เทคโนโลยีพร้อมถ่ายทอด
ชื่อ
เครื่องกรอไหมกึ่งอัตโนมัติและกระบวนการทอผ้า
ชม 1,352 ครั้ง
53
เจ้าของ
รศ.ดร.ดำรงค์ฤทธิ์ วิบูลกิจธนากรและคณะ
เมล์
dumrongrit@ubru.ac.th
รายละเอียด
ขั้นตอนการกรอไหมเส้นพุ่งด้วย เครื่องมือที่เรียกว่า ไน ที่เป็นเครื่องมือในการเก็บไหมใส่หลอด เพื่อนำไปใส่กระสวย ซึ่งมีกัน 2 ส่วน คือ ส่วนที่เป็นหลักสำหรับหมุนโซ่ต่อติดกับแกนหมุนอีกด้านเป็นเหล็กแหลมสำหรับใส่หลอดหมุนเก็บไหมใส่หลอด ซึ่งในขั้นตอนการกรอไหมเส้นพุ่งแต่ละครั้งจะต้องใช้ประสบการณ์และความชำนาญของช่าง การกรอไหมเส้นพุ่งให้มีคุณภาพเป็นเรื่องที่สำคัญหากกรอด้วยความเร็วมากจะทำให้เส้นไหมขาดได้ทำให้ลวดลายผ้าไม่ต่อเนื่อง หากกรอใส่หลอดไม่แน่น การเรียงตัวของเส้นไหมไม่เป็นลำดับ จะมีผลทำให้เส้นไหมวิ่งออกจากกระสวยไม่สม่ำเสมอในขณะทอผ้า ส่งผลให้การพุ่งตัวของกระสวยผิดทิศทางและกระสวยตกราง จะทำให้เนื้อผ้าที่ทอไม่สม่ำเสมอตลอดผืนเส้นไหมยืนขาดหลุดลุ่ยต้องมาซ่อมหรือตกแต่งให้ดูสวยงาม ทำให้เกิดความล่าช้าในกระบวนการทอผ้า หรือทำให้ลูกค้าปฏิเสธงานได้ การกรอไหมเส้นพุ่งจะมีความยุ่งยากกว่าการกรอเส้นไหมธรรมดา เนื่องจากจะต้องตรวจเช็คลวดลายก่อนทำการตัดเส้นไหม การกรอด้ายครั้งละ1 หลอด ใช้เวลาหลอดละ 3-5 นาที ช่างทอผ้า 1 คน ใช้หลอดไหมมัดหมี่เส้นพุ่ง 13 หลอด ต่อผ้า 1 เมตรถ้าทอผ้า 10 เมตร ช่างทอผ้า 1 คนจะต้องใช้หลอดไหมเส้นพุ่งทั้งหมด 130 หลอด ซึ่งจะใช้เวลาในการกรอไหมเส้นพุ่งประมาณ 7-10 ชั่วโมง ต่อการเตรียมหลอดไหมมัดหมี่เส้นพุ่งให้กับช่างทอผ้า 1 คนซึ่งในขั้นตอนนี้จะต้องใช้เวลานานและใช้หลอดกระสวยจำนวนมาก ทั้งยังมีความยุ่งยากในการจัดเก็บรักษาอีกด้วย
จากการศึกษาปัญหาดังกล่าว ผู้วิจัยได้ทำการวิจัย เรื่อง การพัฒนาประสิทธิภาพเครื่องกรอไหมและตีเกลียวไหมเส้นพุ่งกึ่งอัตโนมัติและการดำการวิจัยเรื่องดังกล่าวเสร็จเรียบร้อยแล้ว พร้อมที่จะถ่ายทอดเทคโนโลยีจากการวิจัยดังกล่าว เพื่อใช้ในการแก้ไขปัญหากระบวนการเตรียมเส้นไหมรูปแบบดั่งเดิม เพื่อลดขั้นตอนที่มีความสลับซับซ้อนที่ทำให้ล่าช้าสูญเสียเวลาในการทำงาน ทั้งเป็นการสิ้นเปลืองบุคลากร และต้นทุนในกระบวนการผลิตผ้าไหม ดังนั้นการนำเครื่องกรอไหมเส้นพุ่งไปใช้ในกดระบวนการทอผ้า จะช่วยลดเวลาในการกรอไหมเส้นพุ่งลงได้ ทำให้ชาวบ้านมีเวลาในการทอผ้าไหมมากขึ้น