เทคโนโลยีพร้อมถ่ายทอด
การผลิตกระดาษสาปัจจุบันของผู้ประกอบการส่วนใหญ่ยังคงใช้กระบวนการแบบดั้งเดิมซึ่งถือว่าเป็นจุดเด่นของกระดาษสา แต่เมื่อมีการผลิตมากขึ้นทั้งในประเทศและต่างประเทศก็หันมาผลิตกระดาษสากันมาก ส่งผลทำให้เกิดการตัดราคากันระหว่างผู้ผลิต ทำให้ราคาตกต่ำและส่งผลต่อคุณภาพของกระดาษสา
จึงต้องมีการพัฒนาให้มีกระดาษสารที่มีสมบัติพิเศษกว่ากระดาษสาปกติ เช่นกระดาษสาที่ทนไฟ หรือกระดาษสารที่ทนน้ำ ที่จะทำให้สามารถประยุกต์การใช้กระดาษสาได้กว้างขึ้น ซึ่งจะเป็นการเพิ่มมูลค่าเพิ่มให้กับกระดาษสา
กระดาษสากันน้ำได้อย่างไร
โดยธรรมชาติเส้นใยเซลลูโลสชอบน้ำมาก (hydrophilic) ประกอบกับช่องว่างขนาดเล็กในกระดาษมีจำนวนมาก ทำให้กระดาษอุ้มน้ำเหมือนกับฟองน้ำพร้อมทั้งทำให้เกิด ปรากฏ- การณ์คะปิลลารี(capillary) ดังนั้นนั้นเมื่อมีหยดน้ำหยดลงบนกระดาษน้ำจึงแพ่รกระจายไปบนผิวกระดาษ เป็นวงกว้างพร้อมทั้งซึมผ่านเข้าไปในเนื้อกระดาษได้อย่างรวดเร็ว
การทำให้กระดาษสามารถกันน้ำได้ที่มีการทำกัน เช่นการลดช่องว่างในตัวกระดาษ โดยการเติมแป้งพร้อมกับมีกระบวนการอัดให้เส้นใยของกระดาษอยู่ชิดกันมากขึ้น ซึ่งจะทำให้กระดาษหนาและแข็ง หรือมีการเคลือบผิวหน้าของกระดาษด้วยวัสดุที่ไม่มีรูพรุนและไม่เปียกน้ำเช่นการเคลือบกระดาษด้วยฟิล์มพลาสติกซึ่งจะทำให้กระดาษสูญเสียความเป็นกระดาษไป
อีกกระบวนการหนึ่งที่มีการใช้กันคือการเติมสารที่ไม่ชอบน้ำ(sizing agents) ลงไป ส่วนใหญ่จะเป็นสารประเภท wax หรือ asphalt สารพวกนี้จะทำให้มุมสัมผัสของหยดน้ำโตมากทำให้น้ำไม่สามารถเปียกเส้นใย และไม่สามารถซึมผ่านกระดาษได้ ทั้งกระดาษยังคงให้ความรู้สึกถึงความเป็นกระดาษได้เหมือนกระดาษทั่วไป
การผลิตกระดาษสากันน้ำ ภายใต้โครงการวิจัยนี้ผู้วิจัยได้เลือกกระบวนการเติม sizing agents โดยทำการคัดเลือก sizing agents และทดลองเพื่อให้ได้ขั้นตอนและเงื่อนไขต่างๆที่เหมาะสมในการทำให้กระดาษสากันน้ำได้
จากการวิจัยทำให้ได้ว่า sizing agent ที่เหมาะสมคือ RSA 03 ซึ่งกระดาษสากันน้ำที่ผลิตขึ้นมาจะทำให้มุมสัมผัสของหยดน้ำโตมาก ทำให้กระดาษสากันน้ำไดดี หยดน้ำสามารถกลิ้งไปมาบนกระดาษได้เหมือนที่กลิ้งบนใบบัว และเมื่อสัมผัสกระดาษก็จะได้ความรู้สึกไม่แตกต่างไปจากกระดาษสาทั่วไป อีกทั้งต้นทุนไม่สูงและกระบวนการผลิตก็ไม่ซับซ้อน ผู้ผลิตรายย่อยสามารถทำได้ไม่ต้องใช้เครื่องมือราคาแพง
คุณสมบัติเฉพาะของกระดาษสากันน้ำ
+ ผ่านการทดสอบการต้านการซึมผ่านของน้ำตามมาตรฐาน ASTM D779-03
