การดำเนินงานโครงการภายใต้กิจกรรมการนำ วทน. เพื่อเพิ่มศักยภาพการผลิตเศรษฐกิจชุมชน ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2568
แพลตฟอร์มบริการให้คำปรึกษาและข้อมูลเทคโนโลยี (Technology Consulting Service : TCS)
ภายใต้หน่วยงานคลินิกเทคโนโลยี อุทยานวิทยาศาสตร์มหาวิทยาลัยนเรศวร ได้ดำเนินงานไปแล้ว ดังนี้
- นำส่งเงินเข้ามหาวิทยาลัยนเรศวร จำนวนเงิน 200,000 บาท (สองแสนบาทถ้วน)
- นำส่งเงินอุดหนุน ร้อยละ 10 จำนวนเงิน 20,000 บาท (สองหมื่นบาทถ้วน)
- งบดำเนินโครงการคงเหลือ 180,000 บาท (หนึ่งแสนแปดหมื่นบาทถ้วน)
ผลการดำเนินงาน
- วางแผนดำเนินการลงพื้นอบรมให้ความรู้แก่กลุ่มชุมชน
- ดำเนินการบริการให้คำปรึกษา จำนวน 15 ราย ได้แก่
ลำดับ
|
ชื่อ
|
นามสกุล
|
บริษัท/หน่วยงาน
|
ด้าน
|
เรื่อง
|
1
|
นางชลธิชากร
|
คุ้นวงศ์
|
บริษัท บี.เอ็น.ฟาร์มกรุ๊ป จำกัด
|
อาหาร
|
-
กระบวนการคัดเกรดวัตถุดิบ (ลิ้นจี่)
-
การขอรับรองมาตรฐานโรงคัดผลไม้
-
กระบวนการผลิตลิ้นจี่อบแห้ง
-
การขอรับรองมาตรฐานสถานที่ผลิต
|
2
|
นายแล
|
โพธิ์วัด
|
วิสาหกิจชุมชนอนุรักษ์พัฒนาและแปรรูปส้มโอสายพันธุ์ท่าข่อย
|
การผลิต
|
-
กระบวนการกลั่นน้ำมันหอมระเหยจากเปลือกส้มโอสายพันธุ์ท่าข่อย
-
การขออนุญาตจดแจ้งผลิตภัณฑ์
-
การควบคุมคุณภาพผลิตภัณฑ์
-
การพัฒนาผลิตภัณฑ์จากน้ำมันจากเปลือกส้มโอท่าข่อย
-
การทำการตลาดออนไลน์
|
3
|
เตชินทร์
|
ฉัตรสุวรรณ
|
-
|
เครื่องมือวิทยาศาสตร์
|
-
การวิเคราะห์และทดสอบช่อดอกกัญชาแบบแห้ง ด้วยเครื่อง HPLC โดยรายการที่ต้องการทดสอบมีดังนี้
- THC A
- Total THC
- Cannabinoids
|
4
|
ดร.สุจิตรา
|
แป้นแก้ว
|
-
|
เครื่องมือวิทยาศาสตร์
|
-
การทำแห้งแบบ Tray dry สำหรับการวิจัยและพัฒนาตำรับซ๊บีดี-พรมมิ อิมันชั่นรูปแบบรับประทาน
|
5
|
นางณชธร
|
เทย์เลอร์
|
บริษัท เฟลิเซีย อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด
|
เครื่องสำอาง
|
-
สนใจขอรับคำปรึกษาและแนะนำ การนำประเภทสารสกัดจากธรรมชาติ ที่มีส่วนผสมของสมุนไพร ที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัวแตกต่างจากสินค้าของประเทศอื่น ๆ มาทำเซรั่มหรือครีม
