เทคโนโลยีพร้อมถ่ายทอด
สาเหตุการเกิดโรคในฟาร์มปลาดุก โดยการเก็บตัวอย่างปลาดุก จากกลุ่มเกษตรกรผู้เลี้ยงปลาดุก อ. วารินช้าราบ จ.อุบลราชธานี เมื่อน้าตัวอย่างปลาดุกลูกผสมป่วยมาแยกเชื้อจากตับและไตส่วนหลัง ท้าให้เชื้อบริสุทธิ์และทดสอบคุณสมบัติทางชีวเคมี พบว่าสามารถแยกแบคทีเรียได้ 6 ชนิดจากปลาดุกป่วย จากจ้านวนทั้งสิ้น 53 สายพันธุ์ ได้แก่ Aeromonas hydrophila 28 สายพันธุ์ (ร้อยละ 52.83) Pseudomonas aeruginosa 2 สายพันธุ์ (ร้อยละ 3.77) Vibrio spp. 11 สายพันธุ์ (ร้อยละ 20.75) A. sorbia 9 สายพันธุ์ (ร้อยละ 16.98) Staphylococcus spp. 2 สายพันธุ์ (ร้อยละ 3.77) และS. putrefaciens 1 สายพันธุ์ (ร้อยละ 1.89) ซึ่งลักษณะแบคทีเรียมีความแตกต่างกัน โดยส่วนใหญ่เป็น A. hydrophila เป็นส่วนใหญ่ คิดเป็นร้อยละของการติดเชื้อแบคทีเรียทั้งหมด โรคที่เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรียชนิดนี้ เรียกว่า Motile Aeromonas Disease ซึ่งเป็นโรคที่พบทั่วไปในการเลี้ยงปลาในเขตร้อน ปกติเชื้ออาศัยอยู่ในน้า จะก่อโรคเมื่อสภาพแวดล้อมเปลี่ยนแปลงหรือปลาอ่อนแอ โดยความรุนแรงของโรคมีตั้งแต่อาการรุนแรงเฉียบพลัน(Acute) อาการกึ่งเฉียบพลัน (Subacute) อาการเรื้อรังมีแผลหลุมตามกล้ามเนื้อ (Chronic Ulcerous) หรือไม่แสดงอาการ (Latent) ส้าหรับโรคติดเชื้อ A. hydrophila ในประเทศไทยเรียกว่า โรคโคนครีบหูบวม ซึ่งพบในปลาดุกขนาดเล็กไปจนถึงขนาดใหญ่ อาการที่ส้าคัญคือ บริเวณโคนครีบหูอักเสบ บวมแดง มีแผลตามตัว ตกเลือดตามล้าตัว เปิดผ่าช่องท้องพบมีน้าขุ่นปนเลือด ตับ ไตและม้ามบวมโต นอกจากนี้ A. Hydrophila ยังก่อโรคร่วมกับเชื้อแบคทีเรียชนิดอื่นๆ รวมถึง Pseudomonas aeruginosa และ Vibrio spp. อาการที่ปรากฏขึ้นกับความรุนแรงของโรค แต่โดยทั่วไปก็มักมีการตกเลือดหรือจุดเลือดออกตามล้าตัว ปลาท้องบวมน้า ตาโปน ผิวสีเปลี่ยนส่วน S. putrefaciens ก็เป็น Bacterial Flora ของปลา ไม่ค่อยพบการก่อโรค แต่มีรายงานว่าท้าให้ปลา rabbitfish (Siganus rivulatus) ตายเป็นจ้านวนมาก