เทคโนโลยีพร้อมถ่ายทอด
ชื่อ
ถุงแผ่นฟิล์มพลาสติกห่อผลมะม่วงบนต้น
ชม 2,143 ครั้ง
55
เจ้าของ
ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ(เอ็มเทค)
เมล์
-
รายละเอียด
มะม่วงน้ำดอกไม้เป็นหนึ่งในผลไม้เศรษฐกิจของไทย นิยมบริโภคภายในประเทศอย่างแพร่หลาย มีปริมาณและมูลค่าการส่งออกมากกว่า 1 พันตันต่อปี (มะม่วงน้ำดอกไม้ทวายเบอร์ 4 และมะม่วงน้ำดอกไม้สีทอง) อย่างไรก็ดี ปริมาณการส่งออกดังกล่าวเป็นเพียงร้อยละ 5 ของผลผลิตของประเทศเท่านั้น โดยมีสาเหตุหลักมาจากการขาดการบริหารจัดการ การเพาะปลูกและการดูแลเอาใจใส่ผลิตผลสดขณะกำลังเจริญเติบโต ทำให้ผลผลิตสดที่ได้มีคุณภาพไม่เพียงพอ ต่อการส่งออก ปัจจัยที่เป็นตัวกำหนดคุณภาพของมะม่วง มีหลายประการด้วยกัน คือ ขนาด น้ำหนัก รูปร่าง สีผิว ความนวลเนียนของผิว ความมันวาว รสชาติ และเนื้อสัมผัส โดยเฉพาะ ขนาด น้ำหนัก และสีผิว ถือว่าเป็นปัจจัยสำคัญประการแรกที่มีผลต่อมาตรฐานการส่งออกมะม่วงของไทย วิธีหนึ่งที่เป็นที่นิยมของเกษตรกรในการควบคุมคุณภาพ คือ การใช้ถุงห่อผลมะม่วงบนต้นขณะกำลังเจริญเติบโต โดย มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อลดการเข้าทำลายของแมลงอันตรายและเพลี้ยชนิดต่างๆ และผลลัพธ์ที่ตามมา คือ สีผิวของผลมะม่วงดีขึ้นเมื่อเทียบกับผลที่ไม่ได้ห่อ
วัสดุห่อที่เป็นที่นิยมในขณะนี้ คือ กระดาษ 2 ชั้นนำเข้าจากต่างประเทศ ผลไม้ที่ห่อด้วยกระดาษ 2 ชั้น มีผิว สีเหลืองและเรียบเนียนสวย ไม่มีจุดด่างดำ เป็นที่ต้องการของตลาดส่งออก ปัจจุบัน ไทยนำเข้าถุงห่อประมาณ 2 พันล้านใบต่อปี คิดเป็นมูลค่ากว่า 2,700 ล้านบาท จากปัญหาดังกล่าว ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ (เอ็มเทค) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) โดย ดร.จิตติ์พร เครือเนตร และทีม ได้พัฒนาถุงห่อชนิดใหม่จากพลาสติกที่มีส่วนผสมของ ไบโอพอลิเมอร์ที่ย่อยสลายหลังใช้งานได้ เพื่อทดแทนการนำเข้าถุงห่อมะม่วงจากต่างประเทศ
คุณสมบัติเด่นของถุงพลาสติกห่อมะม่วง
1. จากกระบวนการผลิตที่มีการเติมสารเพื่อปรับปรุงสมบัติของถุงให้คัดเลือกแสงในช่วงความยาวคลื่นที่เหมาะสมต่อการทำงานของเอนไซม์ที่กระตุ้นการสลายตัวของคลอโรฟิลล์ ทำให้มะม่วงมีผิวสีเหลือง เรียบเนียนสวย ไม่มีจุดด่างดำ ตรงตามความต้องการของตลาดส่งออกเทียบเท่าถุงห่อที่นำเข้าจากต่างประเทศ
