คำค้น "ยงาน"
ข้อมูลผู้เชี่ยวชาญ
นายวรณ์ ดอนชัย
117
ผ้าและเครื่องแต่งกาย
- องค์ความรู้ด้านสิ่งทอพื้นบ้าน/เส้นใยธรรมชาติ/สีย้อมธรรมชาติ
ผ้าและเครื่องแต่งกาย
- การพัฒนาคุณภาพผ้าทอย้อมสีธรรมชาติ(พัฒนากระบวนการย้อม-การทดสอบคณุภาพผ้า)
ผ้าและเครื่องแต่งกาย
- การพัฒนากระบวนการผลิตสิ่งทอพื้นบ้านให้เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
- พัฒนากระบวนการฝึกอบรม พัฒนาศักยภาพและประเมินผลวิทยากรชุมชน
- การพัฒนาเครือข่ายความร่วมมือระหว่างชุมชนกับหน่วยงานภาครัฐและเอกชน
ศูนย์วิจัยและพัฒนานวัตกรรมสินค้าเกษตรและอาหาร ภาคต
92
ศูนย์วิจัยและพัฒนานวัตกรรมสินค้าเกษตรและอาหาร ภาคตะวันออก คณะเทคโนโลยีการเกษตร มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี จันทบุรี เป็นหน่วยสนับสนุนการเรียนการสอน การวิจัย แลบริการวิชาการ มีหน้าที่หลักดังต่อไปนี้ 1. ทดสอบมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหาร ISO/IEC 17025 ทดสอบตัวอย่างสินค้าด้านการเกษตร เช่น ดิน น้ำ ใบ ผลผลิตทางการเกษตร และผลิตภัณฑ์จากการเกษตร เช่น ผลิตภัณฑ์อาหารแปรรูป น้ำส้มควันไม้ น้้ำดื่ม น้ำพริก ซอส เป็นต้น ทางศูนย์ทดสอบจะทำการวิเคราะห์เพื่อวัตถุประสงค์ ดังนี้ 1.1 เฝ้าระวังมาตรฐานสินค้าให้ตรงกับมาตรฐานภานในและต่างประเทศ 1.2 ออกใบรายงานผลให้สอดคล้องกับมาตรฐานภานในและต่างประเทศ 1.3 วิเคราะห์สารเคมี และยาฆ่าแมลงตกค้างในผลผลิต และผลิตภัณฑ์แปรรูป 1.4 วิเคราะห์ฉลากโภชนา 1.5 วิเคราะห์จุลินทรีย์ 1.6 วิเคราะห์น้ำเพื่อการอุปโภคบริโภค 2. วิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์ด้านเกษตรและอาหาร ทำการวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่ใช้พืชปลทางการเกษตร ในภาคตะวันออก เพื่อรองรับการแปรรุปผลผลิตใหม่ๆ สู่ตลาดในยุยไทยแลนด์ 4.0 3. บริการวิชาการ ฝึกอบรม และให้คำปรึกษา เป็นศูนย์บริการให้คำปรึกษาด้านคุณภาพอาหาร และการขึ้นทะเบียนกับหน่วยงานรัฐ เช่น มผช. OTOP อย. และมาตรฐานสากลได้แก่ GMP/HACCP/ISO/HALAL/BRC เป็นต้น และยังเป็นที่ฝึกอบรมด้านการแปรรูปการเกษตร และอื่นๆ ตามโจทย์ท้องถิ่น 4. เป็นพี่เลี้ยงด้านระบบคุณภาอาหาร เป็นพี่เลี้ยงหน้างาน ให้บริการถึงสถานที่ เพื่อคอยแนะนำให้ผู้ประกอบการทุกระดับ ไม่ว่าจะกลุ่มแม่บ้าน วิสาหกิจชุมชน SME เข้าถึงการแปรรูปที่ถูกต้อง และจัดการสถานที่ให้เป็นไปตามมาตรฐานที่ต้องการ รวมทั้งการประยุกต์ใช้ระบบประกันคุณภาพอาหาร ในสถานประกอบการ สถานที่ติดต่อ ศูนย์วิจัยและพัฒนานวัตกรรมสินค้าเกษตรและอาหาร ภาคตะวันออก หลักสูตรวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหาร คณะเทคโนโลยีการเกษตร มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี เลขที่ 41 ม.5 ต.ท่าช้าง อ.เมือง จ.จันทบุรี 22000 โทรศัพท์ 061 6605306 E mail Classforecastrbru@hotmail.com
นายณัฐกิตติ์ มาฟู
112
สำรวจฐานข้อมูลทรัพยากรท้องถิ่นด้านกายภาพ ชีวภาพ ภูมิปัญญาและวัฒนธรรมท้องถิ่น เพื่อนำเสนอให้แก่ชุมชนและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง มาวิเคราะห์หาศักยภาพและพัฒนาต่อยอดในด้านต่างๆร่วมกัน
นางเพ็ญศรี มลิทอง
87
สำรวจฐานข้อมูลทรัพยากรท้องถิ่น ด้านกายภาพ ชีวภาพ ภูมิปัญญาและวัฒนธรรมท้องถิ่น เพื่อนำฐานข้อมูลที่ได้นำเสนอให้กับชุมชน และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง มาวิเคราะห์หาศักยภาพและพัฒนาต่อยอดในด้านต่างๆ ร่วมกัน
นางพจมาน วงษ์วิบูลย์สิน
102
การบริหารจัดการชุมชน/การจัดการองค์กรส่วนท้องถิ่น
