2568 บริการคำปรึกษาข้อมูลวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีครบวงจร   0


รายงานความก้าวหน้า

ไตรมาส ผลการดำเนินงาน งบประมาณที่ใช้ ผู้รับบริการ
2 [18979]

การประชุมชี้แจงการติดตามประเมินผลโครงการ และชี้แจงแนวทางการดำเนินโครงการ ปีงบประมาณ 2568
และค่าจ้างเจ้าหน้าที่คลินิก



รายงานโดย ดร.อรวรรณ วนะชีวิน วันที่รายงาน 04/04/2568 [18979]
8475 25
2 [18978]
วันที่ 13-14 มีนาคม พ.ศ. 2568 เครือข่ายคลินิกเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย รับการติดตามและการประเมินผลการดำเนินงานโครงการภายใต้กิจกรรมส่งเสริมการนำวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม เพื่อเพิ่มศักยภาพการผลิตและเศรษฐกิจชุมชน ปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 โดยผู้ทรงคุณวุฒิ และคณะกรรมการ ได้แก่
รองศาสตราจารย์ ดร.นาฏสุดา ภูมิจำนงค์ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.โชติกา เมืองสง คุณสมศักดิ์ พลอยพานิชเจริญ คุณชายกร สินธุสัย  รวมถึงทีมดำเนินงานจาก สป.อว. และมหาวิทยาลัยมหิดล
กิจกรรมวันที่ 13 มีนาคม พ.ศ. 2568 เป็นการดำเนินการรายงานผลการดำเนินงานโครงการภายใต้การดูแลของคลินิกเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย จำนวน 12 โครงการ ณ ห้องประชุมมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย ประกอบด้วย 
1. โครงการ TCS: การให้บริการคำปรึกษาข้อมูลวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีครบวงจร (ปีที่ 3) 
2. โครงการ NCB: พัฒนาผู้นำและเครือข่ายเกษตรปลอดภัยตามแนวทางการพัฒนาเศรษฐกิจสีเขียว (BCG Model) และ Eco Rice จังหวัดเชียงราย (ปี 2) 
3. โครงการ SCI: ชุมชนสามัคคีเกษตรอินทรีย์ฟาร์ม ตำบลแม่ฟ้าหลวง อำเภอแม่ฟ้าหลวง จังหวัดเชียงราย  (ปี 2) 
4. โครงการ BCE: ร้อยรักตี้ฮ่อมลมจอย (ปี 2) 
5. โครงการ BCE: กล้วยดีเวียงชัย (ปี 2) 
6. โครงการ BCE: การเพิ่มศักยภาพผลิตภัณฑ์เชียงดาภูผึ้งหลวง (ปี 1) 
7. โครงการ BCE: ๘๙๗๔ Crispy Rice กลุ่มวิสาหกิจชุมชนเกษตรกรแปรรูปข้าวปลอดภัยแบบยั่งยืนแม่จัน อำเภอแม่จัน จังหวัดเชียงราย (ปี 1) 
8. โครงการ BCE: NATTO (Natto Activity Training and Tourism for Open-minded) (ปี 1) 
9. โครงการ BCE: การใช้เทคโนโลยีภูมิสารสนเทศเพื่อการจัดการการท่องเที่ยวในชุมชนบ้านร่องปลายนา ตําบลบัวสลี อําเภอแม่ลาว จังหวัดเชียงราย (ปี 1) 
10. โครงการ BCE: Craft Gin: White Spirit จากสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ (GI) และสมุนไพรไทย กลุ่มวิสาหกิจชุมชนสุรากลั่นศรีดอนมูล (ปี 1) 
11. โครงการ BCE: การยกระดับคุณภาพการจัดการการท่องเที่ยวและบริการของชุมชนท่องเที่ยวแพเปียกแม่สรวยเพื่อการท่องเที่ยวอย่างรับผิดชอบ (ปี 1) 
12. โครงการ BCE: การพัฒนานวัตกรรมเพื่อเพิ่มมูลค่าสรุา กลั่นและน้ำส้มสายชูกลั่นจากสับปะรด GI จังหวัดเชียงราย (ปี 1)
 
ในกิจกรรม ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.จำรัส กลิ่นหนู รองอธิการบดี/รองผู้อำนวยการคลินิกฯ กล่าวต้อนรับคณะติดตาม ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ปิยพร ศรีสม คณบดีคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี/ผู้จัดการคลินิกฯ กล่าวถึงภาพรวมการดำเนินงานโครงการคลินิกฯ ปี 2565-2567 และมีการรายงานผลการดำเนินงานโดยคณะผู้ดำเนินงานแต่ละโครงการ ผู้รับบริการ กลุ่มเป้าหมาย และการให้ข้อเสนอแนะ และข้อคิดเห็นโดยผู้ทรงคุณวุฒิ
สำหรับกิจกรรมในวันที่ 14 มีนาคม 2568 เป็นการลงพื้นที่การดำเนินงานจริงของโครงการจำนวน 3 โครงการ
ในพื้นที่ทั่วจังหวัดเชียงราย ประกอบด้วย
1. โครงการพัฒนาผู้นำและเครือข่ายเกษตรปลอดภัยตามแนวทางการพัฒนาเศรษฐกิจสีเขียว (BCG Model) และ Eco Rice จังหวัดเชียงราย ณ อำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย
2. โครงการ ๘๙๗๔ Crispy Rice กลุ่มวิสาหกิจชุมชนเกษตรกรแปรรูปข้าวปลอดภัยแบบยั่งยืนแม่จัน ณ อำเภอแม่จัน จังหวัดเชียงราย
3. โครงการการยกระดับคุณภาพการจัดการการท่องเที่ยวและบริการของชุมชนท่องเที่ยวแพเปียกแม่สรวยเพื่อการท่องเที่ยวอย่างรับผิดชอบ ณ อำเภอแม่สรวย จังหวัดเชียงราย


รายงานโดย ดร.อรวรรณ วนะชีวิน วันที่รายงาน 04/04/2568 [18978]
21370 56
2 [18977]
วันที่ 3-4 มีนาคม 2568
เครือข่ายคลินิกเทคโนโลยี คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย โครงการแพลตฟอร์ม TCS ร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการถ่ายทอดองค์ความรู้ใน กิจกรรมศักยภาพและพัฒนาคนทุกช่วงวัยในระบบบริหารจัดการข้อมูลการพัฒนาคนแบบชี้เป้า (TPMAP) (มิติรายได้)
โดยศูนย์ส่งเสริมและพัฒนาอาชีพการเกษตรจังหวัดเชียงราย กรมส่งเสริมการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
ในกิจกรรมทีมวิทยากร ได้แก่ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ปิยพร ศรีสม อาจารย์ปิยดา ยศสุนทร และ คุณสุภาวดี แก้วพามา 
ได้ให้ความรู้แก่ผู้เข้าร่วมอบรม ชุมชนบ้านชุมภู ต.ยางฮอม อ.ขุนตาล จ.เชียงราย เกี่ยวกับส่วนผสมสำคัญ และสรรพคุณของสมุนไพรชนิดต่างๆ ที่เป็นองค์ประกอบในผลิตภัณฑ์สมุนไพรแปรรูป ยาดม และยาหม่อง
ในกิจกรรม ผู้เข้ารับการอบรมได้ฝึกกระบวนการในการเตรียมวัตถุดิบสมุนไพรด้วยวิธีการคั่วน้ำมัน และการบด การเลือกใช้ประเภทของสมุนไพรที่เหมาะแก่การทำผลิตภัณฑ์ที่มีกลิ่นหอม เช่น กระวาน กานพลู  เป็นต้น
และการเรียบรู้การปรับแต่งสูตรของผลิตภัณฑ์ เพื่อโอกาสในการต่อยอดสู่ผลิตภัณฑ์ได้ในอนาคต
นอกจากนี้ ในกิจกรรมดังกล่าว อาจารย์ ดร.อรวรรณ วนะชีวิน และผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ทิพวรรณ ประเสร์ฐสินธุ์ คณะกรรมการคลินิกเทคโนโลยีฯ
ได้ร่วมลงพื้นที่เพื่อประชาสัมพันธ์การให้บริการคำปรึกษาของคลินิกเทคโนโลยีแพลตฟอร์ม TCS และบริการอื่นๆ และเชื่อมประสานเครือข่ายการทำงานร่วมกับ ศูนย์ส่งเสริมและพัฒนาอาชีพการเกษตรจังหวัดเชียงรายในด้านอื่นๆ เพื่อก่อให้เกิดการพัฒนาแก่กลุ่มเป้าหมายร่วมกันต่อไป


รายงานโดย ดร.อรวรรณ วนะชีวิน วันที่รายงาน 04/04/2568 [18977]
13747 20
2 [18973]
วันที่​ 5​ กุมภาพันธ์​ 2568​
    คลินิกเทคโนโลยี​ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี​ ร่วมกับบริษัทนาอีฟ​ อินโนว่า​ จัดกิจกรรม​การฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ​เรื่อง​ น้ำมันหอมระเหย​ : การสกัดและการ​เพิ่มมูลค่าในเวชสำอางด้วยเทคโนโลยีนาโน​ โดย​ผู้ช่วยศาสตราจารย์​ ดร.ปิยพร ศรีสม คณบดีคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี​/ผู้จัดการคลินิกเทคโนโลยี​ ให้เกียรติในการกล่าวเปิดกิจกรรม การจัดกิจกรรม​ครั้งนี้ ดร.ธีรพงศ์​ ยะทา​ กรรมการบริหารบริษัทฯ ได้ให้ความรู้​แก่ผู้เข้าร่วมอบรมเกี่ยวกับ​ สารสำคัญในน้ำมันหอมระเหย​ และฤทธิ์ทางชีวภาพ​ ศักยภาพการพัฒนาสารสกัดสมุนไพร​ด้วยเทคโนโลยีอนุภาคระดับนาโนเพื่อการเป็นผลิตภัณฑ์​ส่งเสริมสุขภาพ​ และได้มีการสาธิตการใช้งานเครื่องกลั่นน้ำมันหอมระเหย​ ด้วยเครื่องกลั่นที่พัฒนาโดย​ ผู้ช่วยศาสตราจารย์​ ดร.​จิรพัฒนพงษ์ เสนาบุตร​ และ​ อาจารย์​อมรรัตน์ ปิ่นชัยมูล​ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล​ล้านนา เชียงราย​ ผู้เข้าร่วมการอบรมได้ฝึกการผสมน้ำมันหอมระเหย​ กระบวนการทำอนุภาคนาโน​ และการก่อเนื้อครีมด้วยเครื่อง​ homogeinizer​ ช่วงสุดท้ายเป็น การร่วมแลกเปลี่ยน​แนวคิด​ และการสร้างเครือข่ายความร่วมมือกับผู้เข้าร่วมอบรม โดยกิจกรรมได้รับความสนใจจากนักศึกษา​ อาจารย์และนักวิจัยด้านสมุนไพร​ และผู้ประกอบการสมุนไพรของจังหวัดเชียงรายและจังหวัดพะเยาเข้าร่วมกิจกรรม ณ ห้องประชุมใหญ่(24-101) คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย


รายงานโดย ดร.อรวรรณ วนะชีวิน วันที่รายงาน 04/04/2568 [18973]
14759 60
1 [18452]

กิจกรรม การประชาสัมพันธ์โครงการ และการให้บริการคำปรึกษา
โครงการให้บริการคำปรึกษา ข้อมูลวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (TCS) โดย อาจารย์ ดร.อรวรรณ วนะชีวิน ได้เข้าร่วมกิจกรรมในพื้นที่ตำบลแม่ฟ้าหลวง อำเภอแม่ฟ้าหลวง จังหวัดเชียงราย เพื่อประชาสัมพันธ์การให้บริการของคลินิกเทคโนโลยี และการให้การสนับสนุนข้อมูล รวมถึงการตรวจวิเคราะห์ที่เป็นประโยชน์แก่การพัฒนาของกลุ่มชุมชนสามัคคีเกษตรอินทรีย์ฟาร์ม ซึ่งเป็นหนึ่งในพื้นที่ดำเนินโครงการคลินิกเทคโนโลยีแพลตฟอร์ม SCIโดยหัวหน้าโครงการ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ณัฐธิดา จุมปา คณะวิทยาการการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย



รายงานโดย ดร.อรวรรณ วนะชีวิน วันที่รายงาน 05/01/2568 [18452]
664 25
1 [18449]

กิจกรรม การประชาสัมพันธ์โครงการ 
วันที่ 17 พฤศจิกายน 2567 เครือข่ายคลินิกเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย นำโดยผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ปิยพร ศรีสม คณบดีคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี/ ผู้จัดการคลินิกเทคโนโลยี ทีมคณะกรรมการฯ และคณะผู้ดำเนินโครงการเข้าร่วมกิจกรรมขับเคลื่อนการท่องเที่ยวท้องฟ้ามืด และการ "เสวนากลยุทธ์การพัฒนาการท่องเที่ยวท้องฟ้ามืดจังหวัดเชียงราย" ณ วิสาหกิจชุมชนฮ่อมลมจอย ตำบาลธารทอง อำเภอพาน จังหวัดเชียงราย

ภายในงานได้มีการเสวนา โดยองค์กรและภาคส่วนที่มีบทบาทสำคัญในการผลักดันการท่องเที่ยวท้องฟ้ามืดในอนาคต ได้แก่  คุณอทิตาธร วันไชยธนวงศ์ นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงราย คุณวิสูตร บัวชุม ผู้อำนวยการ ททท.สำนักงานเชียงราย คุณประธาน อินทรียงค์ ผู้อำนวยการสภาอุตสาหกรรมท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ปิยพร ศรีสม คณบดีคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี/ ผู้จัดการคลินิกเทคโนโลยีมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย โดยมี รองศาสตราจารย์ ดร.ฟ้ารุ่ง สุรินา บุญทิศ ผู้เชี่ยวชาญด้านดาราศาสตร์ และ อาจารย์ ดร.ชฎาพัศฐ์ สุขกาย ผู้เชี่ยวชาญด้านการท่องเที่ยวเป็นผู้ดำเนินกิจกรรม

นอกจากนี้ เครือข่ายคลินิกเทคโนโลยียังดำเนินการแสดงผลการดำเนินงานโครงการทั้ง 12 โครงการภายใต้แพลตฟอร์มต่างๆ ได้แก่ NCB SCI และ BCE ที่ดำเนินงานในช่วงปี2566-2567อาทิ  

โครงการ BCE "กล้วยดีเวียงชัย" โดยอาจารย์ชญานิน วังตาล และคณะ

โครงการ BCE "การพัฒนานวัตกรรมเพื่อเพิ่มมูลค่าสุรากลั่นและน้ำส้มสายชูหมักจากสับปะรด GI จังหวัดเชียงราย" โดยผู้ช่วยศาสตราจารย์. นิเวศ จีนะบุญเรือง

โครงการ BCE "การใช้เทคโนโลยีภูมิสารสนเทศเพื่อการจัดการการท่องเที่ยวในชุมชนบ้านร่องปลายนา ตำบลบัวสลี อำเภอแม่ลาว จังหวัดเชียงราย" โดย อาจารย์วัฒนพล อยู่สวัสดิ์

โครงการ BCE "NATTO" โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ วาสนา แก้วโพธิ์ และคณะ

โครงการ BCE "การเพิ่มศักยภาพผลิตภัณฑ์เชียงดาภูผึ้งหลวง" โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ทิพวรรณ ประเสริฐสินธุ์ และคณะ

โครงการ BCE "การพัฒนาศักยภาพการผลิตและแปรรูป 8974 Crispy Rice  อำเภอแม่จัน จังหวัดเชียงราย" โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ศิริพรรณ จีนะบุญเรือง

โครงการ SCI "ชุมชนเกษตรชุมชนสามัคคีเกษตรอินทรีย์ฟาร์ม ตำบลแม่ฟ้าหลวง อำเภอแม่ฟ้าหลวง จังหวัดเชียงราย

โครงการ NCB "การพัฒนาผู้นำและเครือข่ายเกษตรปลอดภัยตามแนวทางการพัฒนาเศรษฐกิจสีเขียว (BCG Model) และ Eco Rice จังหวัดเชียงราย โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.กษิดิศ ใจผาวัง

ซึ่งการจัดแสดงผลงานได้รับความสนใจจากผู้เยี่ยมชมงาน เกี่ยวกับขอบเขตการให้บริการที่หลากหลายของคลินิกเทคโนโลยี และก่อให้เกิดการเข้าถึงที่มากขึ้นของกลุ่มผู้ที่สนใจขอรับบริการในอนาคต



รายงานโดย ดร.อรวรรณ วนะชีวิน วันที่รายงาน 05/01/2568 [18449]
8600 50
1 [18448]

กิจกรรม การบริการจัดการเครือข่าย : การประชุมคณะกรรมการขับเคลื่อนโครงการคลินิกครั้งที่ 1.2568
คณะกรรมการขับเคลื่อนโครงการคลินิกเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย ดำเนินการประชุมเพื่อสรุปผลการดำเนินโครงการคลินิกเทคโนโลยี ประจำปีงบประมาณ 2567 และหารือร่วมกันเกี่ยวกับการบริหารจัดการในประเด็นต่างๆ เช่น การวางกำหนดเวลาและการประชาสัมพันธ์การส่งข้อเสนอโครงการปีงบประมาณ 2568 การติดตามผลการดำเนินงานของโครงการแพลตฟอร์ม SCI/NCE/BCE และการวางแผนการดำเนินโครงการในปีงบประมาณ 2568



รายงานโดย ดร.อรวรรณ วนะชีวิน วันที่รายงาน 05/01/2568 [18448]
210 6
1 [18447]

กิจกรรม การให้บริการคำปรึกษาและการบริการตรวจวิเคราะห์ค่าทางวิทยาศาสตร์
คลินิกเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย ให้บริการคำปรึกษาเกี่ยวกับค่าคุณภาพของปุ๋ยอินทรีย์อัดเม็ด และให้บริการตรวจวิเคราะห์ค่าความชื้นของปุ๋ย โดยผลการวิเคราะห์ปริมาณความชื้นในทุกตัวอย่างที่ตรวจวิเคราะห์มีค่าความชื้นไม่เกินคุณลักษณะมาตรฐานเฉพาะของปุ๋ยอินทรีย์ชนิดอัดเม็ด ที่กำหนดให้มีปริมาณและสิ่งที่ระเหยได้ไม่เกินร้อย 30% โดยน้ำหนัก (ประกาศกรมวิชาการเกษตร เรื่องกำหนดเกณฑ์ปุ๋ยอินทรีย์ พ.ศ. 2557) ซึ่งข้อมูลที่ได้จะเป็นแนวทางในการตากแห้งปุ๋ยอินทรีย์อัดเม็ดอย่างเหมาะสมแก่การผลิตในรอบการผลิตครั้งถัดไปของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนสามัคคีเกษตรอินทรีย์



รายงานโดย ดร.อรวรรณ วนะชีวิน วันที่รายงาน 05/01/2568 [18447]
600 1
1 [18446]

กิจกรรม 1 การสำรวจประเด็นปัญหา และการให้บริการคำปรึกษา
คลินิกเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงรายลงพื้นที่ เพื่อสำรวจประเด็นความต้องการและการให้บริการคำปรึกษา แก่กลุ่มคณะกรรมการสมาพันธ์เกษตรกรรมยั่งยืนเชียงรายยั่งยืนในเชียงราย เพื่อหาแนวทางในการนำผลผลิตของสมาชิกกลุ่มออกสู่ตลาด และการประชาสัมพันธ์สมาพันธ์ให้เป็นที่รู้จักในวงกว้าง โดยได้มีการร่วมกันแลกเปลี่ยนแนวคิดเกี่ยวกับรูปแบบในการดำเนินกิจกรรมเพื่อส่งเสริมการรับรู้ เช่น การมีสถานที่ศูนย์รวมสินค้า การบริการและการเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ 



รายงานโดย ดร.อรวรรณ วนะชีวิน วันที่รายงาน 05/01/2568 [18446]
1320 8