ซึ่งเป็นการนำเอาองค์ความรู้เทคโนโลยีมาประยุกต์เข้ากับภูมิปัญญาท้องถิ่นให้เกิดประโยชน์และเพิ่มคุณภาพให้กับผลิตภัณฑ์และสินค้าท้องถิ่นให้มีมาตรฐานมากขึ้น โดยมีกลุ่มอาชีพทอผ้าไหมบ้านปะอาว หมู่ที่ 3 บ้านปะอาว ตำบลปะอาว อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี เป็นพื้นที่สำหรับการถ่ายทอดเทคโนโลยีจากการวิจัย และกลุ่มอาชีพทอผ้าไหมบ้านปะอาว จำนวนไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 สามารถใช้งานเครื่องกรอไหมกึ่งอัตโนมัติได้ ชุมชนบ้านปะอาว ตำบลปะอาวอำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี เป็นกลุ่มทอผ้าไหมที่มีชื่อเสียงและมีลวดลายผ้าที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะท้องถิ่นที่สวยงามแห่งหนึ่งในจังหวัดอุบลราชธานี
อ่านรายงานฉบับสมบูรณ์..
จากการศึกษาปัญหาดังกล่าว ผู้วิจัยได้ทำการวิจัย เรื่อง การพัฒนาประสิทธิภาพเครื่องกรอไหมและตีเกลียวไหมเส้นพุ่งกึ่งอัตโนมัติและการดำการวิจัยเรื่องดังกล่าวเสร็จเรียบร้อยแล้ว พร้อมที่จะถ่ายทอดเทคโนโลยีจากการวิจัยดังกล่าว เพื่อใช้ในการแก้ไขปัญหากระบวนการเตรียมเส้นไหมรูปแบบดั่งเดิม เพื่อลดขั้นตอนที่มีความสลับซับซ้อนที่ทำให้ล่าช้าสูญเสียเวลาในการทำงาน ทั้งเป็นการสิ้นเปลืองบุคลากร และต้นทุนในกระบวนการผลิตผ้าไหม ดังนั้นการนำเครื่องกรอไหมเส้นพุ่งไปใช้ในกดระบวนการทอผ้า จะช่วยลดเวลาในการกรอไหมเส้นพุ่งลงได้ ทำให้ชาวบ้านมีเวลาในการทอผ้าไหมมากขึ้น ซึ่งเป็นการนำเอาองค์ความรู้เทคโนโลยีมาประยุกต์เข้ากับภูมิปัญญาท้องถิ่นให้เกิดประโยชน์และเพิ่มคุณภาพให้กับผลิตภัณฑ์และสินค้าท้องถิ่นให้มีมาตรฐานมากขึ้น โดยมีกลุ่มอาชีพทอผ้าไหมบ้านปะอาว หมู่ที่ 3 บ้านปะอาว ตำบลปะอาว อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี เป็นพื้นที่สำหรับการถ่ายทอดเทคโนโลยีจากการวิจัย และกลุ่มอาชีพทอผ้าไหมบ้านปะอาว จำนวนไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 สามารถใช้งานเครื่องกรอไหมกึ่งอัตโนมัติได้ ชุมชนบ้านปะอาว ตำบลปะอาวอำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี เป็นกลุ่มทอผ้าไหมที่มีชื่อเสียงและมีลวดลายผ้าที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะท้องถิ่นที่สวยงามแห่งหนึ่งในจังหวัดอุบลราชธานี
อ่านรายงานฉบับสมบูรณ์..
บันทึกโดย