เทคโนโลยีพร้อมถ่ายทอด
ชื่อ
เครื่องบรรจุส่วนผสมสมุนไพร
ชม 1,078 ครั้ง
54
เจ้าของ
ผศ.ดร.นเรศ อินต๊ะวงศ์
เมล์
-
รายละเอียด
เครื่องบรรจุส่วนผสมสมุนไพร ลงสู่แม่พิมพ์ประหยัดพลังงาน (บ้านเมือง / หน้า 15)
สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) จัดโครงการพัฒนาอุตสาหกรรมไทย (ITAP) ซึ่งเป็นโครงการที่จะให้ทุนสำหรับนักวิชาการหรือหน่วยงานที่มีความเชี่ยวชาญที่สามารถเข้าไปให้คำปรึกษาและพัฒนาการะบวนการผลิตของภาคอุตสาหกรรมหรือแม้แต่วิสาหกิจชุมชน
ผศ.ดร.นเรศ อินต๊ะวงศ์ อาจารย์ประจำคณะวิศวกรรมศาสตร์ ม.เทคโนโลยีราชมงคลล้านนา หัวหน้าโครงการออกแบบเครื่องต้มส่วนผสมสบู่สมุนไพรและพัฒนาออกแบบเครื่องบรรจุส่วนผสมสมุนไพรลงสู่แม่พิมพ์ ได้ดำเนินโครงการออกแบบเครื่องต้มส่วนผสมสบู่สมุนไพรและพัฒนาออกแบบเครื่องบรรจุส่วนผสมสบู่สมุนไพรลงสู่แม่พิมพ์ สำหรับกลุ่มวิสาหกิจชุมชนสบู่สมุนไพรบ้านนาไผ่ ต.เสริมซ้าย อ.เสริมงาม จ.ลำปาง ซึ่งก่อนที่จะมีโครงการสามารถผลิตสบู่สมุนไพรได้วันละ 120 ก้อน ซึ่งไม่เพียงพอต่อคำสั่งซื้อที่มี และหลังจากที่ผู้เชี่ยวชาญลงพื้นที่ศึกษาข้อมูล จึงเกิดโครงการสร้างเครื่องต้มสบู่สมุนไพรและชุดบรรจุส่วนผสมลงสู่แม่พิมพ์ ทำให้สามารถผลิตได้วันละ 960 ก้อน สามารถรับคำสั่งซื้อได้เพิ่มขึ้น
ด้านนางสาวณัฐรดา แก้วชื่นชัย ที่ปรึกษาโครงการ ITAP สวทช. กล่าวว่า จากการลงพื้นที่ประเมินโครงการวิจัย พบว่าวิสาหกิจชุมชนบ้านนาไผ่สามารถผลิตสบู่สมุนไพรได้เพิ่มมากขึ้นและรับคำสั่งซื้อได้มากขึ้น และมีการขยายโรงงานในการผลิตสบู่สมุนไพรให้มีความสะอาดและทันสมัยจนได้รับรองจากสำนักงานคณะการอาหารและยา และกระบวนการผลิตได้มาตรฐาน GMP ที่สำคัญทำเป็นผลิตภัณฑ์ OTOP ในระดับ 4 ดาว
สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) จัดโครงการพัฒนาอุตสาหกรรมไทย (ITAP) ซึ่งเป็นโครงการที่จะให้ทุนสำหรับนักวิชาการหรือหน่วยงานที่มีความเชี่ยวชาญที่สามารถเข้าไปให้คำปรึกษาและพัฒนาการะบวนการผลิตของภาคอุตสาหกรรมหรือแม้แต่วิสาหกิจชุมชน
ผศ.ดร.นเรศ อินต๊ะวงศ์ อาจารย์ประจำคณะวิศวกรรมศาสตร์ ม.เทคโนโลยีราชมงคลล้านนา หัวหน้าโครงการออกแบบเครื่องต้มส่วนผสมสบู่สมุนไพรและพัฒนาออกแบบเครื่องบรรจุส่วนผสมสมุนไพรลงสู่แม่พิมพ์ ได้ดำเนินโครงการออกแบบเครื่องต้มส่วนผสมสบู่สมุนไพรและพัฒนาออกแบบเครื่องบรรจุส่วนผสมสบู่สมุนไพรลงสู่แม่พิมพ์ สำหรับกลุ่มวิสาหกิจชุมชนสบู่สมุนไพรบ้านนาไผ่ ต.เสริมซ้าย อ.เสริมงาม จ.ลำปาง ซึ่งก่อนที่จะมีโครงการสามารถผลิตสบู่สมุนไพรได้วันละ 120 ก้อน ซึ่งไม่เพียงพอต่อคำสั่งซื้อที่มี และหลังจากที่ผู้เชี่ยวชาญลงพื้นที่ศึกษาข้อมูล จึงเกิดโครงการสร้างเครื่องต้มสบู่สมุนไพรและชุดบรรจุส่วนผสมลงสู่แม่พิมพ์ ทำให้สามารถผลิตได้วันละ 960 ก้อน สามารถรับคำสั่งซื้อได้เพิ่มขึ้น
ด้านนางสาวณัฐรดา แก้วชื่นชัย ที่ปรึกษาโครงการ ITAP สวทช. กล่าวว่า จากการลงพื้นที่ประเมินโครงการวิจัย พบว่าวิสาหกิจชุมชนบ้านนาไผ่สามารถผลิตสบู่สมุนไพรได้เพิ่มมากขึ้นและรับคำสั่งซื้อได้มากขึ้น และมีการขยายโรงงานในการผลิตสบู่สมุนไพรให้มีความสะอาดและทันสมัยจนได้รับรองจากสำนักงานคณะการอาหารและยา และกระบวนการผลิตได้มาตรฐาน GMP ที่สำคัญทำเป็นผลิตภัณฑ์ OTOP ในระดับ 4 ดาว
คำสำคัญ
บันทึกโดย