เทคโนโลยีพร้อมถ่ายทอด
ชื่อ
ปุ๋ยละลายช้า MAP เพิ่มมูลค่าน้ำเสีย
ชม 1,003 ครั้ง
63
เจ้าของ
วว.
เมล์
tistr@tistr.or.th
รายละเอียด
การผลิตปุ๋ยละลายช้า หรือเกลือ MAP สามารถทำได้ง่าย เนื่องจากในน้ำเสียมีแร่ธาตุไนโตรเจน และฟอสฟอรัสอยู่สูง โดยเฉพาะน้ำเสียจากภาคอุตสาหกรรมการเกษตร เช่น อุตสาหกรรมผลิตเอทานอลจากโมลาส ฟาร์มสุกร และน้ำเสียชุมชน เป็นต้น ทั้งนี้การตกตะกอนเกลือ MAP จากน้ำเสียชุมชน หรือน้ำเสียจากฟาร์มสุกรได้มีการศึกษากันมากขึ้น เพื่อลด
ปริมาณแร่ธาตุที่มีประโยชน์ในน้ำเสีย และเพื่อป้องกันการเกิดปัญหาการบูมของสาหร่าย ในต่างประเทศ ได้แก่ ตรุกี ญี่ปุ่น ฝรั่งเศส อังกฤษ กรีซ และสเปน นิยมใช้ปุ๋ย MAP ในการเพาะปลูก โดยมีอัตราการใช้ที่แตกต่างกันขึ้นอยู่กับชนิดพืช และลักษณะ โดยเฉลี่ยอัตราการใช้ปุ๋ย MAP ของแต่ละประเทศทั่วโลกอยู่ที่ 116 กก./เฮกแตร์ ซึ่งมีร้อยละการนำเข้าเพิ่มขึ้นทุกปี
ทั้งนี้การตกตะกอนเกลือ MAP นอกจากจะเป็นวิธีการกำจัดไนโตรเจน และฟอสฟอรัส ได้อีกทางหนึ่งแล้ว ยังสามารถเพิ่มมูลค่าน้ำเสียที่มีแร่ธาตุได้อีกด้วย ให้สามารถผลิตปุ๋ยที่มีมูลค่าทางการตลาดสูง หรือนำไปผสมกับปุ๋ยอินทรีย์จาก filter cake ให้กลายเป็นปุ๋ยอินทรีย์คุณภาพสูงได้ โดยเฉพาะนำมาผสมกันตามสูตรปุ๋ยที่เหมาะสมแก่พืชแต่ละชนิด ซึ่งจะสามารถเพิ่มช่องทางการตลาดได้มากขึ้น และที่สำคัญมีประโยชน์ต่อพืช และไม่มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมเฉกเช่นเดียวกับการใช้ปุ๋ยเคมีในปัจจุบัน สำหรับน้ำเสียที่ผ่านการแยกเกลือ MAP แล้ว จะไม่ก่อให้เกิดปัญหาสิ่งแวดล้อมตามมา อีกทั้งคุณภาพน้ำอยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน สามารถนำไปใช้ในพื้นที่ทางการเกษตรได้ โดยไม่ก่อให้เกิดปัญหาการสะสมเกลือในดิน และวิธีการตกตะกอนเกลือ MAP นี้ สามารถนำไปประยุกต์ใช้กับน้ำเสียที่มีไนโตรเจน หรือฟอสฟอรัสสูงได้ เช่น น้ำเสียชุมชน หรือน้ำเสียจากอุตสาหกรรมแปรรูปสัตว์น้ำ หรืออุตสาหกรรมห้องเย็น หรือน้ำเสียจากฟาร์มปศุสัตว์ได้
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมในการผลิตปุ๋ยละลายช้า หรือปุ๋ย MAP ติดต่อได้ที่ call center วว. โทร. 0 2577 9300 หรือที่โทร.0 2577 9000 ในวันและเวลาราชการ
ปริมาณแร่ธาตุที่มีประโยชน์ในน้ำเสีย และเพื่อป้องกันการเกิดปัญหาการบูมของสาหร่าย ในต่างประเทศ ได้แก่ ตรุกี ญี่ปุ่น ฝรั่งเศส อังกฤษ กรีซ และสเปน นิยมใช้ปุ๋ย MAP ในการเพาะปลูก โดยมีอัตราการใช้ที่แตกต่างกันขึ้นอยู่กับชนิดพืช และลักษณะ โดยเฉลี่ยอัตราการใช้ปุ๋ย MAP ของแต่ละประเทศทั่วโลกอยู่ที่ 116 กก./เฮกแตร์ ซึ่งมีร้อยละการนำเข้าเพิ่มขึ้นทุกปี
ทั้งนี้การตกตะกอนเกลือ MAP นอกจากจะเป็นวิธีการกำจัดไนโตรเจน และฟอสฟอรัส ได้อีกทางหนึ่งแล้ว ยังสามารถเพิ่มมูลค่าน้ำเสียที่มีแร่ธาตุได้อีกด้วย ให้สามารถผลิตปุ๋ยที่มีมูลค่าทางการตลาดสูง หรือนำไปผสมกับปุ๋ยอินทรีย์จาก filter cake ให้กลายเป็นปุ๋ยอินทรีย์คุณภาพสูงได้ โดยเฉพาะนำมาผสมกันตามสูตรปุ๋ยที่เหมาะสมแก่พืชแต่ละชนิด ซึ่งจะสามารถเพิ่มช่องทางการตลาดได้มากขึ้น และที่สำคัญมีประโยชน์ต่อพืช และไม่มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมเฉกเช่นเดียวกับการใช้ปุ๋ยเคมีในปัจจุบัน สำหรับน้ำเสียที่ผ่านการแยกเกลือ MAP แล้ว จะไม่ก่อให้เกิดปัญหาสิ่งแวดล้อมตามมา อีกทั้งคุณภาพน้ำอยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน สามารถนำไปใช้ในพื้นที่ทางการเกษตรได้ โดยไม่ก่อให้เกิดปัญหาการสะสมเกลือในดิน และวิธีการตกตะกอนเกลือ MAP นี้ สามารถนำไปประยุกต์ใช้กับน้ำเสียที่มีไนโตรเจน หรือฟอสฟอรัสสูงได้ เช่น น้ำเสียชุมชน หรือน้ำเสียจากอุตสาหกรรมแปรรูปสัตว์น้ำ หรืออุตสาหกรรมห้องเย็น หรือน้ำเสียจากฟาร์มปศุสัตว์ได้
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมในการผลิตปุ๋ยละลายช้า หรือปุ๋ย MAP ติดต่อได้ที่ call center วว. โทร. 0 2577 9300 หรือที่โทร.0 2577 9000 ในวันและเวลาราชการ
คำสำคัญ
บันทึกโดย
