เทคโนโลยีพร้อมถ่ายทอด
ชื่อ
เครื่องหว่านข้าวแห้งพ่วงรถแทรกเตอร์
ชม 1,732 ครั้ง
52
เจ้าของ
นายสุรเวทย์ กฤษณะเศรณี
เมล์
-
รายละเอียด
การปลูกข้าวในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โดยเฉพาะในเขตพื้นที่ทุ่งกุลาร้องไห้เป็นพื้นที่อาศัยน้ำฝนเพียงอย่างเดียว และมีปัญหาฝนไม่ตกต้องตามฤดูกาล การกระจายของฝนไม่ดี และฝนมักทิ้งช่วงระหว่างฤดูปลูก การแก้ปัญหาของเกษตรกรใช้วิธีหว่านข้าวด้วยมือ เนื่องจากขาดแคลนแรงงาน แรงงานส่วนใหญ่เป็นแรงงานในครัวเรือน เพื่อการเพาะปลูกข้าวไม่เกิน 3 คน หรือคิดเป็นพื้นที่เพาะปลูกข้าวมากกว่า 9 ไร่ต่อคน จึงประสบปัญหาด้านแรงงานมีไม่เพียงพอ ดังนั้นการผลิตข้าวที่ทุ่งกุลาร้องไห้ จึงใช้วิธีหว่านข้าวแห้งแทนวิธีการปักดำ เพราะง่ายกว่าและใช้แรงงานน้อยกว่า ดังนั้น การคิดประดิษฐ์เครื่องหว่านข้าวแห้งที่เหมาะสมต่อการใช้น่าจะเป็นประโยชน์ และช่วยแก้ไขปัญหาให้กับเกษตรกรได้เป็นอย่างมาก
หลักการทำงานและจุดเด่น
ใช้หลักการเมล็ดตกจากท่อตกกระทบแผ่นกระจายเมล็ด ทำให้การกระจายเมล็ดสม่ำเสมอ ซึ่งเป็นหลักการใหม่
แผ่นกระจายเมล็ดข้าวเป็นแบบใหม่ ไม่เคยมีใช้ในเครื่องหว่านที่ใช้กันอยู่ ทำให้การหว่านและการกระจายเมล็ดสม่ำเสมอ เสมือนการหว่านของคนที่มีความชำนาญ
เครื่องหว่านข้าวสามารถติดบนผานไถได้ ตั้งแต่ผานไถ 5 จาน ถึง 7 จาน และโครงพาลตั้งแต่ 125 เซนติเมตร เป็นต้นไป
ได้ออกแบบการติดตั้งของเครื่องหว่านบนโครงไดที่ใช้ในประเทศไทย ซึ่งมีหลายรูปแบบ เช่น โครงผานไถแบบกลม โครงผานไถแบบเหลี่ยม
ได้ออกแบบชุดปรับอัตราการหว่านข้าวสามารถปรับได้ตั้งแต่ 12 กิโลกรัมต่อไร่ จนถึง 40 กิโลกรัมต่อไร่ (ตามอัตราการหว่านที่ต้องการของเกษตรกร)
รางวัลเชิดชูเกียรติ (ชมเชย) การประกวดสิ่งประดิษฐ์คิดค้นทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
ประจำปีงบประมาณ 2553
เจ้าของสิ่งประดิษฐ์
นายสุรเวทย์ กฤษณะเศรณี
เลขที่ 1178/268 ซอยเสนานิคม 1 ถนนพหลโยธิน 32 แขวงจันทรเกษม เขตจตุจักร กทม. 10900
โทรศัพท์ 02-5610711 มือถือ 084-6568019
หลักการทำงานและจุดเด่น
ใช้หลักการเมล็ดตกจากท่อตกกระทบแผ่นกระจายเมล็ด ทำให้การกระจายเมล็ดสม่ำเสมอ ซึ่งเป็นหลักการใหม่
แผ่นกระจายเมล็ดข้าวเป็นแบบใหม่ ไม่เคยมีใช้ในเครื่องหว่านที่ใช้กันอยู่ ทำให้การหว่านและการกระจายเมล็ดสม่ำเสมอ เสมือนการหว่านของคนที่มีความชำนาญ
เครื่องหว่านข้าวสามารถติดบนผานไถได้ ตั้งแต่ผานไถ 5 จาน ถึง 7 จาน และโครงพาลตั้งแต่ 125 เซนติเมตร เป็นต้นไป
ได้ออกแบบการติดตั้งของเครื่องหว่านบนโครงไดที่ใช้ในประเทศไทย ซึ่งมีหลายรูปแบบ เช่น โครงผานไถแบบกลม โครงผานไถแบบเหลี่ยม
ได้ออกแบบชุดปรับอัตราการหว่านข้าวสามารถปรับได้ตั้งแต่ 12 กิโลกรัมต่อไร่ จนถึง 40 กิโลกรัมต่อไร่ (ตามอัตราการหว่านที่ต้องการของเกษตรกร)
รางวัลเชิดชูเกียรติ (ชมเชย) การประกวดสิ่งประดิษฐ์คิดค้นทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
ประจำปีงบประมาณ 2553
เจ้าของสิ่งประดิษฐ์
นายสุรเวทย์ กฤษณะเศรณี
เลขที่ 1178/268 ซอยเสนานิคม 1 ถนนพหลโยธิน 32 แขวงจันทรเกษม เขตจตุจักร กทม. 10900
โทรศัพท์ 02-5610711 มือถือ 084-6568019
คำสำคัญ
บันทึกโดย