+ หยดน้ำมีมุมสัมผัสสูงทำให้หยดน้ำกลิ้งไปมาเหมือนบนใบบัว
+ เป็นผ้าฝ้ายกันน้ำที่สามารถหายใจได้: น้ำไม่ผ่านแต่ไอน้ำระเหยผ่านได้
+ ให้การสัมผัสเหมือนกระดาษสาปกติ
ไม่มีค่าใช้จ่ายในการอบรม
สนใจติดต่อขอข้อมูลเพิ่มเติม
อ. ดร.วิมล นาคสาทา
ภาควิชาเคมี คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
อ. ดร.มาโนช นาคสาทา
ภาควิชาฟิสิกส์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
รายละเอียดผู้รับบริการ
วันที่ถาม : 17/03/2565
คำถาม : - กระดาษสากันน้ำมีวิธีการทำอย่างไรคะ - กันน้ำได้ในระดับไหนคะ - สามารถนำวิธีนี้มาใช้บนกระดาษสาตกแต่งใบไม้ได้ไหมคะ -สามารถพัฒนาต่อยอด เพื่อความเพิ่มความแข็งแรงของกระดาษ และสามารถในการกันน้ำให้มากขึ้นได้ไหมคะ - หากต้องการจ้างงานวิจัยติดต่อหน่วยงานไหนคะ ขอบคุณค่ะ|1185|M
คำตอบ : งานวิจัยมีการจดสิทธิบัตร จึงส่งข้อมูลผู้เชี่ยวชาญเเละการติดต่อขอรายละเอียดทางอีเมลล์ ให้กับผู้ขอรับคำปรึกษาเรียบร้อยเเล้ว
การดำเนินงานจากเครือข่าย
วันที่ถาม : 01/11/2564
คำถาม : ต้องการทำกระดาษจากวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรคือกาบกล้วย ใบไผ่ เพื่อลดปัญหาขยะและการเผาทำลาย ประเด็นคำถามคือดอกเตอร์มาโนช นาคสาขาจากมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ท่านคิดสารRSA03เคลือบกระดาษทำให้ไม่เปียกน้ำได้แต่การวิจัยนี้ติดปัญหาลิขสิทธิ์ผู้ให้ทุนวิจัย(สสวท)จึงไม่สามารถให้ข้อมูลได้ ทำกระดาษเป็นแต่อยากใหีกระดาษกันน้ำได้เพื่อต่อยอดเป็นผลิตภัณฑ์ค่ะ|1185|M
คำตอบ : งานวิจัยมีการจดสิทธิบัตร
การดำเนินงานจากเครือข่าย
วันที่ถาม : 13/04/2563
คำถาม : สอบถามรายละเอียด การทำกระดาษสา กันน้ำ ผมเป็นกระดาษคราฟท์ ต้องการให้กระดาษกันน้ำ ใช้สารเคมีตัวเดียวกันได้มัยครับต้องใช้สัดส่วนเท่าไร|1185|M
คำตอบ : ประสานไปยังศูนย์นาโนเทคโนโลยี คุณเชอรี่และคุณนริศราให้แล้วครับ ผมส่งข้อมูลไปยัง มช. เพื่อให้นักวิจัยดำเนินการต่อไป
การดำเนินงานจากเครือข่าย
วันที่ถาม : 04/02/2563
คำถาม : ราคาตัวละเท่าไรครับ 1000kg/day|1073|M
คำตอบ : ส่งข้อมูลไปให้ มจธ. ช่วยดำเนินการแล้วครับ
การดำเนินงานจากเครือข่าย
วันที่ถาม : 10/08/2561
คำถาม : ขอทราบรายละเอียดเครื่องสกัดน้ำมันอเนกประสงค์ราคาเท่าไรครับและถ้ามีจำหน่ายจะต้องดำเนินการจักซื้ออย่างไร|279
คำตอบ :
เรียน คุณเสน่ห์คะ ลองติดต่อ คุณพรเทพ ธนกุลรังสฤษดิ์ (ลพบุรีน้ำมันพืชบีบเย็น) น่าจะมีเครื่องบีบสกัดน้ำมันที่ต้องการนะคะ เข้าไปที่ facebook: พรเทพน้ำมันพืชบีบเย็น หรือโทรตรงที่เบอร์ 089-7424071 ค่ะ ราคามีหลากหลาย แล้วแต่เครื่องบีบที่ต้องการใช้งานค่ะ ลองปรึกษาดูค่ะ
