เทคโนโลยีพร้อมถ่ายทอด
ก๊าซชีวภาพ (biogas) เป็นพลังงานเชื้อเพลิงที่สามารถผลิตได้ในประเทศ โดยใช้เศษวัสดุเหลือทิ้งจากระบบการเกษตรมาเป็นวัตถุดิบในกระบวนการผลิต เพื่อลดข้อจํากัดของการใช้พลังงานเชื้อเพลิงจากซากพืชซากสัตว์ที่มีแนวโน้มลดลงอย่างต่อเนื่อง นอกจากนั้นยังเป็นแหล่งพลังงานที่สอดคล้องกับวิถีการผลิตทางการเกษตรของประเทศไทย เพราะมีการผลิตระดับอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ อาทิเช่น ฟาร์มโคนม ฟาร์มสุกร ระบบบําบัดน้ําเสียในโรงงานอุตสาหกรรมเกษตรและอุตสาหกรรมอาหาร ฯลฯ รวมทั้งมีการประยุกต์เทคโนโลยีกับเกษตรกรรายย่อยมาตลอด ไม่ว่าเป็นระบบบ่อโดมคงที่ ระบบถังหมัก 200 ลิตร ระบบบ่อหมักแบบถุงพีวซีี และระบบบ่อหมักแบบผ้าใบเต็นท์ ฯลฯ โดยคุณสมบัติของก๊าซ ต้นทุนการผลิต และประสิทธิภาพ
ของระบบ มีความแตกต่างกันตามเงื่อนไขและบริบทของแต่ละพื้นที่ สําหรับคุณสมบัติของก๊าซชีวภาพโดยทั่วไป ประกอบด้วยก๊าซมีเทน (CH4) ประมาณ 65-70 เปอร์เซ็นต์ คาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) ร้อยละ 30-35 เปอร์เซ็นต์ ที่เหลือเป็นก๊าซชนิดอื่นๆ เช่น ก๊าซไนโตรเจน (N2) ก๊าซออกซิเจน (O2) ก๊าซไฮโดรเจนซัลไฟด์ (H2S) และสารประกอบอื่นๆ เป็นต้น
อย่างไรก็ตามก๊าซไฮโดรเจนซัลไฟด์ เป็นก๊าซที่ผู้ผลิตก๊าซชีวภาพต้องมีการกําจัดก่อนการนําไปใช้ประโยชน์ เพราะส่งผลกระทบโดยตรงต่อสุขภาพทั้งตัวผู้ใช้ อาจมีอาการพิษเฉียบพลันของผู้ที่ได้รับก๊าซนี้คือ คลื่นไส้ หายใจขัดต่อเนื่องจากการขาดออกซิเจน หมดสติ และอาจถึงตายได้ถ้ามีความเข้มข้นของก๊าซสูง รวมทั้งอาจส่งผลความเสียหายต่อคุณภาพและประสิทธิภาพของเครื่องยนต์ที่ใช้ก๊าซชีวภาพเป็นพลังงานด้วย (มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, 2555, สํานักคุณภาพน้ํามันเชื้อเพลิง, 2554)