เทคโนโลยีพร้อมถ่ายทอด
การทดลองนำเอาหอยเชอรี่ซึ่งเป็นศัตรูของนาข้าวมาใช้เป็นส่วนผสมกับวัสดุทางการเกษตรต่าง ๆ แล้วนามาเป็นอาหารเลี้ยงปลาดุกพบว่าอาหารเลี้ยงปลาดุกที่ผลิตขึ้นมาจากหอยเชอรี่ 45 g จะให้ค่าปริมาณโปรตีนอยู่ระหว่าง 32.8-44.05 % ซึ่งค่าโปรตีนที่วิเคราะห์ได้นี้มีค่าสูงกว่าตามหลักเกณฑ์ประกอบการพิจารณาการขึ้นทะเบียนอาหารปลาดุก (www.fisheries.go.th) ส่วนค่าคาร์โบไฮเดรตจะมีค่าอยู่ระหว่าง 46.75-51.0 % ซึ่งปริมาณของคาร์โบไฮเดรตที่ได้รับนี้ส่วนใหญ่ได้รับมาจากปลายข้าวเหนียวต้มและข้าวเปลือกที่เป็นส่วนประกอบของสูตรอาหารเลี้ยงปลาดุก นอกจากนี้ยังพบธาตุอาหารต่าง ๆ เช่นฟอสฟอรัส แคลเซียม แมกนีเซียม เหล็ก โพแทสเซียม และโซเดียม แร่ธาตุต่าง ๆ เหล่านี้เป็นส่วนประกอบสาคัญที่ปลาดุกจาเป็นต้องใช้ในการเจริญเติบโตโดยเฉพาะแคลเซียมและฟอสฟอรัส ซึ่งเป็นส่วนประกอบของกระดูกและฟัน และยังเป็นสารที่ควบคุมปริมาณของน้าในตัวปลาอีกด้วย
การนำเอาหอยเชอรี่ซึ่งเป็นศัตรูของนาข้าวมาเป็นส่วนผสมของอาหารเลี้ยงปลาดุกนี้จะเป็นแนวทางหนึ่งที่เกษตรกรผู้เลี้ยงปลาดุกสามารถทาได้โดยง่ายเพราะขั้นตอนการผลิตอาหารเลี้ยงปลาดุกโดยวิธีนี้จะไม่ยุ่งยาก นอกจากนี้วัตถุดิบที่นามาประกอบเป็นอาหารปลาก็สามารถหาได้ง่ายในท้องถิ่น อีกทั้งในปัจจุบันนี้ราคาของอาหารปลาดุกแปรโดยตรงกับราคาของน้ามันในตลาดโลกซึ่งส่งผลให้ราคาของอาหารปลาดุกที่มีขายทั่วไปในท้องตลาดมีราคาแพงมาก ซึ่งส่งผลให้เกษตรกรผู้เลี้ยงปลาดุกเกิดสภาวะขาดทุนเนื่องจากค่าประกอบสูงขึ้น ดังนั้นการนาเอาหอยเชอรี่มาเป็นส่วนผสมของอาหารเลี้ยงปลาดุกจึงเป็นแนวทางหนึ่งที่เกษตรกรผู้เลี้ยงปลาดุกสามารถลดต้นทุนของค่าอาหารเลี้ยงปลาดุกลง
อย่างไรก็ตามสูตรของอาหารเลี้ยงปลาดุกที่ผลิตขึ้นมาจากหอยเชอรี่ทั้ง 3 สูตร ในงานวิจัยนี้ยังไม่ได้มีการนามาทดสอบเลี้ยงปลาดุก ดังนั้นอาหารเลี้ยงปลาดุกที่ผลิตขึ้นมาจากหอยเชอรี่ทั้ง 3 สูตร ในงานวิจัยนี้อาจมีความจาเป็นที่จะต้องมีการปรับปรุงคุณภาพและสูตรอาหารเลี้ยงปลาดุกอีกเพื่อให้มีความเหมาะสมสารับในการเลี้ยงปลาดุกจริงต่อไป