การดำเนินงานจากเครือข่าย
วันที่ถาม : 21/02/2561
คำถาม : อยากทราบประสิทธิภาพการทำงานของเครื่องตีขุยมะพร้าว มีจำหน่ายไม่และราคาเท่าไร่|1145
คำตอบ :
สวัสดีคะคุณวิศักดิ์ ดิฉันรบกวนคุณติดต่อกับเจ้าหน้าที่คลินิกเทคโนโลยี มทร.ศรีวิชัน สงขา ได้เลย ค่ะ ติดต่อกับคุณเอกชัย คะ โทร.098-710-6906 และดิฉันขอให้ข้อูลเบื้องต้นดังนี้นะคะ
เครื่องแยกขุย และเส้นใยเปลือกมะพร้าวสามารถย่อยเปลือกมะพร้าวโดยแยกขุย และเส้นใยได้อย่าง
ต่อเนื่องโดยใช้หลักการฟันตีอิสระ ทางออกของเส้นใยออกแบบเป็นช่องลำเลียงมีทั้งหมด 3 ห้อง ส่วนใบพัดทำ
หน้าที่สร้างลมเพื่อดูดเส้นใยออก ใช้มอเตอร์ 3 เฟส 3 แรงม้า ความเร็วรอบ 1450 รอบต่อนาที เป็นเครื่องต้น
กำลังกาบมะพร้าวที่ใช้ในการย่อยจะต้องเป็นกาบของมะพร้าวที่ได้จากผลสุกและผลมะพร้าวสด เปลือก
มะพร้าว 1 ลูก ควรจะแบ่งออกประมาณ 8 ส่วน แต่ถ้าเปลือกมะพร้าวหนามากควรจะแบ่งเป็น 10 ส่วน
สามารถแยกเป็นขุยลักษณะเป็นผงละเอียด และแยกเป็นเส้นใยลักษณะเป็นเส้นตรงยาว ความยาวอยู่ที่
ประมาณ 2-10 เซนติเมตรขึ้นอยู่กับความหนาของสามารถเพิ่มผลผลิตในกระบวนการย่อยเปลือกมะพร้าวและ
สร้างมูลค่าเพิ่มให้กับเปลือกมะพร้าวได้และสามารถประยุกต์ใช้สำหรับการย่อยข้าว และทะลายปาล์มได้
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมที่
-------------------------------------------
เครื่องแยกขุยและเส้นใยมะพร้าว
อาจารย์จักรนรินทร์ ฉัตรทอง
สาขาวิศวกรรมอุตสาหการ คณะวิศวกรรมศาสตร์
jaknarin.c@hotmail.com
080-5404848
ขอบคุณค่ะ
การดำเนินงานจากเครือข่าย
วันที่ถาม : 18/02/2561
คำถาม : อุปกรณ์ในการทำการโกยฟาง วิธีทำ และกลไกการทำงาน จะนำข้อมูลมาทำโครงงานเครื่องสับฟาง โดยโกยจากพื้นขึ้นมาสับ|726|M
คำตอบ :
สวัสดีคะคุณสุภาณี รบกวนติดต่อดิฉันกลับที่เบอร์ 02-333-3917 นะคะ ดิฉันอยากได้ข้อมูลเพิ่มเติมค่ะ ขอบคุณค่ะ
การดำเนินงานจากเครือข่าย
วันที่ถาม : 12/07/2560
คำถาม : โรงเรือนและอุปกรณ์เลี้ยงไก่|435|M
คำตอบ :
คุณเรืองแสน รบกวนติดต่อขอข้อมูลระบบการเลี้ยงไก่พันธุ์ตะเภาทองได้ที่ อาจารย์สุชาติ สงวนพันธุ์ ภาควิชาสัตวบาล คณะเกษตรกำแพงแสน มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์กำแพงแสนได้โดยตรงเลยค่ะ โทรศัพท์ 034-281078-9 อีเมล์ pleku@hotmail.com ค่ะ
การดำเนินงานจากเครือข่าย