถ่ายทอด
ชื่อ
เครื่องกำจัดไข่มอดด้วยคลื่นวิทยุที่พ่วงคุณสมบัติในการลดความชื้นข้าว
ชม 927 ครั้ง
52
เจ้าของ
รศ.ดร.สุชาดา เวียรศิลป์
เมล์
-
รายละเอียด
รศ.ดร.สุชาดา เวียรศิลป์ จากคณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ นักวิจัยผู้พัฒนาเทคโนโลยีลดความชื้นและกำจัดแมลงด้วยคลื่นวิทยุเล่าถึงความเป็นมาว่า ศึกษาวิจัยการใช้คลื่นวิทยุกำจัดโรคและแมลงในเมล็ดพืชมากกว่า 20 ปี โดยความร่วมมือกับสถาบันในเยอรมนี ซึ่งมีเครื่องมือพร้อมและได้ให้ยืมเครื่องมือมาทำวิจัยในเมืองไทย โดยแรกเริ่มมุ่งเน้นที่การกำจัดเชื้อราที่ติดอยู่ในเมล็ดพันธุ์ และไม่สามารถกำจัดด้วยสารเคมี
ผลจากการศึกษา รศ.ดร.สุชาดาพบว่านอกจากกำจัดเชื้อราได้แล้วยังกำจัดแมลงในเมล็ดพืชได้ จึงพัฒนาต่อเป็นเครื่องจำกัดมอดในเมล็ดข้าว โดยคลื่นวิทยุจะสั่นโมเลกลุภายในเมล็ดข้าวด้วยความถี่วินาทีละหลายล้านครั้ง ทำให้เกิดความร้อนสูงภายในระยะเวลาสั้น และทำลายทั้งมอดและไข่มอด ผลจากความร้อนดังกล่าวยังช่วยลดความชื้นในเมล็ดข้าวได้ ซึ่งเมื่อเทียบกับกระบวนการลดความชื้นในกระบวนการปกติต้องใช้อุณหภูมิถึง 100 องศาเซลเซียส แต่เครื่องลดความชื้นด้วยคลื่นวิทยุให้ความร้อนเพียง 55 องศาเซลเซียส จึงแทบแยกการเปลี่ยนแปลงทางกายภาพของเมล็ดข้าวไม่ออก
ส่วนการกำจัดเชื้อราด้วยคลื่นวิทยุนั้น รศ.ดร.สุชาดาระบุว่า ต้องใช้อุณหภูมิสูง 85 องศาเซลเซียส ซึ่งเป็นประโยชน์ต่อข้าวคุณภาพที่ไม่ขัดสีอย่างข้าวไรซ์เบอร์รี่ ข้าวกล้องอินทรีย์ เนื่องจากข้าวเหล่านั้นไม่ได้ขัด ตัวหุ้มข้าว ซึ่งเป็นแหล่งเจริญเติบโตของเชื้อราเป็นอย่างดี และข้าวที่มีเชื้อราจะเหม็นหื่น การใช้คลื่นวิทยุให้ความร้อนกำจัดเชื้อราแก่ข้าวคุณภาพเหล่านั้นจะช่วยยืดอายุการเก็บข้าวได้
ด้าน วิสูตร จิตสุทธิภากร กรรมการผู้จัดการ และกานต์ จิตสุทธิภากร ผู้จัดการทั่วไป บริษัท ยนต์ผลดี จำกัด ผู้ผลิตเครื่องจักรและอุปกรณ์สำหรับโรงสีข้าว เผยแก่ทีมข่าวผู้จัดการวิทยาศาสตร์ว่า โรงสีในเมืองไทยที่สามารถรองรับเครื่องลดความชื้นและกำจัดแมลงในข้าวด้วยเทคโนโลยีการให้ความร้อนด้วยคลื่นวิทยุประมาณ 1,000 โรงสี โดยสามารถดัดแปลงเข้ากับระบบโรงสีเดิมที่มีอยู่ ซึ่งเทคโนโลยีนี้จะทำให้ข้าวไทยแตกต่างจากข้าวต่างประเทศ และสามารถทดแทนการรมยากำจัดมอด ซึ่งอนาคตหลายประเทศจะห้ามนำเข้า
กานต์ระบุว่าเทคโนโลยีลดความชื้นข้าวและกำจัดไข่มอดนี้จะเป็นประโยชน์มากต่อการส่งออกข้าวคุณภาพสูงอย่างข้าวไรซ์เบอร์รี ซึ่งส่งออกไปยังจีนและญี่ปุ่นจำนวนมาก โดยผู้ส่งออกต้องรมยากำจัดมอดและส่งออกทางตู้เย็นซึ่งมีค่าใช้จ่ายสูง และต้องบรรจุในถุงสุญญากาศที่สร้างความเสียหายต่อข้าวระหว่างการส่งออกมาก แต่การใช้คลื่นวิทยุจะช่วยกำจัดไข่มอดได้ จึงไม่ต้องบรรจุถุงสุญญากาศ และหลังเปิดถุงข้าวแล้วยังปราศจากมอด ทว่าสิ่งที่ผู้ประกอบการต้องการจากภาครัฐเพิ่มเติม คือระบบรับรองข้าวที่ผ่านการกำจัดความชื้นและมอดด้วยคลื่นวิทยุ ซึ่งจะสร้างความมั่นใจแต่ผู้ใช้เทคโนโลยี และสามารถตีตรารับรองบนฉลากข้าวบรรจุถุงได้