2. ถุงพลาสติกที่พัฒนาขึ้น นอกจากช่วยพัฒนาสีผิวให้เหลืองและเรียบเนียนสวย ไม่มีจุดด่างดำแล้ว ยังช่วยคัดเลือกแสงในช่วงที่เหมาะสมที่กระตุ้นให้การเจริญเติบโตของมะม่วงเป็นไปอย่างสมบูรณ์ ต่างจากถุงกระดาษนำเข้าจากต่างประเทศที่มีการพัฒนาสีผิวได้ดี แต่คุณภาพเนื้อมะม่วงเปลี่ยนแปลงไป เช่น ปริมาณของแข็งที่ละลายในน้ำลดลงร้อยละ 10 และปริมาณกรดเพิ่มขึ้นร้อยละ 35 เมื่อเปรียบเทียบกับมะม่วงที่ไม่ได้ห่อ ส่งผลให้รสชาติมะม่วงห่อเปลี่ยนแปลงไปจากรสชาติของมะม่วงเดิม สำหรับมะม่วง ที่ห่อด้วยถุงพลาสติกที่พัฒนาขึ้น มีความหวานสูงขึ้นร้อยละ 8 เมื่อเปรียบเทียบกับมะม่วงที่ห่อด้วยถุงกระดาษนำเข้า แต่ไม่แตกต่างอย่างมีนัยสำคัญเมื่อเปรียบเทียบกับมะม่วงที่ไม่ได้ห่อ
มะม่วงที่ห่อด้วยถุงพลาสติกคัดเลือกแสง ลักษณะผิวมีสีเหลือง เรียบเนียนสวย และไม่มีจุดด่างดำ
ถุงที่พัฒนาขึ้นนี้มีราคาใกล้เคียงกับถุงที่นำเข้าจากต่างประเทศ และใช้งานซ้ำได้มากกว่า 3-5 ครั้ง โดยยังคงคุณสมบัติเดิมไว้ไม่เปลี่ยนแปลง ช่วยลดต้นทุนให้กับเกษตรกรผู้ทำสวนมะม่วง เพิ่มมูลค่าให้กับผลผลิตให้ได้ตามมาตรฐานการส่งออก ลดความสูญเสียจากเพลี้ยแป้งและศัตรูพืช ลดการใช้ยาและสารเคมี เกษตรกรมีรายได้จากการปลูกมะม่วงนอกฤดูกาล จำนวน 1.33 ล้านบาท และช่วยประหยัดเงินตราต่างประเทศจากการนำเข้าถุงกระดาษห่อมะม่วงได้ 65,000 บาท ปัจจุบัน สวทช. อนุญาตให้สิทธิในการผลิตและจำหน่ายถุงแผ่นฟิล์มพลาสติกห่อผลมะม่วงบนต้นแก่ บริษัท อินโนโกร จำกัด
สั่งซื้อได้ที่ : บริษัท อินโนโกร จำกัด โทร 089-155-7496 (สถาพร)
ที่มา : http://www.nstda.or.th/nstda-r-and-d/10525-plastic-film-bag-wrapped-fruit-tree
วัสดุห่อที่เป็นที่นิยมในขณะนี้ คือ กระดาษ 2 ชั้นนำเข้าจากต่างประเทศ ผลไม้ที่ห่อด้วยกระดาษ 2 ชั้น มีผิว สีเหลืองและเรียบเนียนสวย ไม่มีจุดด่างดำ เป็นที่ต้องการของตลาดส่งออก ปัจจุบัน ไทยนำเข้าถุงห่อประมาณ 2 พันล้านใบต่อปี คิดเป็นมูลค่ากว่า 2,700 ล้านบาท จากปัญหาดังกล่าว ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ (เอ็มเทค) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) โดย ดร.จิตติ์พร เครือเนตร และทีม ได้พัฒนาถุงห่อชนิดใหม่จากพลาสติกที่มีส่วนผสมของ ไบโอพอลิเมอร์ที่ย่อยสลายหลังใช้งานได้ เพื่อทดแทนการนำเข้าถุงห่อมะม่วงจากต่างประเทศ
คุณสมบัติเด่นของถุงพลาสติกห่อมะม่วง
1. จากกระบวนการผลิตที่มีการเติมสารเพื่อปรับปรุงสมบัติของถุงให้คัดเลือกแสงในช่วงความยาวคลื่นที่เหมาะสมต่อการทำงานของเอนไซม์ที่กระตุ้นการสลายตัวของคลอโรฟิลล์ ทำให้มะม่วงมีผิวสีเหลือง เรียบเนียนสวย ไม่มีจุดด่างดำ ตรงตามความต้องการของตลาดส่งออกเทียบเท่าถุงห่อที่นำเข้าจากต่างประเทศ
