เทคโนโลยีพร้อมถ่ายทอด
ชื่อ
การสกัดน้ำมันปาล์มแบบแยกกะลาเม็ดในโดยไม่ใช้ไอน้ำ
ชม 994 ครั้ง
61
เจ้าของ
ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ (ศว.)
เมล์
-
รายละเอียด
ปัจจุบันกระบวนการสกัดน้ำมันปาล์มโดยทั่วไปนั้นมี 2 แบบ คือ แบบหีบแยกกะลาเม็ดในโดยใช้ไอน้ำ และแบบหีบรวมกะลาเม็ดในโดยไม่ใช้ไอน้ำ กระบวนการเหล่านั้นมีข้อจำกัด คือ กระบวนการแบบหีบแยกกะลาเม็ดในแบบใช้ไอน้ำนั้น เหมาะสำหรับการผลิตในโรงงานขนาดใหญ่ และไอน้ำที่ใช้มีผลต่อการเพิ่มปริมาณน้ำผสมในน้ำมัน และอุณหภูมิสูงจากการใช้ไอน้ำในขั้นตอนการแยกผลจากทะลายปาล์มเป็นผลให้กากที่เหลือจากการหีบมีคุณค่าทางโภชนาการต่ำลง และก่อให้เกิดน้ำเสียเป็นปริมาณมาก นอกจากนี้ ต้องใช้ไอน้ำและไฟฟ้าปริมาณมากในกระบวนการสกัดน้ำมันปาล์ม ทำให้การตั้งโรงงานสกัดน้ำมันปาล์มต้องใช้เงินลงทุนสูง และต้องมีกำลังการผลิตไม่ต่ำกว่า 15 ตันทะลายปาล์มสดต่อชั่วโมง(ประมาณ 30,000 ไร่) ส่วนกระบวนการสกัดน้ำมันปาล์มแบบรวมโดยไม่ใช้ไอน้ำ มีผลให้น้ำมันที่ได้เป็นน้ำมันผสมระหว่างน้ำมันเม็ดในปาล์มและน้ำมันจากเนื้อปาล์ม ซึ่งเป็นน้ำมันเกรดบีที่มีราคาจำหน่ายต่ำกว่าน้ำมันที่ได้จากกระบวนการหีบแยกเม็ดในปาล์ม
ดังนั้น สวทช. โดย ศว. จึงได้ทำการพัฒนาเครื่องสกัดน้ำมันปาล์มแบบแยกกะลาเม็ดในโดยไม่ใช้ไอน้ำ ขนาดการผลิต 1 ตันทะลายปาล์มต่อชั่วโมง สำหรับการใช้งานในชุมชนซึ่งมีข้อดี คือ ใช้พื้นที่ขนาดเล็ก ในระบบไม่มีอุปกรณ์กำเนิดไอน้ำ สามารถเคลื่อนที่ไปยังแหล่งเพาะปลูกปาล์มได้ง่าย ใช้งานสะดวกประหยัดพลังงาน ไม่ก่อให้เกิดน้ำเสีย เป็นระบบทำงานต่อเนื่องกึ่งอัตโนมัติ ผลิตน้ำมันปาล์มเกรดเอ ปริมาณความชื้นและกรดไขมันอิสระต่ำและกากเหลือจากกระบวนการสกัดสามารถนำไปเป็นอาหารสัตว์ได้ โดยขณะนี้มีผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมการสกัดน้ำมันปาล์มเข้ารับการถ่ายทอดเทคโนโลยีแล้ว ได้แก่ บริษัทสยาม ดุท เคพีเอ็น ไมนิง อินเตอร์เทรด จำกัด และ บริษัท ทีพีเอส แมทที เรียล จำกัด
โทรศัพท์ 0 2564 6500
ดังนั้น สวทช. โดย ศว. จึงได้ทำการพัฒนาเครื่องสกัดน้ำมันปาล์มแบบแยกกะลาเม็ดในโดยไม่ใช้ไอน้ำ ขนาดการผลิต 1 ตันทะลายปาล์มต่อชั่วโมง สำหรับการใช้งานในชุมชนซึ่งมีข้อดี คือ ใช้พื้นที่ขนาดเล็ก ในระบบไม่มีอุปกรณ์กำเนิดไอน้ำ สามารถเคลื่อนที่ไปยังแหล่งเพาะปลูกปาล์มได้ง่าย ใช้งานสะดวกประหยัดพลังงาน ไม่ก่อให้เกิดน้ำเสีย เป็นระบบทำงานต่อเนื่องกึ่งอัตโนมัติ ผลิตน้ำมันปาล์มเกรดเอ ปริมาณความชื้นและกรดไขมันอิสระต่ำและกากเหลือจากกระบวนการสกัดสามารถนำไปเป็นอาหารสัตว์ได้ โดยขณะนี้มีผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมการสกัดน้ำมันปาล์มเข้ารับการถ่ายทอดเทคโนโลยีแล้ว ได้แก่ บริษัทสยาม ดุท เคพีเอ็น ไมนิง อินเตอร์เทรด จำกัด และ บริษัท ทีพีเอส แมทที เรียล จำกัด
โทรศัพท์ 0 2564 6500
คำสำคัญ
บันทึกโดย