ผลจากการศึกษา รศ.ดร.สุชาดาพบว่านอกจากกำจัดเชื้อราได้แล้วยังกำจัดแมลงในเมล็ดพืชได้ จึงพัฒนาต่อเป็นเครื่องจำกัดมอดในเมล็ดข้าว โดยคลื่นวิทยุจะสั่นโมเลกลุภายในเมล็ดข้าวด้วยความถี่วินาทีละหลายล้านครั้ง ทำให้เกิดความร้อนสูงภายในระยะเวลาสั้น และทำลายทั้งมอดและไข่มอด ผลจากความร้อนดังกล่าวยังช่วยลดความชื้นในเมล็ดข้าวได้ ซึ่งเมื่อเทียบกับกระบวนการลดความชื้นในกระบวนการปกติต้องใช้อุณหภูมิถึง 100 องศาเซลเซียส แต่เครื่องลดความชื้นด้วยคลื่นวิทยุให้ความร้อนเพียง 55 องศาเซลเซียส จึงแทบแยกการเปลี่ยนแปลงทางกายภาพของเมล็ดข้าวไม่ออก
ส่วนการกำจัดเชื้อราด้วยคลื่นวิทยุนั้น รศ.ดร.สุชาดาระบุว่า ต้องใช้อุณหภูมิสูง 85 องศาเซลเซียส ซึ่งเป็นประโยชน์ต่อข้าวคุณภาพที่ไม่ขัดสีอย่างข้าวไรซ์เบอร์รี่ ข้าวกล้องอินทรีย์ เนื่องจากข้าวเหล่านั้นไม่ได้ขัด ตัวหุ้มข้าว ซึ่งเป็นแหล่งเจริญเติบโตของเชื้อราเป็นอย่างดี และข้าวที่มีเชื้อราจะเหม็นหื่น การใช้คลื่นวิทยุให้ความร้อนกำจัดเชื้อราแก่ข้าวคุณภาพเหล่านั้นจะช่วยยืดอายุการเก็บข้าวได้
ด้าน วิสูตร จิตสุทธิภากร กรรมการผู้จัดการ และกานต์ จิตสุทธิภากร ผู้จัดการทั่วไป บริษัท ยนต์ผลดี จำกัด ผู้ผลิตเครื่องจักรและอุปกรณ์สำหรับโรงสีข้าว เผยแก่ทีมข่าวผู้จัดการวิทยาศาสตร์ว่า โรงสีในเมืองไทยที่สามารถรองรับเครื่องลดความชื้นและกำจัดแมลงในข้าวด้วยเทคโนโลยีการให้ความร้อนด้วยคลื่นวิทยุประมาณ 1,000 โรงสี โดยสามารถดัดแปลงเข้ากับระบบโรงสีเดิมที่มีอยู่ ซึ่งเทคโนโลยีนี้จะทำให้ข้าวไทยแตกต่างจากข้าวต่างประเทศ และสามารถทดแทนการรมยากำจัดมอด ซึ่งอนาคตหลายประเทศจะห้ามนำเข้า
กานต์ระบุว่าเทคโนโลยีลดความชื้นข้าวและกำจัดไข่มอดนี้จะเป็นประโยชน์มากต่อการส่งออกข้าวคุณภาพสูงอย่างข้าวไรซ์เบอร์รี ซึ่งส่งออกไปยังจีนและญี่ปุ่นจำนวนมาก โดยผู้ส่งออกต้องรมยากำจัดมอดและส่งออกทางตู้เย็นซึ่งมีค่าใช้จ่ายสูง และต้องบรรจุในถุงสุญญากาศที่สร้างความเสียหายต่อข้าวระหว่างการส่งออกมาก แต่การใช้คลื่นวิทยุจะช่วยกำจัดไข่มอดได้ จึงไม่ต้องบรรจุถุงสุญญากาศ และหลังเปิดถุงข้าวแล้วยังปราศจากมอด ทว่าสิ่งที่ผู้ประกอบการต้องการจากภาครัฐเพิ่มเติม คือระบบรับรองข้าวที่ผ่านการกำจัดความชื้นและมอดด้วยคลื่นวิทยุ ซึ่งจะสร้างความมั่นใจแต่ผู้ใช้เทคโนโลยี และสามารถตีตรารับรองบนฉลากข้าวบรรจุถุงได้
บันทึกโดย