2. ถุงพลาสติกที่พัฒนาขึ้น นอกจากช่วยพัฒนาสีผิวให้เหลืองและเรียบเนียนสวย ไม่มีจุดด่างดำแล้ว ยังช่วยคัดเลือกแสงในช่วงที่เหมาะสมที่กระตุ้นให้การเจริญเติบโตของมะม่วงเป็นไปอย่างสมบูรณ์ ต่างจากถุงกระดาษนำเข้าจากต่างประเทศที่มีการพัฒนาสีผิวได้ดี แต่คุณภาพเนื้อมะม่วงเปลี่ยนแปลงไป เช่น ปริมาณของแข็งที่ละลายในน้ำลดลงร้อยละ 10 และปริมาณกรดเพิ่มขึ้นร้อยละ 35 เมื่อเปรียบเทียบกับมะม่วงที่ไม่ได้ห่อ ส่งผลให้รสชาติมะม่วงห่อเปลี่ยนแปลงไปจากรสชาติของมะม่วงเดิม สำหรับมะม่วง ที่ห่อด้วยถุงพลาสติกที่พัฒนาขึ้น มีความหวานสูงขึ้นร้อยละ 8 เมื่อเปรียบเทียบกับมะม่วงที่ห่อด้วยถุงกระดาษนำเข้า แต่ไม่แตกต่างอย่างมีนัยสำคัญเมื่อเปรียบเทียบกับมะม่วงที่ไม่ได้ห่อ
มะม่วงที่ห่อด้วยถุงพลาสติกคัดเลือกแสง ลักษณะผิวมีสีเหลือง เรียบเนียนสวย และไม่มีจุดด่างดำ
ถุงที่พัฒนาขึ้นนี้มีราคาใกล้เคียงกับถุงที่นำเข้าจากต่างประเทศ และใช้งานซ้ำได้มากกว่า 3-5 ครั้ง โดยยังคงคุณสมบัติเดิมไว้ไม่เปลี่ยนแปลง ช่วยลดต้นทุนให้กับเกษตรกรผู้ทำสวนมะม่วง เพิ่มมูลค่าให้กับผลผลิตให้ได้ตามมาตรฐานการส่งออก ลดความสูญเสียจากเพลี้ยแป้งและศัตรูพืช ลดการใช้ยาและสารเคมี เกษตรกรมีรายได้จากการปลูกมะม่วงนอกฤดูกาล จำนวน 1.33 ล้านบาท และช่วยประหยัดเงินตราต่างประเทศจากการนำเข้าถุงกระดาษห่อมะม่วงได้ 65,000 บาท ปัจจุบัน สวทช. อนุญาตให้สิทธิในการผลิตและจำหน่ายถุงแผ่นฟิล์มพลาสติกห่อผลมะม่วงบนต้นแก่ บริษัท อินโนโกร จำกัด
สั่งซื้อได้ที่ : บริษัท อินโนโกร จำกัด โทร 089-155-7496 (สถาพร)
ที่มา : http://www.nstda.or.th/nstda-r-and-d/10525-plastic-film-bag-wrapped-fruit-tree
คำสำคัญ
บันทึกโดย
รายละเอียดผู้รับบริการ
49303
ผู้ถาม : ปิยธิดา วงศ์ธานี ที่อยู่ 82/1 หมู่4 ต.สันโป่ง อ.แม่ริม จ.เชียงใหม่
วันที่ถาม : 08/10/2563
คำถาม : ติดต่อเรื่องเครื่องฉีกหมูฝอยค่ะ|2309|M
คำตอบ :
การดำเนินงานจากเครือข่าย
วันที่ถาม : 08/10/2563
คำถาม : ติดต่อเรื่องเครื่องฉีกหมูฝอยค่ะ|2309|M
คำตอบ :
การดำเนินงานจากเครือข่าย
41414
ผู้ถาม : ไกรสร แก้วโค ที่อยู่ 36หมู่14ต.วังนำ้เขียว อ.วังนำ้เขียว จังหวัดนครราชสีมา30370
วันที่ถาม : 05/04/2561
คำถาม : การทำถ่านอัดแท่งมีที่อบรมที่ไหนบ้างในจังหวัดนคราชสีมาหรือจังหัวดใกล้เคียง|384|M
คำตอบ :
การดำเนินงานจากเครือข่าย
วันที่ถาม : 05/04/2561
คำถาม : การทำถ่านอัดแท่งมีที่อบรมที่ไหนบ้างในจังหวัดนคราชสีมาหรือจังหัวดใกล้เคียง|384|M
คำตอบ :
สวัสดีคะคุณไกรสร หากคุณต้องการข้อมูลเพิ่มเติม โปรดติดต่อที่
อ.อุกฤษฏ์ โข่ศรี 08-3140-7086 ,E-mail : maiolto:khosree@hotmail.com
หรือ คลินิกเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตสกลนคร ขอบคุณค่ะ
การดำเนินงานจากเครือข่าย