ได้ดำเนินงานจัดโครงการบริการวิชาการแก่สังคม ทำหน้าที่ได้ประสานงานติดต่อกับผู้นำชุมชน และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อดำเนินจัดกิจกรรม จัดโครงการต่างๆ รวมถึงได้ลงพื้นสำรวจความต้องการของชุมชน และหน่วยงานทั้งภายใน ภายนอกมหาวิทยาลัย ซึ่งคณะทำงานมีการจัดการฝึกอบรม ให้ความรู้กับประชาชนในชุมชน นักเรียน นักศึกษา โครงการต่างๆ ที่คณะได้จัดขึ้นจะยึดตามแนวทางปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ซึ่งทำให้ผู้เข้าร่วมโครงการได้รับความรู้ไปต่อยอดพัฒนาผลิตภัณฑ์ เพิ่มมูลค่าของชุมชน เพิ่มช่องทางการจัดจำหน่ายสินค้า และเพิ่มยอดขายได้อีกด้วย
นางสาวทิพวรรณ คำพานิช
69
- การจัดการธุรกิจบริการ
- งานบริการต่าง ๆ ในส่วนของการติดต่อประสานงานหน่วยงานต่างๆ ทั้งภายในและภายนอก
ดร.ชัยณรงค์ รัตนกรีฑากุล
89
1.จดอนุสิทธิบัตร "สูตรผสมสำหรับ ผลิตภัณฑ์สารสกัดสมุนไพร ชนิดสารเข้มข้นแขวนลอย"
2. จดลิขสิทธิ์ ปี 2011 จำนวน 4 เรื่อง "สินค้าคุณภาพจากแปลงสู่ผู้บริโภค" "การประเมินความเสี่ยงเป็นการเตรียมระบบ GAP ให้พร้อมกับสิ่งที่เกิดขึ้น" "การระมัดระวังระหว่างการใช้สารเคมี" "สุขอนามัยระหว่างการเก็บเกี่ยว"
3. งานวิจัยที่เป็นการรายงานครั้งแรกของประเทศไทยที่พบว่า เชื้อสาเหตุโรคกิ่งแห้งของทุเรียนเป็นเชื้อรา Fusarium incarnatum และ F. solani ไม่ใช่เชื้อรา Phytophthora palmivora ตามที่นักวิชาการหลายท่านเข้าใจ รวมทั้งพบว่าเชื้อรา Phytopythium vexans สามารถเข้าทำลายทุเรียน และทำให้เกิดโรครากเน่าโคนเน่าได้เช่นเดียวกับ P. palmivora และได้แนะนำสารเคมีป้องกันกำจัดเชื้อราชนิดที่ควบคุมได้ทั้งเชื้อรา Fusarium, Phytophthora, Phytopythium และ Pythium โดยเกษตรกรไม่จำเป็นต้องสิ้นเปลืองซื้อสารเคมีหลายชนิดมาผสมเองเพราะสาเหตุที่แท้จริงของโรคกิ่งแห้งนั้นเกิดจากเชื้อรา Fusarium solani และ F. incarnatum มิได้เกิดจากเชื้อรา Phytophthora palmivora และได้แนะนำสารเคมีที่มีประสิทธิภาพในการควบคุมโรคกิ่งแห้งซึ่งสามารถควบคุมเชื้อรา Phytophthora palmivora สาเหตุโรครากเน่าโคนเน่าของทุเรียนได้อีกด้วย โดยจำเป็นต้องระมัดระวังการใช้สารเคมี benzimidazoles มากยิ่งขึ้น เนื่องจากเชื้อราสาเหตุเกิดการต้านทานได้
4. หาความแตกต่างของสารประกอบบนผิวมะม่วงที่ได้รับสารกลุ่ม salicylic เพื่อกระตุ้นความต้านทานโรคแอนแทรคโนส จากงานวิจัยการกระตุ้นความต้านทานการเกิดโรคในมะม่วงหลังการเก็บเกี่ยว
ดร.รัติยา พงศ์พิสุทธา
85
เป็นทีมวิจัยที่พบสาเหตุโรคกิ่งแห้งของทุเรียนและรายงานว่าเป็นเชื้อรา Fusarium incarnatum และ F. solani พบในประเทศไทย โดยตีพิมพ์ผลงาน ในวารสาร Plants Pongpisutta, R., Keawmanee, P., Sanguansub, S., Dokchan, P., Bincader, S., Phuntumart, V. and Rattanakreetakul, C. 2023. Comprehensive investigation of die-back disease caused by Fusarium in durian. Plants 12, 3045. https://doi.org/10.3390/plants12173045 นอกจากนี้ได้ตีพิมพ์ผลงานวิจัยซึ่งได้รับทุนจากศูนย์นวัตกรรมเทคโนโลยีหลังการเก็บเกี่ยว มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ในวารสารนานาชาติ 2 ฉบับ ได้แก่ 1) Rattanakreetakul, C., Keawmanee, P., Bincader, S., Mongkolporn, O., Phuntumart, V., Chiba, S. and Pongpisutta, R. 2023. Two newly identified Colletotrichum species associated with mango anthracnose in central Thailand. Plants 12, 1130. https://doi.org/10.3390/plants12051130 และ 2) Bincader, S., Pongpisutta, R. and Rattanakreetakul, C. 2022. Diversity of Colletotrichum species causing anthracnose disease from mango cv. Nam Dork Mai See Tong based on ISSR-PCR. Indian Journal of Agricultural Research 56 (1): 81-90. https://doi.org/10.18805/IJARe.AF-691.
ดร.พวงพรภัสสร์ วิริยะ
89
ที่ปรึกษาหน่วยงาน UBI มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา