เทคโนโลยีพร้อมถ่ายทอด
ชื่อ
เครื่องหีบปาล์มระดับชุมชน
ชม 1,178 ครั้ง
52
เจ้าของ
เอ็มเทค-สวทช.
เมล์
chalalai@tmc.nstda.or.th
รายละเอียด
ผู้ทรงสิทธิ
สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ ร่วมกับบริษัท เกรทอะโกร จำกัด
ที่มา ข้อมูลเบื้องต้น ความสำคัญของปัญหา
จากการส่งเสริมให้มีการปลูกปาล์มในพื้นที่ต่างๆนอกเหนือจากภาคใต้ที่ประสบผลสำเร็จในการปลูกปาล์มเพื่อผลิตเป็นน้ำมันแล้ว แนวทางการพัฒนาชุมชนและเพิ่มศักยภาพด้านการผลิตและแปรรูปสินค้าการเกษตร กำลังได้รับการส่งเสริมจากหน่วยงานภาครัฐ เนื่องจากสามารถสร้างชุมชนพึ่งตนเองแบบยั่งยืนพร้อมสร้างความแข็งแกร่งด้านสังคมและเศรษฐกิจให้กับชุมชน การพัฒนาระบบการผลิตน้ำมันปาล์มแบบไม่ใช้ไอน้ำขนาดเล็ก กำลังผลิต 1.5. ตันทะลายปาล์ม/ชั่วโมง หรือ 1 ตันผลปาล์มร่วง/ชั่วโมง สามารถตอบสนองแนวคิดการพัฒนาชุมชนแบบยั่งยืน โดยมุ่งเน้นที่ชุมชนที่มีการปลูกปาล์ม และต้องเพิ่มมูลค่าให้ผลิตภัณฑ์การเกษตรด้วยการแปรรูปเป็นน้ำมันปาล์มก่อนส่งจำหน่ายต่อไป นอกจากนี้ สามารถผลิตพลังงานใช้งานภายในชุมชน เช่น ไบโอดีเซล ใช้งานภายในชุมชนพร้อมกับการเพิ่มมูลค่าให้เศษเหลือทิ้งทางการเกษตร
สรุปเทคโนโลยี
ระบบการสกัดน้ำมันปาล์มแบบไม่ใช้ไอน้ำขนาด 1 ตันผลปาล์มต่อชั่วโมง ถูกพัฒนาขึ้นมาให้เหมาะสมกับการใช้งานในระดับชุมชน ซึ่งกระบวนการสกัดน้ำมันปาล์มแบบดั้งเดิมไม่สามารถตอบสนองกับเงื่อนไขและข้อจำกัดของการใช้งาน ระบบการสกัดน้ำมันปาล์มแบบไม่ใช้ไอน้ำนี้มีข้อเด่น คือ ใช้พื้นที่ตั้งโรงงานเล็ก ลดการใช้พลังงาน ดูแลรักษาง่าย ไม่ก่อให้เกิดน้ำเสีย สามารถเคลื่อนที่ได้ ผลิตน้ำมันปาล์มเกรดเอ และกากเหลือจากกระบวนการผลิตสามารถใช้เป็นอาหารสัตว์ได้
ข้อมูลด้านเทคนิค
กำลังการผลิต ประมาณ 1.0 ตันผลปาล์มต่อชั่วโมง การควบคุมการทำงาน PLC
อุณหภูมิการอบผลปาล์ม 80 - 120 องศาเซลเซียส รูปแบบการทำงาน ทำงานต่อเนื่องแบบกึ่งอัตโนมัติ
อุณหภูมิเฉลี่ยการทำงาน 80 - 120 องศาเซลเซียส ความชื้นของน้ำมันปาล์ม น้อยกว่า 0.5 %
การติดตั้งเครื่องจักรหลัก ภายในตู้คอนเทเนอร์ขนาด 40 ฟุต ปริมาณกรดไขมันอิสระ 0.9 - 2.0 %
เชื้อเพลิงสำหรับแหล่งกำเนิดความร้อน ก๊าซธรรมชาติเหลว ระดับคุณภาพน้ำมัน เกรด เอ
ระบบไฟฟ้า สามเฟส และ เฟสเดียว ส่วนประกอบเพิ่มเติม ลานเทปาล์มขนาด 4 ม. X 6 ม.
จุดเด่นของเทคโนโลยี
เหมาะสำหรับใช้ในการผลิตน้ำมันปาล์มระดับชุมชน มีกำลังการผลิตประมาณ 1.0 ตันผลปาล์มต่อชั่วโมง หรือรองรับพื้นที่การเพาะปลูกปาล์มขนาดประมาณ 1500 ไร่ ปราศจากอุปกรณ์กำเนิดไอน้ำใช้งานในระบบ ทำให้ช่วยเพิ่มความสะดวกในการควบคุมการทำงาน ของระบบผลิตและไม่จำเป็นต้องติดตั้งระบบบำบัดน้ำเสีย นอกจากนี้ ยังเป็นระบบสกัดน้ำมันปาล์มที่มีการทำงานต่อเนื่องแบบกึ่งอัตโนมัติ
ประโยชน์ในการนำไปใช้งาน
1. ใช้ผลิตน้ำมันปาล์มระดับชุมชน (ใช้พื้นที่ตั้งโรงงานขนาดเล็ก) ติดตั้งง่าย ใช้งานสะดวก ดูแลรักษาง่าย ไม่มีน้ำเสีย ผลิตน้ำมันปาล์มเกรดเอ และได้กากใช้วัตถุดิบผลิตอาหหารสัตว์
2. พัฒนาเทคโนโลยีขึ้นภายในประเทศที่เหมาะสมกับเงื่อนไขการใช้งานในแต่ละท้องถิ่น และเพิ่มศักยภาพให้อุตสาหกรรมการผลิตเครื่องจักรในประเทศ
3. ลดการใช้พลังงานในการขนส่งวัตถุดิบ และการผลิตน้ำมันปาล์ม
สถานภาพเบื้องต้น
งานวิจัยเสร็จสิ้นสมบูรณ์และพร้อมถ่ายทอดเทคโนโลยี
รูปแบบความร่วมมือ
1. เสาะหาผู้รับอนุญาตให้ใช้สิทธิในเทคโนโลยีเพื่อการผลิตและจำหน่าย
2. กรณีผู้สนใจใช้งานเครื่องหีบปาล์มระดับชุมชนสามารถติดต่อขอรับข้อมูลเพิ่มเติมได้
สนใจผลิตภัณฑ์ ติดต่อได้ที่ :
1. บริษัท สยาม โกล์ด แมชชีน จำกัด (ชื่อเดิม คือ บริษัท สยาม ดุท เคพีเอ็น ไมนิง อินเตอร์ เทรด จำกัด)
59/113 ต.ลาดสวาย อ.ลำลูกกา จ.ปทุมธานี 12150
โทร. 0-2577-3818, 0-2577-1844 ติดต่อ คุณศิริพร ใจดี
Email : n.siripron@gmail.com
2. บริษัท ปาล์ม เพรสซิ่ง เทคโนโลยี จำกัด
115/8-9 หมู่ที่ 2 ต.กระทุ่มล้ม อ.สามพราน จ.นครปฐม 73220
โทร.08-7106-0005, 08-3700-9450 ติดต่อ คุณพงษ์ศักดิ์ หมู่ตระกูลเจริญ
สนใจรับถ่ายทอดเทคโนโลยี ติดต่อได้ที่:
คุณชลาลัย ซัตตั้น
สำนักงานจัดการสิทธิเทคโนโลยี
สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.)
โทร 0-2564-7000 ต่อ 1617
Email : chalalai@tmc.nstda.or.th
สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ ร่วมกับบริษัท เกรทอะโกร จำกัด
ที่มา ข้อมูลเบื้องต้น ความสำคัญของปัญหา
จากการส่งเสริมให้มีการปลูกปาล์มในพื้นที่ต่างๆนอกเหนือจากภาคใต้ที่ประสบผลสำเร็จในการปลูกปาล์มเพื่อผลิตเป็นน้ำมันแล้ว แนวทางการพัฒนาชุมชนและเพิ่มศักยภาพด้านการผลิตและแปรรูปสินค้าการเกษตร กำลังได้รับการส่งเสริมจากหน่วยงานภาครัฐ เนื่องจากสามารถสร้างชุมชนพึ่งตนเองแบบยั่งยืนพร้อมสร้างความแข็งแกร่งด้านสังคมและเศรษฐกิจให้กับชุมชน การพัฒนาระบบการผลิตน้ำมันปาล์มแบบไม่ใช้ไอน้ำขนาดเล็ก กำลังผลิต 1.5. ตันทะลายปาล์ม/ชั่วโมง หรือ 1 ตันผลปาล์มร่วง/ชั่วโมง สามารถตอบสนองแนวคิดการพัฒนาชุมชนแบบยั่งยืน โดยมุ่งเน้นที่ชุมชนที่มีการปลูกปาล์ม และต้องเพิ่มมูลค่าให้ผลิตภัณฑ์การเกษตรด้วยการแปรรูปเป็นน้ำมันปาล์มก่อนส่งจำหน่ายต่อไป นอกจากนี้ สามารถผลิตพลังงานใช้งานภายในชุมชน เช่น ไบโอดีเซล ใช้งานภายในชุมชนพร้อมกับการเพิ่มมูลค่าให้เศษเหลือทิ้งทางการเกษตร
สรุปเทคโนโลยี
