เทคโนโลยีพร้อมถ่ายทอด
กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มอบหมายให้ สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย หรือ วว. และอุทยานวิทยาศาสตร์ภาคเหนือ ดาเนินการพัฒนาเทคโนโลยีการอบไอน้าขยายไปสู่ภาคอุตสาหกรรม เพื่อยกระดับกระบวนการผลิตและมาตรฐานของผลไม้จากประเทศไทย โดยปรับปรุงเป็น โรงงานต้นแบบเทคโนโลยีการอบผลไม้ด้วยไอน้าในพื้นที่ภาคเหนือตอนบน ณ ตาบลแม่จั๊วะ อาเภอเด่นชัย จังหวัดแพร่
โรงงานต้นแบบเทคโนโลยีการอบผลไม้ด้วยไอน้าที่ได้ดาเนินการปรับปรุงสาเร็จนี้ จะเป็นศูนย์การเรียนรู้ในการพัฒนาเทคโนโลยีการอบผลไม้ด้วยไอน้าที่ได้มาตรฐาน สามารถรองรับผลผลิตมะม่วงเข้าสู่กระบวนการผลิตได้วันละ 5 ตัน ซึ่งสามารถรองรับผลผลิตผลไม้ในพื้นที่ 10 จังหวัด ภาคเหนือตอนบน รวมถึงจังหวัดพิษณุโลก พิจิตร สุโขทัย และกาแพงเพชร โดยประเทศไทยส่งออกผลไม้คิดเป็นมูลค่าไม่ต่ากว่า 1.7 หมื่นล้านบาทต่อปี มีประเทศผู้นาเข้าที่สาคัญ ได้แก่ ประเทศญี่ปุ่น เกาหลี
สำหรับกระบวนการทางานของโรงงานต้นแบบฯ ประกอบด้วย
1.เริ่มต้นด้วยการตัดแต่งขั้วผลไม้ที่จะนามาอบ
2.นาผลไม้มาล้างทาความสะอาดเพื่อขจัดสิ่งสกปรก ประกอบด้วยระบบการล้าง 3 ขั้นตอน (1.ล้างด้วยคลอรีน 2.ล้างด้วยน้าร้อนอุณหภูมิ 50 องศาเซลเซียส 5 นาที และ
3.การลดอุณหภูมิที่อุณหภูมิห้องโดยใช้น้าเย็น เพื่อไม่ให้เกิดความเสียหายแก่ผลไม้)
จากนั้นนาผลไม้ไปผึ่งแห้ง แล้วนาไปอบที่อุณหภูมิ 47 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 95% ในเวลาไม่น้อยกว่า 20 นาที ซึ่งขั้นตอนนี้จะทาให้ไข่แมลงวันทองที่ติดมากับผลไม้ฝ่อ โดยไม่ต้องใช้สารเคมีในการกาจัด จากนั้นนาผลไม้เข้าสู่กระบวนการบรรจุภัณฑ์ เพื่อเตรียมการจัดส่งสาหรับจาหน่ายต่อไป
ผลไม้ที่ผ่านกระบวนการของโรงงานต้นแบบแห่งนี้ จะยังคงคุณค่าสารอาหารและรสชาติ ตลอดจนยืดอายุของผลไม้ที่ผ่านการอบได้ประมาณ 2-3 สัปดาห์ ซึ่งจะเป็นประโยชน์อย่างมากต่อภาคการส่งออก
การดาเนินโครงการนี้โดย วว. และอุทยานวิทยาศาสตร์ภาคเหนือ จะช่วยเพิ่มศักยภาพในการแข่งขันโดยใช้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีให้กับเกษตรกร เอกชน วิสาหกิจ ชุมชน สหกรณ์ อย่างเป็นรูปธรรม ซึ่งจะส่งผลต่อการลงทุนในพื้นที่ภาคเหนือเพิ่มขึ้น รวมทั้งลดการใช้สารเคมีในการเพาะปลูกมะม่วง ลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมโดยรวมของประเทศ
สนใจติดต่อ ฝ่ายวิศวกรรม โทร 02 577 9000 , E-mail : tistr@tistr.or.th