เทคโนโลยีพร้อมถ่ายทอด
ชื่อ
ห้องรมแก๊สซัลเฟอร์ไดออกไซด์
ชม 1,767 ครั้ง
55
เจ้าของ
อุทยานวิทยาศาสตร์ภาคเหนือ
เมล์
-
รายละเอียด
อุทยานวิทยาศาสตร์ภาคเหนือ กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ร่วมมหาวิทยาลัยแม่โจ้ พัฒนา ห้องรมแก๊สซัลเฟอร์ไดออกไซด์ หรือเครื่องรมควันคุณภาพสูง สามารถช่วยยืดอายุลำไยสดได้ถึง 20 วัน และผักผลไม้ทั่วไปได้นานขึ้น 3 เท่า ไม่ทิ้งสารตกค้าง ช่วยเพิ่มมูลค่าส่งออกให้ลำไยจากกิโลกรัมละ 40 50 บาท เป็น 450 500 บาท
ลำไย เป็นผลไม้เศรษฐกิจที่สำคัญต่อการส่งออก ทำรายได้เข้าประเทศกว่าหมื่นล้านบาทต่อปี โดยส่งออกในรูปลำไยสดมากที่สุด รองลงมาคืออบแห้ง แช่แข็ง และลำไยกระป๋อง ตลาดส่งออกหลักได้แก่ จีน อินโดนีเซีย และเวียดนาม โดยตลาดจีนและฮ่องกงคิดเป็นสัดส่วนกว่าร้อยละ 67 ประเทศไทยมีพื้นที่ปลูกลำไยกระจายเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว แหล่งปลูกลำไยที่สำคัญคือจังหวัดภาคเหนือตอนบน ได้แก่ เชียงใหม่ ลำพูน เชียงราย ลำปาง แพร่ และน่าน นอกนั้นปลูกในภาคอื่นๆ เช่น เลย จันทบุรี และสระแก้ว
วิธีการปฏิบัติหลังการเก็บเกี่ยวลำไยให้สามารถเก็บรักษาได้นาน ปกติจะใช้วิธีการรมควันผลลำไยด้วยควันกำมะถัน หรือซัลเฟอร์ไดออกไซด์ ซึ่งจะช่วยรักษาสีของเปลือกลำไย และป้องกันเชื้อรา ปัญหาที่เกิดขึ้นคือ มีปริมาณซัลเฟอร์ไดออกไซด์ตกค้างในลำไยสด ที่ส่งออกเกินกำหนด สาเหตุอาจเกิดจากห้องรมควันที่ผู้ประกอบการใช้มีการกระจายของซัลเฟอร์ไดออกไซด์ไม่สม่ำเสมอทั่วห้องรมควัน ทำให้ลำไยบางส่วนมีปริมาณสารตกค้างที่มากเกินไป และอาจเกิดจากวิธีการรมควันไม่ถูกต้อง ผู้ประกอบการใช้สารกำมะถันในปริมาณมากเกินไป เพื่อยืดอายุการเก็บรักษาให้นาน ด้วยเหตุนี้ อุทยานวิทยาศาสตร์ภาคเหนือ กระทรวงวิทยาศาสตรฯ จึงได้ร่วมกับสถาบันบ่มเพาะวิสาหกิจ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ หาทางพัฒนาห้องรมควันกำมะถันคุณภาพสูงขึ้นมา โดยใช้ความรู้ทางด้านวิศวกรรมและความรู้ด้านการจัดการหลังการเก็บเกี่ยวพืชผล จนในที่สุดก็ประสบความสำเร็จ สามารถสร้างห้องรมแก๊สซัลเฟอร์ไดออกไซด์ที่สามารถควบคุมความเข้มข้นและจัดการเรื่องการกระจายตัวของแก๊สในห้องอบให้สม่ำเสมอได้ ลดการใช้กำมะถัน ลดปริมาณการปล่อยก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์ออกสู่บรรยากาศ ทำให้ไม่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ชุมชน รวมทั้งเป็นการเสริมสร้างขีดความสามารถการส่งออกลำไยที่ได้มาตรฐานเป็นที่ยอมรับของตลาดต่างประเทศ
