2568 การส่งเสริมและพัฒนาห่วงโซ่เกษตรกรผู้เลี้ยงแพะ-แกะ ครบวงจร แบบมีส่วนร่วม   0


รายงานความก้าวหน้า

ไตรมาส ผลการดำเนินงาน งบประมาณที่ใช้ ผู้รับบริการ
2 [18842]

ผลการดำเนินงานโครงการรายไตรมาส 2


โครงการ“การส่งเสริมและพัฒนาห่วงโซ่เกษตรกรผู้เลี้ยงแพะ-แกะ ครบวงจร แบบมีส่วนร่วม” รหัสโครงการ 6383
วงเงินที่ได้รับอนุมัติตามโครงการ จำนวน 207,800 บาท
พื้นที่ดำเนินการ :มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร และ กลุ่มวิสาหกิจชุมชนผู้เลี้ยงแพะ อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร, กลุ่มวิสาหกิจชุมชนวิถีปศุสัตว์ เกษตรยั่งยืน  Lat : 17.19247692096 Lng : 104.057429411088
กลุ่มเป้าหมาย :เกษตรกรผู้เลี้ยงแพะ ในพื้นที่จังหวัดสกลนคร จำนวน 40 ราย

                        1. กลุ่มวิสาหกิจชุมชนผู้เลี้ยงแพะ อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร จำนวน 10 ราย
                        2. กลุ่มวิสาหกิจชุมชนวิถีปศุสัตว์ เกษตรยั่งยืน  จำนวน 10ราย
                        3. กลุ่มวิสาหกิจชุมชน ผู้เลี้ยงแพะอำเภอวาริชภูมิ จังหวัดสกลนคร จำนวน 10 ราย
                        4. กลุ่มเกษตรกรผู้เลี้ยงแพะทั่วไป  จำนวน 10 ราย


ระยะเวลา : กุมภาพันธ์ – 31 มีนาคม 2568
ค่าใช้จ่ายรายไตรมาส: 40,000 บาท


ผลการดำเนินงาน : จากการดำเนินงานในช่วงที่ผ่านมาสามารถ สรุปได้เป็น 2 กิจกรรมใหญ่ๆ ดังนี้ 

กิจกรรมที่ 1
วันที่ 20 มีนาคม 2568
                1.คณะกรรมการดำเนินงาน และผู้รับผิดชอบโครงการ เดินทางลงพื้นที่ เพื่อปรึกษาหารือ เตรียมพร้อม และร่วมแสดงความคิดเห็น ในการดำเนินงานโครงการ ร่วมกับตัวแทน กลุ่มเกษตรกรผู้เลี้ยงโค ทั้ง 4 กลุ่ม ณ กลุ่มวิสาหกิจชุมชนวิถีปศุสัตว์ เกษตรยั่งยืน  โดยมี นายสันติ  ปิ่นสุวรรณ์ ประธานกลุ่ม หมายเลขติดต่อ 0819657162 เพื่อกำหนดทิศทางการดำเนินกิจกรรมให้สามารถขับเคลื่อนกลุ่มเกษตรกรผู้เลี้ยงแพะในพื้นที่ ให้สามารถขับเคลื่อนไปได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยสามารถสรุปหัวข้อและแผนการดำเนินงานออกเป็น 4 ข้อดังนี้

           ข้อที่ 1. ศึกษาแนวทางความเป็นไปได้ในการพัฒนาโรงเชือด และโรงแปรรูป ผลิตภัณฑ์แพะแปรรูป เพื่อสร้างการรับรู้และพฤติกรรมการบริโภคเนื้อแพะในพื้นที่ และเข้าสู่กระบวนการขอรับรองมาตรฐานฮาลาน จากสมาคมผู้ผลิตและส่งออกสินค้าฮาลาน ไทย

           ข้อที่ 2  แนวทางการพัฒนา ผลิตภัณฑ์สินค้าเนื้อแพะแปรรูป ประเภทชิ้นส่วนอื่นที่ได้จากกระบวนการแปรรูปที่ตลานไม่ต้องการ เช่นเมนูแคปแพะ,ไส้กรอกแพะ,เนื้อแพะแดดเดียว เป็นต้น
           ข้อที่ 3 กำหนดทิศทางการดำเนินกิจกรรมภายใต้กลุ่มวิสาหกิจ ภายใต้ สโลแกน “เพื่อนช่วยเพื่อน พี่ช่วยน้อง” ตามโมเดล BCG หรือระบบเศรษฐกิจหมุนเวียน ภายในชุมชน และกลุ่มผู้เลี้ยงแพะด้วยกันเอง โดยขยายผลจากกลุ่มที่เข้มแข็งและประสบความสำเร็จในพื้นที่ และพื้นที่ใกล้เคียง

           ข้อที่ 4. พัฒนาแนวทางตลาดแพะทั้งเนื้อแพะแปรรูป และตลาดแพะมีชีวิต ให้เป็นจุดศูนย์กลางในการรวมรวมประชากรแพะ และสิ้นค้าแพะในพื้นที่

 

 

กิจกรรมที่ 2
วันที่ 30 มีนาคม 2568
    1. ผู้รับผิดชอบโครงการ และคณะกรรมการดำเนินโครงการ ลงพื้นที่ เพื่อทำข้อตกลงการบูรณาการโครงการ ร่วมกับหน่วยงานเครือข่าย โดยมีตัวแทนจากหน่วยงานต่างๆ ประกอบด้วย 1. มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร 2. สำนักงานปศุสัตว์ภาค 4 3. สำนักงานปศุสัตว์ จังหวัดสกลนคร 4. สมาพันธ์เกษตร 5. ผู้ประกอบการรับซื้อแพะ และ 6. เกษตรกรผู้เลี้ยงแพะและตัวแทน ในพื้นที่ เพื่อกำหนดทิศทางการขับเคลื่อนแพะ ในพื้นที่จังหวัดสกลนคร และสร้างความมั่นใจด้านราคาให้แก่ผู้เลี้ยงแพะและกลุ่มเป้าหมาย รวมถึงการเปิดตลาดแพะจังหวัดสกลนคร ขึ้น ณ ตลาดแพะกลาง จังหวัดสกลนคร โดยมีแพะเข้าร่วมในการเปิดตลาดครั้งนี้ รวมทั้งสิ้น 146 ตัว โดยมีเกษตรกรเครือข่ายผู้เลี้ยงแพะภาคอีสานอีก 2 จังหวัดเข้ารวมกิจกรรมด้วย ประกอบด้วยเกษตรกรผู้เลี้ยงแพะจังหวัดบึงกาฬ และจังหวัดร้อยเอ็ด โดยมี นายณัฐวุฒิ  เหมะธุรินทร์ ประธานกลุ่มผู้เลี้ยงแพะจังหวัดสกลนคร หมายเลขติดต่อ 0813200335 เป็นผู้ประสานงานและดำเนินการในพื้นที่

ปัญหา / อุปสรรค :การใช้จ่ายงบประมาณไม่เป็นไปตามแผน เนื่องจากอยู่ระหว่างการโอนจ่ายงบประมาณ
แนวทางการแก้ไข :ดำเนินการในส่วนที่สามารถดำเนินการได้ก่อน เพื่อให้การดำเนินการโครงการเป็นไปอย่างต่อเนื่อง



รายงานโดย นายเทพกร ลีลาแต้ม วันที่รายงาน 01/04/2568 [18842]
40000 40