เทคโนโลยีพร้อมถ่ายทอด
การผลิตข้าวเพื่อผลิตเมล็ดพันธ์ และการคัดพันธ์ข้าวด้วยน้ำเกลือใช้วิธีการใช้ความเค็มคัดเมล็ดพันธุ์ข้าว
การเตรียมเมล็ดพันธุ์ข้าวต้นเดือนเมษายนระยะแดดจัด เกษตรกรเอาพันธุ์ข้าวมาคัดเพื่อหาเมล็ดที่สมบูรณ์ไว้หว่าน
- นำภาชนะถังน้ำขนาดใหญ่ (50 ลิตร) 2 ใบ บรรจุน้ำเปล่าครึ่งถัง 1 ใบ
- นำเกลือแกงเทลงประมาณ 3 กิโลกรัมในถังที่มีน้ำ ให้ได้ความเค็มพอดี หากไม่แน่ใจให้เอาไข่ไก่ดิบวัดความเค็ม หากไข่ไก่จมแสดงว่าความเค็มยังไม่พอดี ถ้าหากไข่ไก่ฟูลอยขึ้นแสดงว่าความเค็มได้ที่พอดี
- นำเมล็ดพันธุ์ข้าวที่คัดไว้เทลงน้ำที่ความเค็มได้ที่ ทิ้งไว้ 10 นาที แยกเมล็ดข้าวที่ฟูออกทิ้ง อย่าเทน้ำออกทิ้งให้ระบายใส่ถังเปล่าอีกใบหนึ่งเพื่อใช้ต่อ แล้วนำเมล็ดที่จมก้นถัง ซึ่งเป็นเมล็ดสมบูรณ์ออกพึ่งแดดให้แห้ง แล้วเก็บเป็นพันธุ์ดีที่คัดไว้ จะได้ความสมบูรณ์เกิดร้อยเปอร์เซ็นต์ จากนั้นนำพันธุ์ข้าวลงแช่ในถังอีกใบ คัดเมล็ดพันธุ์อีก ทำกลับไปกลับมาจนได้เมล็ดพันธุ์ตามที่ต้องการ ใช้เวลาไม่มากนักก็จะได้เมล็ดพันธุ์ข้าวที่ดี
ประโยชน์การใช้ความเค็มคัดเมล็ดพันธุ์ข้าว
- ได้เมล็ดพันธุ์ที่เต็มทุกเมล็ด เมื่อได้เมล็ดสมบูรณ์แล้วจะต้านทานโรคได้มากกว่า เมล็ดที่ไม่ได้ตรวจวัดด้วยความเค็ม
- ปัญหาโรคถอดฝักดาบของข้าว ในข้าวหอมมะลิ ข้าวพันธุ์หนัก และข้าวพันธุ์ กข.15 ข้าวเจ้าพันธุ์เบา จะหายไป 100 %
- การแช่พันธุ์ข้าวก่อนหว่าน ต้องแช่ในภาชนะจะดีกว่าแช่ในลำน้ำหรือในคลองน้ำที่มีน้ำมาก เพราะการแช่เมล็ดพันธุ์ข้าวในภาชนะจะคงความสมบูรณ์ของเมล็ดไว้ได้คงที่เสมอตัว
3. การจัดการระบบการผลิตข้าวอินทรีย์ ฯให้หมู่บ้านลูกข่าย โดยทำการฝึกอบรมการผลิตสารชีวภัณฑ์ในการกำจัดศัตรูพืช โดยฝึกอบรมให้เกษตรกรและกลุ่มลูกข่ายฝึกทำเชื้อราไตรโคเดอร์ม่า และเชื้อรากำจัดแมลงบิวเวอร์เรีย เพื่อเอาไว้ใช้ทดแทนสารเคมี
ที่มา : เป็นเท๕โนโลยีที่ได้จากการถ่ายทอดให้กับหมู่บ้านข้าวอินทรีย์ บ้านนาเวียง
หากสนใจสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ ดร.กัญญาณัช ศิริธัญญา 054342553 ต่อ 225