ลำไยที่ผ่านการรวมควันด้วยวิธีนี้มีคุณภาพสูงและปริมาณสารตกค้างก็ไม่เกินเกณฑ์ที่กำหนด ทั้งยังช่วยยืดอายุผักผลไม้ให้นานขึ้น 3 เท่า ยืดอายุการเก็บรักษาลำไยให้สดได้ถึง 20 วัน และเพิ่มมูลค่าให้แก่ลำไย โดยราคาลำไยสด เฉลี่ยในประเทศไทย กิโลกรัมละ 40-50 บาท ขณะที่ราคาลำไยส่งออก ราคาเฉลี่ย 450 500 บาทต่อกิโลกรัม ซึ่งเทคโนโลยีนี้ถือเป็นการช่วยเกษตรกรและผู้ประกอบการไทย ตลอดจนเพิ่มมูลค่าการส่งออกลำไยให้กับประเทศได้
ลำไย เป็นผลไม้เศรษฐกิจที่สำคัญต่อการส่งออก ทำรายได้เข้าประเทศกว่าหมื่นล้านบาทต่อปี โดยส่งออกในรูปลำไยสดมากที่สุด รองลงมาคืออบแห้ง แช่แข็ง และลำไยกระป๋อง ตลาดส่งออกหลักได้แก่ จีน อินโดนีเซีย และเวียดนาม โดยตลาดจีนและฮ่องกงคิดเป็นสัดส่วนกว่าร้อยละ 67 ประเทศไทยมีพื้นที่ปลูกลำไยกระจายเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว แหล่งปลูกลำไยที่สำคัญคือจังหวัดภาคเหนือตอนบน ได้แก่ เชียงใหม่ ลำพูน เชียงราย ลำปาง แพร่ และน่าน นอกนั้นปลูกในภาคอื่นๆ เช่น เลย จันทบุรี และสระแก้ว
วิธีการปฏิบัติหลังการเก็บเกี่ยวลำไยให้สามารถเก็บรักษาได้นาน ปกติจะใช้วิธีการรมควันผลลำไยด้วยควันกำมะถัน หรือซัลเฟอร์ไดออกไซด์ ซึ่งจะช่วยรักษาสีของเปลือกลำไย และป้องกันเชื้อรา ปัญหาที่เกิดขึ้นคือ มีปริมาณซัลเฟอร์ไดออกไซด์ตกค้างในลำไยสด ที่ส่งออกเกินกำหนด สาเหตุอาจเกิดจากห้องรมควันที่ผู้ประกอบการใช้มีการกระจายของซัลเฟอร์ไดออกไซด์ไม่สม่ำเสมอทั่วห้องรมควัน ทำให้ลำไยบางส่วนมีปริมาณสารตกค้างที่มากเกินไป และอาจเกิดจากวิธีการรมควันไม่ถูกต้อง ผู้ประกอบการใช้สารกำมะถันในปริมาณมากเกินไป เพื่อยืดอายุการเก็บรักษาให้นาน ด้วยเหตุนี้ อุทยานวิทยาศาสตร์ภาคเหนือ กระทรวงวิทยาศาสตรฯ จึงได้ร่วมกับสถาบันบ่มเพาะวิสาหกิจ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ หาทางพัฒนาห้องรมควันกำมะถันคุณภาพสูงขึ้นมา โดยใช้ความรู้ทางด้านวิศวกรรมและความรู้ด้านการจัดการหลังการเก็บเกี่ยวพืชผล จนในที่สุดก็ประสบความสำเร็จ สามารถสร้างห้องรมแก๊สซัลเฟอร์ไดออกไซด์ที่สามารถควบคุมความเข้มข้นและจัดการเรื่องการกระจายตัวของแก๊สในห้องอบให้สม่ำเสมอได้ ลดการใช้กำมะถัน ลดปริมาณการปล่อยก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์ออกสู่บรรยากาศ ทำให้ไม่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ชุมชน รวมทั้งเป็นการเสริมสร้างขีดความสามารถการส่งออกลำไยที่ได้มาตรฐานเป็นที่ยอมรับของตลาดต่างประเทศ