-
สิ่งสำคัญของการออกฤทธิ์ในสาระสำคัญ ได้แก่ รูขุมขนกระชับ ผิวดูเรียบเนียน กระจ่างใสขาวขึ้นเพียงไม่กี่สัปดาห์ และช่วยให้ผิวดูอ่อนเยาว์อิ่มฟู กระชับริ้วรอยดูจางลงอย่างเห็นได้ชัด
**อยากให้แนะนำสารสกัดเด่น ๆ ที่ช่วยในเรื่องนี้*** เพื่อนำไปปรับปรุงในสูตรเดิมที่มีอยู่
-
ต้องการให้ทางมหาวิทยาลัยช่วยพัฒนาสูตรให้และการทำผลิตภัณฑ์ต้นแบบของผลิตภัณฑ์
-
ต้องการทุนสนับสนุนสำหรับการทำวิจัยการพัฒนาสูตร
-
สร้าง unique ของผลิตภัณฑ์ตัวเองโดยสมุนไพรไทย ผสมผสานความเป็นไทย
|
6
|
นายฐปกรพัฒน์
|
ยุวนิช
|
-
|
เครื่องสำอาง
|
-
ผู้ประกอบการต้องการขอเข้าใช้บริการเครื่องสกัดน้ำมันหอมระเหย เพื่อสกัดน้ำมันจากเกษรดอกไม้
|
7
|
ดร.สุจิตรา
|
แป้นแก้ว
|
-
|
เครื่องมือวิทยาศาสตร์
|
-
ต้องการใช้บริการเครื่องผสมแบบลูกเต๋าและขนาดสำหรับการผสมผลิตภัณฑ์แบบผง
|
8
|
นายอดิศักดิ์
|
พรมพุก
|
วิสาหกิจชุมชนผักปลอดภัยจากสารพิษ ต.เกาะตาเลี้ยง
อ.ศรีสำโรง จ.สุโขทัย
|
อาหาร
|
-
การพัฒนาปรับปรุงผลิตภัณฑ์ผักอบกรอบ
|
9
|
นายรวม
|
ล้นเหลือ
|
รดาออร์แกนิคฟาร์ม
อ.ศรีสัชนาลัย สุโขทัย
|
เครื่องสำอาง
|
-
การวิจัยและพัฒนาการนำผงกล้วยต่อยอดในการใช้ในผลิตภัณฑ์เครื่องสำอาง
-
มีสถานที่ผลิตที่ได้รับมาตรฐาน GMP เรียบร้อยแล้ว
|
10
|
นางสาวชนิกานต์
|
เปรมปรีดี
|
กลุ่มแม่บ้านเกษตรกรหนองตูมพัฒนา paichan
อ.กงไกรลาศ จ.สุโขทัย
|
อาหาร
|
-
ขอคำปรึกษาและแนะนำบริการต่าง ๆ ของอุทยานฯ รวมทั้งทุนสนับสนุนสำหรับวิสาหกิจชุมชน
|
11
|
นางสาวสุภาวดี
|
ทะยะ
|
วิสาหกิจชุมชนสวนตุ๊กตุ๊ก
|
อาหาร
|
การพัฒนาผลิตภัณฑ์ ขนมกล้วยแบบบาร์ โดยผู้ประกอบการ
มีความต้องการ ดังนี้
-
ยืดอายุผลิตภัณฑ์ บานาน่าบาร์ ให้เก็บได้นานประมาณ 1 เดือน นอกตู้เย็น (กล้วยน้ำว้า)
- บานาน่าบาร์ เป็นบาร์แบบนิ่ม มีอายุการเก็บรักษาไม่นาน นอกตู้เย็นไม่เกิน 7 วัน แต่ในตู้เย็นสามารถเก็บได้เป็นเดือน
- เคยส่งตรวจวิเคราะห์ พบว่ามีเชื้อราปนเปื้อน จึงมีความกังวลว่ากระบวนการที่ใช้อยู่เหมาะสมหรือไม่
- กระบวนการผลิตคือ นำกล้วยสุกมาบด และผสมกับธัญพืชที่อบด้วยตู้อบเค้ก 180 องศาเซลเซียส 10 นาที (ธัญพืช = ข้าวโอ๊ต เม็ดมะม่วงหิมพานต์ งาขาว งาม้อน) และผสมกับลูกเกด กับ เนยถั่ว เมื่อผสมทุกอย่างเข้าด้วยกันแล้วนำไปอัดใส่พิมพ์ แล้วอบที่ 180 องศาเซลเซียส 35 นาที แล้วบรรจุถาดขนมพาสติกในถุงซีล
- ทางวิสาหกิจฯ มีตู้อบลมร้อน แต่ยังไม่เคยนำมาใช้กับผลิตภัณฑ์นี้
- ใส่สารกันบูดได้ ให้อยู่ในมาตราฐาน
-
ปรับกระบวนการผลิต กล้วยหนึบ บรรจุถุงซีลสุญญากาศ
- กล้วยหนึบมีความไม่สม่ำเสมอหลังจากการบ เนื่องจากปริมาณที่เข้าอบแต่ละครั้งไม่เท่ากัน ทำให้อุณหภูมิที่ใช้และเวลายังไม่คงที่ ต้องการคำแนะนำในการหาเลือกสภาวะที่เหมาะสมในการอบ
- ขั้นตอนที่ผลิตคือ นำกล้วยมาล้างทำความสะอาดทั้งหวี แล้วปอกเปลือก หั่นเป็น 3 ชิ้น จากนั้นนำชิ้นกล้วยไปอบด้วยตู้อบลมร้อน (ตู้อบลมร้อนมี 12 ชั้น)
- ยังไม่เคยทดลองสลับถาดระหว่างการอบ
-
ผลิตภัณฑ์ทั้งหมดใช้วัตถุดิบหลักมาจากสวนของตนเองที่ดูแลแบบเกษตรอินทรีย์ และสวนเกษตรกรเครือข่ายในชุมชน และได้รับอนุญาตสถานที่ผลิต และอนุญาตผลิตภัณฑ์ จาก อย. ในกลุ่มอาหาร “อาหารพร้อมปรุงและอาหารสำเร็จรูปที่พร้อมบริโภคทันที”
|
12
|
นายมนัสนันท์
|
นพรัตน์ไมตรี
|
-
|
เครื่องมือวิทยาศาสตร์
|
-
ผู้ประกอบการสอบถามเรื่องการขอใช้บริการเครื่องมือวิทยาศาสตร์ อ่างควบคุมอุณภูมิแบบเขย่า
|
13
|
นางสาววีณา
|
เทศนา
|
บริษัท วรรณาวีย์ จำกัด
|
อาหาร
|
-
ผู้ประกอบการปรึกษาเรื่องการยืดอายุการเก็บรักษาผลิตภัณฑ์ จำนวน 2 ผลิตภัณฑ์ ดังนี้
- น้ำใบเตยผสมน้ำผึ้งมะนาว
- สังขยา
|
14
|
นางสาวกิ่งกานต์
|
พันธุวานิช
|
-
|
อาหาร
|
-
ผู้ประกอบการขอรับคำปรึกษาการพัฒนาและปรังปรุงผงกระเพราปลาดุกให้มีอายุการเก็บรักษาที่นานขึ้นและลดการเหม็นหืนของผลิตภัณฑ์ และการยืดอายุผงโรยข้าวรสกะเพรา
|
15
|
นายกันต์กนิษฐ์
|
จงรัตนวิทย์
|
-
|
เครื่องมือวิทยาศาสตร์
|
-
ผู้ประกอบการขอรับคำปรึกษาเรื่องการใช้เครื่อง HPP เพื่อทำ inocilation ในตัวอย่าง
|
รายงานโดย น.ส.สุภาภรณ์ เอี่ยมเหม็น วันที่รายงาน 04/04/2568
[18933]