ระบบการสกัดน้ำมันปาล์มแบบไม่ใช้ไอน้ำขนาด 1 ตันผลปาล์มต่อชั่วโมง ถูกพัฒนาขึ้นมาให้เหมาะสมกับการใช้งานในระดับชุมชน ซึ่งกระบวนการสกัดน้ำมันปาล์มแบบดั้งเดิมไม่สามารถตอบสนองกับเงื่อนไขและข้อจำกัดของการใช้งาน ระบบการสกัดน้ำมันปาล์มแบบไม่ใช้ไอน้ำนี้มีข้อเด่น คือ ใช้พื้นที่ตั้งโรงงานเล็ก ลดการใช้พลังงาน ดูแลรักษาง่าย ไม่ก่อให้เกิดน้ำเสีย สามารถเคลื่อนที่ได้ ผลิตน้ำมันปาล์มเกรดเอ และกากเหลือจากกระบวนการผลิตสามารถใช้เป็นอาหารสัตว์ได้
ข้อมูลด้านเทคนิค
กำลังการผลิต ประมาณ 1.0 ตันผลปาล์มต่อชั่วโมง การควบคุมการทำงาน PLC
อุณหภูมิการอบผลปาล์ม 80 - 120 องศาเซลเซียส รูปแบบการทำงาน ทำงานต่อเนื่องแบบกึ่งอัตโนมัติ
อุณหภูมิเฉลี่ยการทำงาน 80 - 120 องศาเซลเซียส ความชื้นของน้ำมันปาล์ม น้อยกว่า 0.5 %
การติดตั้งเครื่องจักรหลัก ภายในตู้คอนเทเนอร์ขนาด 40 ฟุต ปริมาณกรดไขมันอิสระ 0.9 - 2.0 %
เชื้อเพลิงสำหรับแหล่งกำเนิดความร้อน ก๊าซธรรมชาติเหลว ระดับคุณภาพน้ำมัน เกรด เอ
ระบบไฟฟ้า สามเฟส และ เฟสเดียว ส่วนประกอบเพิ่มเติม ลานเทปาล์มขนาด 4 ม. X 6 ม.
จุดเด่นของเทคโนโลยี
เหมาะสำหรับใช้ในการผลิตน้ำมันปาล์มระดับชุมชน มีกำลังการผลิตประมาณ 1.0 ตันผลปาล์มต่อชั่วโมง หรือรองรับพื้นที่การเพาะปลูกปาล์มขนาดประมาณ 1500 ไร่ ปราศจากอุปกรณ์กำเนิดไอน้ำใช้งานในระบบ ทำให้ช่วยเพิ่มความสะดวกในการควบคุมการทำงาน ของระบบผลิตและไม่จำเป็นต้องติดตั้งระบบบำบัดน้ำเสีย นอกจากนี้ ยังเป็นระบบสกัดน้ำมันปาล์มที่มีการทำงานต่อเนื่องแบบกึ่งอัตโนมัติ
ประโยชน์ในการนำไปใช้งาน
1. ใช้ผลิตน้ำมันปาล์มระดับชุมชน (ใช้พื้นที่ตั้งโรงงานขนาดเล็ก) ติดตั้งง่าย ใช้งานสะดวก ดูแลรักษาง่าย ไม่มีน้ำเสีย ผลิตน้ำมันปาล์มเกรดเอ และได้กากใช้วัตถุดิบผลิตอาหหารสัตว์
2. พัฒนาเทคโนโลยีขึ้นภายในประเทศที่เหมาะสมกับเงื่อนไขการใช้งานในแต่ละท้องถิ่น และเพิ่มศักยภาพให้อุตสาหกรรมการผลิตเครื่องจักรในประเทศ
3. ลดการใช้พลังงานในการขนส่งวัตถุดิบ และการผลิตน้ำมันปาล์ม
สถานภาพเบื้องต้น
งานวิจัยเสร็จสิ้นสมบูรณ์และพร้อมถ่ายทอดเทคโนโลยี
รูปแบบความร่วมมือ
1. เสาะหาผู้รับอนุญาตให้ใช้สิทธิในเทคโนโลยีเพื่อการผลิตและจำหน่าย
2. กรณีผู้สนใจใช้งานเครื่องหีบปาล์มระดับชุมชนสามารถติดต่อขอรับข้อมูลเพิ่มเติมได้
สนใจผลิตภัณฑ์ ติดต่อได้ที่ :
1. บริษัท สยาม โกล์ด แมชชีน จำกัด (ชื่อเดิม คือ บริษัท สยาม ดุท เคพีเอ็น ไมนิง อินเตอร์ เทรด จำกัด)
59/113 ต.ลาดสวาย อ.ลำลูกกา จ.ปทุมธานี 12150
โทร. 0-2577-3818, 0-2577-1844 ติดต่อ คุณศิริพร ใจดี
Email : n.siripron@gmail.com
2. บริษัท ปาล์ม เพรสซิ่ง เทคโนโลยี จำกัด
115/8-9 หมู่ที่ 2 ต.กระทุ่มล้ม อ.สามพราน จ.นครปฐม 73220
โทร.08-7106-0005, 08-3700-9450 ติดต่อ คุณพงษ์ศักดิ์ หมู่ตระกูลเจริญ
สนใจรับถ่ายทอดเทคโนโลยี ติดต่อได้ที่:
คุณชลาลัย ซัตตั้น
สำนักงานจัดการสิทธิเทคโนโลยี
สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.)
โทร 0-2564-7000 ต่อ 1617
Email : chalalai@tmc.nstda.or.th
บันทึกโดย