ลำไยที่ผ่านการรวมควันด้วยวิธีนี้มีคุณภาพสูงและปริมาณสารตกค้างก็ไม่เกินเกณฑ์ที่กำหนด ทั้งยังช่วยยืดอายุผักผลไม้ให้นานขึ้น 3 เท่า ยืดอายุการเก็บรักษาลำไยให้สดได้ถึง 20 วัน และเพิ่มมูลค่าให้แก่ลำไย โดยราคาลำไยสด เฉลี่ยในประเทศไทย กิโลกรัมละ 40-50 บาท ขณะที่ราคาลำไยส่งออก ราคาเฉลี่ย 450 500 บาทต่อกิโลกรัม ซึ่งเทคโนโลยีนี้ถือเป็นการช่วยเกษตรกรและผู้ประกอบการไทย ตลอดจนเพิ่มมูลค่าการส่งออกลำไยให้กับประเทศได้
คำสำคัญ
บันทึกโดย
รายละเอียดผู้รับบริการ
53603
ผู้ถาม : วิยะดา วิกาหะ ที่อยู่ อำเภอ วังน้ำเย็น
วันที่ถาม : 02/02/2565
คำถาม : สอบถามราคา และตัวสินค้า|1659|W
คำตอบ :
การดำเนินงานจากเครือข่าย
วันที่ถาม : 02/02/2565
คำถาม : สอบถามราคา และตัวสินค้า|1659|W
คำตอบ :
การดำเนินงานจากเครือข่าย
53602
ผู้ถาม : วิยะดา วิกาหะ ที่อยู่ อำเภอ วังน้ำเย็น
วันที่ถาม : 02/02/2565
คำถาม : สอบถามราคา การใช้งานสินค้า|1659|W
คำตอบ :
การดำเนินงานจากเครือข่าย
วันที่ถาม : 02/02/2565
คำถาม : สอบถามราคา การใช้งานสินค้า|1659|W
คำตอบ :
การดำเนินงานจากเครือข่าย
53601
ผู้ถาม : วิยะดา วิกาหะ ที่อยู่ ตำบล วังน้ำเย็น อำเภอ วังน้ำเย็น
วันที่ถาม : 02/02/2565
คำถาม : สอบถามรายละเอียด-ราคา|1659|W
คำตอบ :
การดำเนินงานจากเครือข่าย
วันที่ถาม : 02/02/2565
คำถาม : สอบถามรายละเอียด-ราคา|1659|W
คำตอบ :
การดำเนินงานจากเครือข่าย
47819
ผู้ถาม : นางสาวณัฐชา จุทะบาล ที่อยู่ 306 ซอยลาดพร้าว107 แควงคลองจั่น เขตบางกะปิ กรุงเทพมหานคร 10240
วันที่ถาม : 28/08/2563
คำถาม : ต้องการทราบความเป็นมา ต้นทุนการผลิต และวิธีการผลิตหมูทุบ ส่วนประกอบในการทำ เพื่อนำไปทำโครงงานศึกษาต้นทุนผลิตภัณฑ์ชุมชน|1302|M
คำตอบ :
การดำเนินงานจากเครือข่าย
วันที่ถาม : 28/08/2563
คำถาม : ต้องการทราบความเป็นมา ต้นทุนการผลิต และวิธีการผลิตหมูทุบ ส่วนประกอบในการทำ เพื่อนำไปทำโครงงานศึกษาต้นทุนผลิตภัณฑ์ชุมชน|1302|M
คำตอบ :
การดำเนินงานจากเครือข่าย
46191
ผู้ถาม : นิธิมา ขอเจริญ ที่อยู่ ป่าหล่ายไฮโดร์
วันที่ถาม : 03/04/2563
คำถาม : สนใจเครื่องล้างผักลลัดค่ะจะสอบถามรายละเอียดได้ที่ไหนค่ะ|764|M
คำตอบ :
การดำเนินงานจากเครือข่าย
วันที่ถาม : 03/04/2563
คำถาม : สนใจเครื่องล้างผักลลัดค่ะจะสอบถามรายละเอียดได้ที่ไหนค่ะ|764|M
คำตอบ :
การดำเนินงานจากเครือข่าย